เนื้อสารของโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุ และความหมายของ "สุขภาพ"
Publisher
Issued Date
2013
Issued Date (B.E.)
2556
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
418 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b183825
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
รตน แดงรัตนวงศ์ (2013). เนื้อสารของโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุ และความหมายของ "สุขภาพ". Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3029.
Title
เนื้อสารของโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุ และความหมายของ "สุขภาพ"
Alternative Title(s)
The messages in the print ads of the elderly healthcare products and the definition of "Health"
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีคำถามนำวิจัย 2 ประเด็นดังนี้ 1) เนื้อสารในโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุมีการโน้มน้าวใจอย่างไร (ตามทฤษฎีการคิดขยายรายละเอียด (Elaborate Likelihood Model) และ 2) การให้ความหมายของคำว่าสุขภาพในโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุนั้นเป็นอย่างไร และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประเภทการวิจัยชั้นสำรวจ (Exploratory Research) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้1) การวิเคราะห์ตัวบท (Text Analysis) ประกอบด้วยเนื้อสารโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุในสื่อสิ่งพิมพ์จำนวน 30 ชิ้น และ 2) การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก (In-Depth Interview) ประกอบไปด้วย การสัมภาษณ์ผู้ผลิตสารจำนวน 8 คน จาก 6 บริษัท และ ผู้รับสารผู้สูงอายุจำนวน 30 คน จากนั้นข้อมูลที่ได้จะถูกวิเคราะห์โดยกรอบทฤษฎีการโน้มน้าวใจโดยคิดขยายรายละเอียด (Elaboration Likelihood Model)
การวิจัยนี้พบว่าทั้ง 3 ด้าน (ตัวผู้วิจัย ผู้ผลิตสาร และผู้รับสาร) ให้ความสำคัญต่อเรื่องการโน้มน้าวใจโดยเฉพาะเส้นทางริมและนิยามของคำว่า “สุขภาพ” ในประเด็น“ผลพลอยได้ที่ผู้สูงอายุได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ” แบบสอดคล้องกัน โดยมีการเน้นในเรื่องของ“ความสุข” และ “สุขภาพ” แต่มีการเรียงลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันดังนี้ ด้านตัวบทเน้นให้ความสำคัญ “ความสุขในชีวิตจากการมีสุขภาพที่แข็งแรง” ส่วนด้านกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม (ผู้ผลิตสาร และผู้รับสาร) เน้นให้ความสำคัญ “สุขภาพที่แข็งแรงของผู้สูงอายุนำไปสู่ความสุขในชีวิต” แสดงถึงการเรียงลำดับความสำคัญของผลพลอยได้ที่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่ประเด็นแก่นสำคัญ คือ“ความสุขที่เป็นผลพลอยได้จากการมีสุขภาพที่ดี” ข้อเสนอแนะของวิจัยชิ้นนี้คือ โฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุควรมีการนำเรื่องผลพลอยได้หรือความสุขที่ผู้สูงอายุได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นการโน้มน้าวใจในโฆษณา
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสื่อสารประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.