GSLC: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 44
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนระดับต้นที่มีพื้นฐานในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกันในชั้นเรียนเดียวกัน
    อมรรัตน์ มะโนบาล; เตวิช เสวตไอยาราม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การวิจยัคร้ังนี้มีวตัถุประสงค์1) เพื่อศึกษาความวิตกกงัวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของ ผู้เรียนระดับต้น และ 2) เปรียบเทียบความวิตกกังวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนที่มีพื้นฐานและไม่มีพื้นฐานในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นก่อนเข้ามหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถามความวิตกกังวล ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและสถิติทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนระดับต้นมีความวิตกกังวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นระดับมาก สอดคล้องกันสี่ทักษะ คือ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเพื่อนคนอื่น ๆ ที่เรียนร่วมช้ัน การเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น และความกลัวต่อการผิดพลาดอยู่ส่วนผลการเปรียบเทียบความวิตกกังวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของผูเ้รียนที่มีพื้นฐานและไม่มีพื้นฐานในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นก่อนเข้ามหาวิทยาลยัพบว่า ผูเ้รียนมีความวิตกกังวลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สอดคล้องกันทั้งสี่ทักษะ โดยผู้เรียนที่มีพื้นฐานมีความวิตกกังวลที่เกี่ยวข้องกับเพื่อนคนอื่น ๆ ที่เรียนร่วมชั้นต่ำกว่าผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐานปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลในลักษณะดังกล่าว คือ การสะท้อนผล และการประเมินผลผู้เรียน
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาการใช้แบบฝึกที่ส่งผลต่อการเรียนรู้คำศัพท์ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับต้น
    สุรัสวดี อ่อนเจริญ; เตวิช เสวตไอยาราม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบสมมติฐาน Involvement Load ที่ส่งผลต่อการ เรียนรู้และจดจำคำศัพท์ใหม่ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับต้น 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลที่เกิดจากการค้นหา (Search) และการประเมิน (Evaluation) ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และจดจำคำศัพท์ใ์หม่ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มผูเ้รียนภาษาญี่ปุ่นระดับต้น ออกเป็น 4 กลุ่ม สุ่มให้แต่ละกลุ่มทำแบบฝึก Task-induced Involvement Load ที่แตกต่างกันตามเงื่อนไขการเรียนรู้ที่กำหนด โดยก่อนเริ่มทำแบบฝึกผู้เรียนทั้งหมดทำแบบทดสอบความรู้ด้านคำศัพท์ (Pre -Test)และทำแบบทดสอบความรู้ด้านคำศัพท์หลังทำแบบฝึกเสร็จทันที (Post -Test) จากนั้นทดสอบความรู้ด้านคำศัพท์ซ้ำหลังผ่านไป 1 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าแบบฝึกที่มีปริมาณ Involvement Load มากที่สุดในการศึกษานี้ไม่ได้ส่งผลต่อการเรียนรู้และจดจำคำศัพท์ใหม่ได้ดีที่สุด โดยพบว่าแบบฝึกที่มีองค์ประกอบด้านความจำเป็น (Need) และการประเมิน (Evaluation) ในระดับปกติส่งผลต่อการเรียนรู้และจดจำคำศัพท์ใหม่ได้ดีสุด ท้ังนี้เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลที่เกิดจากการค้นหา (Search)และการประเมิน(Evaluation) ในแบบฝึกที่ปริมาณ Involvement Load เท่ากัน พบว่า ประสิทธิผลที่เกิดจากการประเมิน (Evaluation) ส่งผลต่อการเรียนรู้และจดจำคำศัพทใ์หม่ได้ดีกว่าประสิทธิผลที่เกิดจากการ ค้นหา (Search)
  • Thumbnail Image
    Item
    การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงในบริบทการศึกษา: กรณีศึกษารายการสอนภาษาอังกฤษทางสื่อในประเทศไทย
    วาลุกา เหล่าเกื้อ; สาวิตรี คทวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม วิธีการสอน และกลวิธีในการสอนต่าง ๆ ตลอดจนรูปแบบของการจัดรายการ ผ่านมุมมองของการวิเคราะห์วาทกรรมสื่อหลากรูปแบบ อันนำไปสู่ความสำเร็จในการสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษให้แก่ผู้ชมรายการและก่อให้เกิดความนิยมในการติดตามรับชมรายการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสานวิธีแบบคู่ขนาน ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เพื่อศึกษาการเกิดแรงจูงใจและความนิยมที่ผู้ชมมีต่อพิธีกรและรายการ ควบคู่ไปกับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์ตัวบทจากคลิปวิดีโอของรายการเพื่อศึกษาการนำเสนอของรายการ ผลการศึกษาในเชิงปริมาณพบว่าผู้ชมรายการนิยมรับชมรายการลูกกอล์ฟ อิงลิชรูม รายการอิงลิช อาฟเตอร์นุ่น และรายการมูฟวี่ แลงเกวจ ตามลำดับ และระดับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงที่ผู้ชมมีต่อพิธีกรรายการสอนภาษาอังกฤษทั้งสามอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่ารายการสอนภาษาอังกฤษทั้งสามรายการได้นำวิธีการสอนแบบผสมผสานมาใช้ และทุกรายการใช้รูปแบบการจัดรายการแบบรายการสนทนา พิธีกรใช้การปฏิสัมพันธ์แบบอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมในการสอนภาษาอังกฤษ  รวมถึงยังใช้กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน กลวิธีการสร้างแรงจูงใจ และสื่อหลากรูปแบบอื่น ๆ เพื่อสร้างการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงกับผู้ชมรายการ
  • Thumbnail Image
    Item
    A genre analysis of book reviews written by professional critics versus online consumer critics
    Umapa Dachoviboon; Ora-Ong Chakorn (National Institute of Development Administration, 2019)
    Online consumer reviews are a phenomenon emerged by the rise and expansion of the Internet technology. As a type of WOMs, it is regarded by potential buyers as source of information to reduce uncertainty in buying, and, therefore, is influential for a product’s sales. This type of review is different from the conventional reviews written by professional critics because consumers themselves are empowered by the ability to write and publish their own reviews of a purchased product. As a result, online consumer reviews have become an attractive topic for the academic circle. However, comparative studies on the genre analysis of reviews written by professional and consumer critics are still scarce. This research then aims to explore the written structures of book reviews written by professional critics and online consumers critic using the framework of genre analysis in order to answer 2 main questions: 1) What are the generic structures of these two types of reviews? Are they different or similar? 2) What are the linguistic implications of the discrepancies found in the written structures of these two types of reviews? In order to analyze the structures of these two types of reviews, 25 book reviews were taken randomly from the New York Times websites as the research sample for reviews written by professional critics. After that, 25 book reviews of the same books were taken from Amazon.com website as the research sample for reviews written by consumer critics. The two types of reviews make the total of 50 book reviews as the research sample. The coding protocol was constructed based on past literature (Jong and Burgers, 2013; Khunkitty, 2005; Motta-Roth, 1995; Nicolaisen, 2002; Skalicky, 2013; Valensky, 2010) and guidelines for writing book reviews. A pilot study was performed on the total of 30 book reviews (15 for consumer reviews and 15 for professional reviews) for reliability check. The coding protocol was then modified and applied for the whole set of the data. After applying the coding protocol, it was found that professional reviews are more structured and uniform as opposed to the lack of consistency in the structuring of online consumer reviews. It was also found that professional reviews tend to sound less personal and less persuasive. These differences could be a pointer to the writer’s expertise. However, the expertise of the writer might not be a constant key factor in identifying reviews perceived as helpful by potential buyers as users on Amazon.com, it was found, tended to value more the articulation of personal experience, which was abundant in reviews written by consumer critics as opposed to those written by professional critics.
  • Thumbnail Image
    Item
    "ประมวลนิทาน ร.6" กับการวิเคราะห์วาทะเชิงอุปลักษณ์
    กฤตเมธ ศักดิ์แสง; รุจิระ โรจนประภายนต์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุดค่านิยมไทยที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “ประมวลนิทาน ร.6” อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 จากการวิเคราะห์เชิงอุปลักษณ์ (Metaphor Analysis) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นิทานจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว (รัชกาลที่6) ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ“ประมวลนิทาน ร.6” แบ่งออกเป็น 27 เรื่อง จำนวน 48 ตอน โดยมีคำถามนำวิจัย 2 ประเด็น ได้แก่1) ชุดค่านิยมไทยที่ปรากฎในหนังสือ “ประมวล นิทาน ร.6” อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 โดยผ่านการวิเคราะห์วาทะเชิงอุปลักษณ์มีอะไรบ้าง และ 2) ชุดค่านิยมไทยที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “ประมวลนิทาน ร.6” อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 โดยผ่านการวิเคราะห์วาทะเชิงอุปลักษณ์ตามที่ระบุในคำถามข้อที่1 มี คุณลักษณะอย่างไร ผลการวิจัยมี 2 ประเด็นหลัก คือ ประการแรกพบค่านิยมจำนวน 3 ชุด ได้แก่1) ค่านิยม เกี่ยวกับวิถีชีวิตและธรรมชาติ 2)ค่านิยมความเป็นไทยแบบราชาชาตินิยม และ3)ค่านิยมการนับถือ พุทธศาสนา ประการที่สองพบอุปลัก ษณ์จำนวนทั้งหมด 242 อุปลักษณ์โดยแบ่งเป็นอุปลักษณ์ที่ สะท้อนค่านิยมเกี่ยวกับวิถีชีวิตและธรรมชาติ 114 อุปลักษณ์ คิดเป็ นร้อยละ 43.62 อุปลักษณ์ที่สะท้อนค่านิยมความเป็นไทยแบบราชาชาตินิยม 93อุปลักษณ์ คิดเป็นร้อยละ 35.10 และอุปลักษณ์ ที่สะท้อนค่านิยมการนับถือพุทธศาสนา 35 อุปลักษณ์คิดเป็นร้อยละ 21.28 ข้อเสนอแนะของ งานวิจยัชิ้นนี้คือ 1) งานวิจัยในอนาคตอาจศึกษาเพิ่มเติมในเชิงวัฒนธรรมศึกษา หรือการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 2) ควรต่อยอดการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์เชิงอุปลักษณ์กับงานวรรณคดีหรือวรรณกรรมประเภทอื่น
  • Thumbnail Image
    Item
    Gender differences in face concerns and behavioral responses to romantic jealousy : A study in Thailand
    Chayapa Srivilas; Jaray Singhakowinta (National Institute of Development Administration, 2015)
    The objectives of this quantitative study are: 1) to explore gender differences in face-saving concerns and behaviors in response to romantic jealousy as well as their associations and 2) to test the constructed model used in Thai settings.