ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
230 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190468
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อลงกรณ์ อินทรฑูต (2015). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4447.
Title
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง
Alternative Title(s)
Factors affecting the inplementation of environment management system (ISO 14001) of Petrochemical industry : a case study of IRPC Public Company Limited
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 3) เป็นแนวทางในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แก่องค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการศึกษานี้ได้ประยุกต์แนวคิด CIPP-I Model ซึ่งมีการพิจารณาปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และด้านผลกระทบที่ได้จากการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสังเกตการณ์
แบบไม่มีส่วนร่วม และการวิจัยเอกสาร
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 1) ด้านบริบท ได้แก่ การสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การติดตามตรวจสอบของหน่วยงานราชการ การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ความต้องการของคู่ค้า การแข่งขันทางการตลาด ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และข้อร้องเรียนจากชุมชน ส่วนปัจจัยทางสภาวะทางเศรษฐกิจไม่มีผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ พนักงานมีจำนวนที่เพียงพอและมีความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรมพนักงานอย่างทั่วถึง งบประมาณที่เพียงพอ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม การสนับสนุนของผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัฒนธรรมขององค์กร และการบูรณาการระบบมาตรฐานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 3) ด้านกระบวนการ มีนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวางแผนโครงการที่เหมาะสม ชัดเจนและสอดคล้องกัน มีหน่วยงานคอยควบคุมการดำเนินงานที่ชัดเจน นาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ มีการสื่อสารกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วม มีการอบรมผู้รับเหมา การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ซ้อมแผนฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ ตรวจติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ และมีการทบทวนปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และจากการดำเนินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทำ ให้บริษัทได้รับผลประโยชน์ ดังนี้ 4) ด้านผลผลิต พบว่าบริษัทดำเนินงานบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และมีสภาพแวดล้อมภายในบริษัทดีขึ้นเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น 5) ด้านผลกระทบ พบว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลง ชุมชนมีความพึงพอใจและมีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทขึ้น มีการปฏิบัติงานที่เป็นระบบและมีการนา เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ พนักงานเกิดการพัฒนาความรู้ความสามารถ และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
สำหรับแนวทางทางและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแก่องค์กรอื่น ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ 1) ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและให้การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน 2) มีการบริหารจัดการที่ดี การกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานให้ชัดเจน สอดคล้องกัน เหมาะสมกับบริบทขององค์กร มีการกาหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน รวมถึงมีการติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ 3) ควรให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานของระบบ และสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) เปิดโอกาสให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลและมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 1) ด้านบริบท ได้แก่ การสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การติดตามตรวจสอบของหน่วยงานราชการ การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ความต้องการของคู่ค้า การแข่งขันทางการตลาด ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และข้อร้องเรียนจากชุมชน ส่วนปัจจัยทางสภาวะทางเศรษฐกิจไม่มีผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ พนักงานมีจำนวนที่เพียงพอและมีความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรมพนักงานอย่างทั่วถึง งบประมาณที่เพียงพอ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม การสนับสนุนของผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัฒนธรรมขององค์กร และการบูรณาการระบบมาตรฐานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 3) ด้านกระบวนการ มีนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวางแผนโครงการที่เหมาะสม ชัดเจนและสอดคล้องกัน มีหน่วยงานคอยควบคุมการดำเนินงานที่ชัดเจน นาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ มีการสื่อสารกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วม มีการอบรมผู้รับเหมา การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ซ้อมแผนฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ ตรวจติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ และมีการทบทวนปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และจากการดำเนินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทำ ให้บริษัทได้รับผลประโยชน์ ดังนี้ 4) ด้านผลผลิต พบว่าบริษัทดำเนินงานบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และมีสภาพแวดล้อมภายในบริษัทดีขึ้นเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น 5) ด้านผลกระทบ พบว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลง ชุมชนมีความพึงพอใจและมีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทขึ้น มีการปฏิบัติงานที่เป็นระบบและมีการนา เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ พนักงานเกิดการพัฒนาความรู้ความสามารถ และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
สำหรับแนวทางทางและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแก่องค์กรอื่น ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ 1) ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและให้การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน 2) มีการบริหารจัดการที่ดี การกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานให้ชัดเจน สอดคล้องกัน เหมาะสมกับบริบทขององค์กร มีการกาหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน รวมถึงมีการติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ 3) ควรให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานของระบบ และสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) เปิดโอกาสให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลและมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558