ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศในประเทศจีน กรณีศึกษา : โอโซน (O3)
Publisher
Issued Date
2016
Issued Date (B.E.)
2559
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
137 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b194269
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สายันต์ บุญพิทักษ์ (2016). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศในประเทศจีน กรณีศึกษา : โอโซน (O3). Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5350.
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศในประเทศจีน กรณีศึกษา : โอโซน (O3)
Alternative Title(s)
Regional air pollution in China: case studies of ozone (O3)
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ประเทศจีนมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดปัญหาการเพิ่มขึ้นของโอโซน (O3 ) จึงได้ทำการศึกษาความเข้มข้นของโอโซนจาก 3 สถานีในประเทศจีน ได้แก่ ภูเขาไท้ (Mountain Tai) ภูเขาหัว (Mountain Hua) และภูเขาหวง (Mountain Huang) ในระหว่างปี ค.ศ.2004-ค.ศ.2007 เพื่อศึกษาปัจจยัที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ โอโซนโดยใช้แบบจำลอง HYSPLIT เพื่อศึกษาลักษณะการเคลื่อนตัวของมวลอากาศในรูปแบบ ของการประมวลผลย้อนกลับย้อนหลัง10วันก่อนเข้าสู่พื้นที่ศึกษาในระหว่าง ปีค.ศ.2004-ค.ศ.2007 ร่วมกับค่าความเข้มข้นของโอโซนจาก3 สถานี ได้แก่ ภูเขาไท้ (Mountain Tai) ภูเขาหัว (Mountain Hua) และภูเขาหวง (Mountain Huang) โดยแบ่งเป็น 9 กลุ่ม พบว่า มีการเคลื่อนตัวของมวลอากาศ ผ่าน 2 พื้นที่หลักคือกลุ่มลมที่พัดผ่านภาคพื้นทวีป ได้แก่กลุ่มที่7(W-NW)และ 8 (NW-N)และกลุ่ม ที่พัดผ่านมหาสมุทร ได้แก่กลุ่มที่3 (E-SE), 4 (S-SW), 5(S-SW)และ 6 (SW-W)โดยกลุ่มที่พัดผ่าน พื้นทวีปมีค่าความเข้มข้นของโอโซนสูงกว่ากลุ่มที่พัดผ่านมหาสมุทรส่วนกลุ่มลมที่พัดเข้าสู่พื้นที่ ศึกษามากที่สุดคือกลุ่มลมที่7(W-NW)โดยค่าความเข้มข้น ของโอโซนที่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่ม ดังกล่าวเท่ากับ 51.2 ppb ในขณะที่กลุ่มลมที่3(E-SE) มีค่าต่ำสุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.3 ppb รวมทั้งได้ศึกษาปัจจัยด้านการเกิด Active Fire ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ โอโซนในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามวลอากาศที่เคลื่อนผ่านพื้นที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีกิจกรรมของมนุษยอ์ย่างหนาแน่น เช่น พื้นที่ที่เกิด Active Fire จำนวนมากมี ผลต่อความเข้มข้นของโอโซนในประเทศจีน ซึ่งการศึกษานี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการเฝ้าระวังด้านอุตุนิยมวิทยา และความเข้มข้นของโอโซนในพื้นที่ที่จะได้รับอิทธิพลจากการเคลื่อนตัวของมวลอากาศล่วงหน้าให้กับประชาชนเพื่อเตรียมรับมือกับระดับของก๊าซโอโซนที่จะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะระบบการแจ้งเตือนประชาชนและกลุ่มเปราะบาง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559