การศึกษากลไกและมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
Publisher
Issued Date
2014
Issued Date (B.E.)
2557
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
225 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b190494
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศศิวิมล สู่วรฤทธิ (2014). การศึกษากลไกและมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4443.
Title
การศึกษากลไกและมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
Alternative Title(s)
Research the mechanism, measurement protection and support for children right under the framework of ASEAN
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลไกและมาตรการของการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิเด็กในประเทศไทย ภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2)ศึกษาผลกระทบที่เป็นไปได้ของประชาคมอาเซียน ที่มีต่อการคุ้มครองสิทธิเด็ก 3) เสนอแนะนโยบายด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และบุคคลผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ รวมจำนวน 14คน โดยทำการศึกษาจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และองค์กรภายเอกชน ได้แก่ United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก และมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นหลัก ได้แก่ แนวทางการสนทนาหรือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ผลการศึกษาพบว่า 1) ในส่วนของมาตรการ แต่ละกระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบเสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ด้านสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ได้มีการจัดทำมาตรการการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กไว้เป็นอย่างดีแล้ว ยกเว้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) ในส่วนของกลไกทางด้านกฎหมาย หน่วยงานภาครัฐได้มีการจัดทำแผนงาน ยุทธศาสตร์ มาตรการ กิจกรรมในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ไว้อย่างเพียงพอแล้ว และในส่วนของกลไกทางด้านสถาบัน ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กเกิดความรู้ความเข้าใจในแผนงานที่ตนรับผิดชอบ และจะต้องขยายขอบเขตให้ภาคเอกชนและประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจด้วย
นอกจากนั้น จะต้องมีการผสานงานกันระหว่างหน่วยงาน ได้แก่ การผสานงานกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกันเอง เพราะแต่ละหน่วยงานต่างก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในประเด็นที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น หากมีการผสานงานกันระหว่างหน่วยงาน การดำเนินการจัดการป้องกันและการแก้ไขปัญหาก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการผสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพราะองค์กรภาคเอกชนเหล่านั้นมีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมและผลักดันในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กภายในประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั้งผู้ใหญ่ และตัวเด็กเองด้วย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเป็ นประชาคมอาเซียน 1) การศึกษา การที่เด็กไทยเสียเปรียบทางด้านภาษา เนื่องมาจากการไม่เห็นความสำคัญในการใช้ภาษาอังกฤษ และการขาดทักษะการนำไปใช้ เมื่อมีการเปิดเป็นประชาคมจะมีแรงงานประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมากอีกทั้งพวกเขายังสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาประจำชาติของประเทศเขาได้อีก ซึ่งจะส่งผลต่อการไม่มีงานทำของเด็กไทย 2) เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ พม่า กัมพูชา ลาว ซึ่งเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าประเทศไทย จะเข้ามาแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าภายในประเทศไทย และคนภายในประเทศไทยเองก็ออกไปหาโอกาสที่ดีกว่าในประเทศอื่นเช่นเดียวกัน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้ามชาติขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนเด็กเคลื่อนย้ายที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีคนเข้าออกมากขึ้นก็ส่งผลต่อการเกิดอาชญากรรมข้ามชาติที่จะมีการทวีความรุนแรงมากขึ้นตามมา การเข้ามา การอาศัยอยู่อย่างผิดกฎหมาย และการขาดหลักฐานประกันความมีตัวตนของเด็กจะส่งผลให้เด็กถูกข่มขู่ ล่อลวง เข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์ได้ 3) การสื่อสารอย่างไร้พรมแดนส่งผลกระทบต่อเด็กที่ยังขาดประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตตกเป็นเหยื่อของผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากเด็กได้ และ 4) เด็กจะได้รับการถูกละเมิดจากสถานการ์การชุมทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านแนวคิดที่เด็กถูกครอบนำจากฝ่ายที่ตนเองสนับสนุน และนำไปเป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิต และความไม่ปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจ จากการที่เด็กเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองแล้วได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี จากเพื่อน ผู้ใหญ่ หรือจากผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เช่น การที่นำเด็กมาเป็ นเกราะกันกระสุน หรือ การที่เด็กถูกครูว่ากล่าวเพราะไปขึ้นเวทีการชุมนุมมา เป็นต้น
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา 1) ควรส่งเสริมบทบาทภาคีเครือข่ายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดมาตรการแก้ไขปัญหา 2) ปรับปรุงการปฏิบัติต่อเด็กที่กระทำผิดอย่างเหมาะสม 3) ส่งเสริมให้ภาครัฐ มีการผสานงานทางด้านกฎหมายกับประเทศในกลุ่มอาเซียน 4) ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณที่เหมาะสมในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 5) ด้านการศึกษา ควรให้ภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคมทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ เข้ามาจัดหลักสูตรการศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ 6) ส่งเสริมสถาบันครอบครัว โดยการส่งเสริมให้ผู้ปกครองพัฒนาความรู้ ปรับทัศนคติในการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม 7) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า 1) ในส่วนของมาตรการ แต่ละกระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบเสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ด้านสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ได้มีการจัดทำมาตรการการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กไว้เป็นอย่างดีแล้ว ยกเว้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) ในส่วนของกลไกทางด้านกฎหมาย หน่วยงานภาครัฐได้มีการจัดทำแผนงาน ยุทธศาสตร์ มาตรการ กิจกรรมในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ไว้อย่างเพียงพอแล้ว และในส่วนของกลไกทางด้านสถาบัน ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กเกิดความรู้ความเข้าใจในแผนงานที่ตนรับผิดชอบ และจะต้องขยายขอบเขตให้ภาคเอกชนและประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจด้วย
นอกจากนั้น จะต้องมีการผสานงานกันระหว่างหน่วยงาน ได้แก่ การผสานงานกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกันเอง เพราะแต่ละหน่วยงานต่างก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในประเด็นที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น หากมีการผสานงานกันระหว่างหน่วยงาน การดำเนินการจัดการป้องกันและการแก้ไขปัญหาก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการผสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพราะองค์กรภาคเอกชนเหล่านั้นมีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมและผลักดันในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กภายในประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั้งผู้ใหญ่ และตัวเด็กเองด้วย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเป็ นประชาคมอาเซียน 1) การศึกษา การที่เด็กไทยเสียเปรียบทางด้านภาษา เนื่องมาจากการไม่เห็นความสำคัญในการใช้ภาษาอังกฤษ และการขาดทักษะการนำไปใช้ เมื่อมีการเปิดเป็นประชาคมจะมีแรงงานประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมากอีกทั้งพวกเขายังสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาประจำชาติของประเทศเขาได้อีก ซึ่งจะส่งผลต่อการไม่มีงานทำของเด็กไทย 2) เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ พม่า กัมพูชา ลาว ซึ่งเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าประเทศไทย จะเข้ามาแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าภายในประเทศไทย และคนภายในประเทศไทยเองก็ออกไปหาโอกาสที่ดีกว่าในประเทศอื่นเช่นเดียวกัน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้ามชาติขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนเด็กเคลื่อนย้ายที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีคนเข้าออกมากขึ้นก็ส่งผลต่อการเกิดอาชญากรรมข้ามชาติที่จะมีการทวีความรุนแรงมากขึ้นตามมา การเข้ามา การอาศัยอยู่อย่างผิดกฎหมาย และการขาดหลักฐานประกันความมีตัวตนของเด็กจะส่งผลให้เด็กถูกข่มขู่ ล่อลวง เข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์ได้ 3) การสื่อสารอย่างไร้พรมแดนส่งผลกระทบต่อเด็กที่ยังขาดประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตตกเป็นเหยื่อของผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากเด็กได้ และ 4) เด็กจะได้รับการถูกละเมิดจากสถานการ์การชุมทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านแนวคิดที่เด็กถูกครอบนำจากฝ่ายที่ตนเองสนับสนุน และนำไปเป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิต และความไม่ปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจ จากการที่เด็กเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองแล้วได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี จากเพื่อน ผู้ใหญ่ หรือจากผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เช่น การที่นำเด็กมาเป็ นเกราะกันกระสุน หรือ การที่เด็กถูกครูว่ากล่าวเพราะไปขึ้นเวทีการชุมนุมมา เป็นต้น
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา 1) ควรส่งเสริมบทบาทภาคีเครือข่ายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดมาตรการแก้ไขปัญหา 2) ปรับปรุงการปฏิบัติต่อเด็กที่กระทำผิดอย่างเหมาะสม 3) ส่งเสริมให้ภาครัฐ มีการผสานงานทางด้านกฎหมายกับประเทศในกลุ่มอาเซียน 4) ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณที่เหมาะสมในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 5) ด้านการศึกษา ควรให้ภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคมทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ เข้ามาจัดหลักสูตรการศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ 6) ส่งเสริมสถาบันครอบครัว โดยการส่งเสริมให้ผู้ปกครองพัฒนาความรู้ ปรับทัศนคติในการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม 7) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557