GSEDA: Independent Studies

Independent Studies and Termpapers

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 16
  • Thumbnail Image
    Item
    ผลกระทบของน้ำยาโฟมดับเพลิงที่มีต่อสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
    วุฒิศักดิ์ มูลตรีภักดี; พีรพล เจตโรจนานนท์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, )
    งานวิจัยนี้มีนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาว่าการใช้น้ำยาโฟมในการดับเพลิงของบริษัทไออาร์พีซีมีผลกระทบ กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร และมีแนวทางในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากการใช้งานน้ำ าโฟมดังกล่าวอย่างไร โดยใช้ วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์จากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ จากการศึกษา พบว่า อัคคีภัยที่เกิดขึ้นกับคลังน้ำมันและโรงงานอุตสาหกรรมไม่สมามารถใช้ระบบดับเพลิงด้วยน้ำ เพียงอย่างเดียวในการ ระงับเหตุเพลิงไหม้ได้และมีความจำเป็นต้องใช้สารละลายน้ำยาโฟมในการดับเพลิง แต่การใช้สารละลายน้ำยา โฟมดังกล่าวก็ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ซึ่งบริษัท ไออาร์พีร์ พีซี จำ กัด (มหาชน) ได้ให้ความสนใจเพื่อ ให้ชุมชนมีความมั่นใจในสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งน้ำยาโฟมดับเพลิงที่บริษัทไออาร์พีซีเก็บไว้ใช้สำหรับใน กรณีเณีกิดเหตุเพลิงไหม้ มีหลายชนิดด้วยกันที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง และมีข้อแนะนำ ให้ต้องมีอุปกรณ์ในระบบ ผสมโฟม (Foam Hardware) ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและน้ำยาโฟมดับเพลิงเข้มข้น ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืน
  • Thumbnail Image
    Item
    การปรับตัวของอุตสาหกรรมไก่เนื้อเพื่อการส่งออกของไทยต่อกฏหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป "สินค้าเกษตรที่มาจากพื้นที่ไม่บุกรุกป่า หรือ EU deforestaton free product (EUDR)"
    ภาสกร สาตร์พันธ์; พีรพล เจตโรจนานนท์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    การผลิตสินค้าปศุสัตว์ของประเทศไทยถือเป็นเป็นห่วงโซ่อุปทานที่มีความสำคัญ ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและมีผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้ห่วงโซ่การผลิตนี้เป็นจำนวนมาก ด้วยทิศทางของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม แห่งสหภาพยุโรป “สินค้าเกษตรที่มาจากพื้นที่ไม่บุกรุกป่า (EU deforestation free product (EUDR))” เปรียบเสมือนกฎกติกาทางการค้าในมุมมองใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต
  • Thumbnail Image
    Item
    แนวทางการพัฒนาธุรกิจรับซื้อของเก่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
    อรอุมา เงื้อมผา; ณพงศ์ นพเกตุ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการดำเนินธุรกิจของธุรกิจรับซื้อของเก่าในพื้นที่ตำบลท่าข้าม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจรับซื้อของเก่าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ตำบลท่าข้าม และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจรับซื้อของเก่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) การศึกษาเอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) การสัมภาษณ์ และแบบตรวจรายการ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วย PESTEL Analysis, SWOT Analysis และ TOWS Matrix เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจรับซื้อของเก่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ทีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินธุรกิจรับซื้อของเก่าในพื้นที่ตำบลท่าข้าม มีการดำเนินธุรกิจแบบกิจการครอบครัว เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ใช้ระบบเครือญาติในการบริหารจัดการธุรกิจ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการรับซื้อของเก่าเฉพาะขยะรีไซเคิลเท่านั้นจากครัวเรือน ร้านค้า และสถานประกอบการ ด้านปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางการพัฒนาธุรกิจรับซื้อของเก่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ได้แก่ 1. ปัจจัยภายในของสถานประกอบการ ประกอบด้วย(1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ ได้แก่ ความรู้ และความตระหนักในการดำเนินธุรกิจรับซื้อของเก่าในการป้องกันผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และ (2) ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ที่ตั้งสถานประกอบการ ด้านการเงิน การบริหารจัดการธุรกิจการสื่อสารกับลูกค้า และ 2. ปัจจัยภายนอกสถานประกอบการ ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านการสนับสนุน สำหรับแนวทางการพัฒนาธุกิจรับซื้อของเก่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ตำบลท่าข้าม ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลุ่มธุรกิจรับซื้อของเก่าเพื่อใช้ในการวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจรับซื้อของเก่าให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน 2) สนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการธุรกิจรับซื้อของเก่าทั้งรายใหญ่และรายย่อยเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน รวมทั้ง การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจรับซื้อของเก่าเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจไม่ให้เกิด ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม และ 3) การติดตามตรวจสอบการประกิจการรับซื้อของเก่าของหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนกรณีศึกษา ตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    บุษยมาศ สายน้ำเขียว; ณพงศ์ นพเกตุ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ ตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและครัวเรือน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ (Interview) ผู้นำท้องถิ่นชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย จำนวน 1 คน และประชาชนในพื้นที่ตัวอย่างหมู่บ้านละ 1 ครัวเรือน จำนวน 9 คน และการสำรวจพื้นที่ (Site Survey) บริเวณสถานที่หรือจุดจัดการขยะมูลฝอยของแต่ละหมู่บ้านและครัวเรือน เพื่อให้ทราบลักษณะและขอบเขตของปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่น เพื่อศึกษาหาสาเหตุของแต่ละปัญหา และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ร่วมกับการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เพื่อนำข้อมูลมาทำการเรียบเรียง วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อหาข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม
  • Thumbnail Image
    Item
    การประเมินประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียชุมชมตามแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
    เฉลิมพร มั่นคง; พีรพล เจตโรจนานนท์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาน้ำเสียชุมชนของประเทศไทยโดยกลไกภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยจะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งเอกสารกฎหมายและผลการจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียชุมชนตามแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ SWOT Analysis ผสมผสานกับ PESTEL Analysis จากการศึกษาพบว่าพบว่า ประเทศไทยมีน้ำเสียชุมชนเกิดขึ้นและมีแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมเช่น แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง อีกทั้งน้ำทะเลชายฝั่งส่วนอ่าวไทยตอนใน มีค่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีระบบระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนเพียง 202 แห่ง จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7,850 แห่ง เท่านั้น โดยความสามารถรองรับน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนยังคงประสบปัญหาจากปริมาณน้ำเสียจำนวนมากที่ไม่ได้ผ่านการบำบัดให้เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ อีกทั้ง ราชการส่วนท้องถิ่นได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อก่อสร้างหรือดำเนินการให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนตามแผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่น้อยมาก กฎหมายได้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรือเขตควบคุมมลพิษจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด แต่ไม่ได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดทำข้อเสนอโครงการ ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียชุมชน จึงเป็นเพียงทางเลือกในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียชุมชนเท่านั้น และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากปัญหาที่เกิดขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในส่วนของหน่วยตั้งงบประมาณ และกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดการน้ำเสียในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การใช้กลไกการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการน้ำเสียชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อกำกับและส่งเสริมการลดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดให้ได้มากที่สุด ส่งเสริมการร่วมทุนกับภาคเอกชนในการจัดการน้ำเสียชุมชนเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐและปัญหาความเชี่ยวชาญในการเดินระบบด้วย
  • Thumbnail Image
    Item
    แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
    พัลธมาส เชตุพันธุ์; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอ่างทองในปัจจุบัน 2) เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอ่างทองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองอ่างทอง เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองอ่างทอง ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองอ่างทอง โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ตามแนวคิดของ Balanced Scorecard วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยใช้ทฤษฎี SWOT Analysis และวิเคราะห์การปรับปรุงการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอ่างทองให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix