ความสำเร็จในการนำนวัตกรรมมาใช้ในองค์การภาครัฐ : กรณีศึกษาการให้บริการรับชำระภาษี กรมการขนส่งทางบก
Publisher
Issued Date
2013
Issued Date (B.E.)
2556
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
213 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b191031
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
มนัสชนก ทิพย์รักษา (2013). ความสำเร็จในการนำนวัตกรรมมาใช้ในองค์การภาครัฐ : กรณีศึกษาการให้บริการรับชำระภาษี กรมการขนส่งทางบก. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4643.
Title
ความสำเร็จในการนำนวัตกรรมมาใช้ในองค์การภาครัฐ : กรณีศึกษาการให้บริการรับชำระภาษี กรมการขนส่งทางบก
Alternative Title(s)
The success of utilizing innovation in public organizations : case study of providing drive thru for tax service of department of land transport
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการนวัตกรรม
ในองค์การภาครัฐ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความสำเร็จในการนำนวัตกรรมมาใช้ในองค์การภาครัฐ 3)
เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการนำนวัตกรรมเลื่อนล้อต่อภาษีมาใช้ในองค์การภาครัฐ โดย
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม วัฒนธรรมองค์การ และการจัดการความรู้มาใช้
ระเบียบวิธีในการศึกษา คือ การศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเลื่อนล้อต่อภาษี และประชาชนผู้ใช้บริการ จำนวน 24 คน การศึกษาเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 399 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการเลื่อนล้อต่อภาษีของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 สำนักงานขนส่งจังหวัด นครราชสีมา และสำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจในการนำ นวัตกรรมมาใช้โดยกำหนดให้ความพึงพอใจเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จ
ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า องค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จในการนำนวัตกรรมมา ใช้ในองค์การภาครัฐ ได้แก่ โครงสร้างองค์การ การสนับสนุนของผู้นำ การจัดการความรู้ และ วัฒนธรรมองค์การ ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ระดับความพึงพอใจในการนำนวัตกรรมมาใช้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจการให้บริการด้านพฤติกรรมและวิธีการ ให้บริการ รองลงมาคือด้านกระบวนการให้บริการและด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ นอกจากนี้ผล การวิเคราะห์เชิงปริมาณยังพบว่าหน่วยงานที่ให้บริการต่างกันผู้ใช้บริการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการ ให้บริการต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ ผู้ใช้บริการที่สำนักงานขนส่ง จังหวัดนครราชสีมา มีความพึงพอใจการให้บริการมากที่สุด รองลงมาคือสำนักงานขนส่ง กรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 และสำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะสำหรับองค์การในการนำไปปฏิบัติ คือ องค์ประกอบความสำเร็จในการนำ นวัตกรรมมาใช้ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสาหรับองค์การที่ต้องการมุ่งไปสู่ ความสำเร็จ แต่การที่องค์การจะนำไปปรับใช้นั้นยังขึ้นอยู่กับบริบทที่แตกต่างกันไปของแต่ละ องค์การ ซึ่งในส่วนขององค์การที่กำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้นสร้างองค์การนวัตกรรมให้มุ่งเน้นที่ โครงสร้างองค์การ การจัดการความรู้ การสร้างวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรม และผู้นำที่ เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์การควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและมุ่งมั่นในการสร้างองค์การ นวัตกรรมอย่างจริงจัง
ระเบียบวิธีในการศึกษา คือ การศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเลื่อนล้อต่อภาษี และประชาชนผู้ใช้บริการ จำนวน 24 คน การศึกษาเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 399 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการเลื่อนล้อต่อภาษีของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 สำนักงานขนส่งจังหวัด นครราชสีมา และสำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจในการนำ นวัตกรรมมาใช้โดยกำหนดให้ความพึงพอใจเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จ
ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า องค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จในการนำนวัตกรรมมา ใช้ในองค์การภาครัฐ ได้แก่ โครงสร้างองค์การ การสนับสนุนของผู้นำ การจัดการความรู้ และ วัฒนธรรมองค์การ ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ระดับความพึงพอใจในการนำนวัตกรรมมาใช้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจการให้บริการด้านพฤติกรรมและวิธีการ ให้บริการ รองลงมาคือด้านกระบวนการให้บริการและด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ นอกจากนี้ผล การวิเคราะห์เชิงปริมาณยังพบว่าหน่วยงานที่ให้บริการต่างกันผู้ใช้บริการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการ ให้บริการต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ ผู้ใช้บริการที่สำนักงานขนส่ง จังหวัดนครราชสีมา มีความพึงพอใจการให้บริการมากที่สุด รองลงมาคือสำนักงานขนส่ง กรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 และสำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะสำหรับองค์การในการนำไปปฏิบัติ คือ องค์ประกอบความสำเร็จในการนำ นวัตกรรมมาใช้ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสาหรับองค์การที่ต้องการมุ่งไปสู่ ความสำเร็จ แต่การที่องค์การจะนำไปปรับใช้นั้นยังขึ้นอยู่กับบริบทที่แตกต่างกันไปของแต่ละ องค์การ ซึ่งในส่วนขององค์การที่กำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้นสร้างองค์การนวัตกรรมให้มุ่งเน้นที่ โครงสร้างองค์การ การจัดการความรู้ การสร้างวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรม และผู้นำที่ เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์การควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและมุ่งมั่นในการสร้างองค์การ นวัตกรรมอย่างจริงจัง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รอ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556