บทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในประชาคมอาเซียน
Files
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
268 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b191701
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พิรอร เหล่าดำรงกูล (2015). บทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในประชาคมอาเซียน. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5739.
Title
บทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในประชาคมอาเซียน
Alternative Title(s)
The impact of human resources managers' roles on the readiness of public sector and private-sector personnel toward the ASEAN community
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เมื่อประชาคมอาเซียนคือยุคสมยแห่งการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้บทบาทของนักบริหาร ทรัพยากรมนุษยแบบเดิมไม่สามารถเติมเต็มต่อความคาดหวังขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกต่อไป นักบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงต้องปรับบทบาทให้สอดคล้องกับบริบทของความเป็น ประชาคมอาเซียน ซึ่งกรอบในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ แนวคิด HR-Champions โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษยในฐานะ 1) หุ้นส่วนทางกลยุทธ์ 2) ผู้เชี่ยวชาญการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ 3) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงและ 4) ที่พึ่งของพนักงานที่มีผลต่อการเตรียม ความพร้อมของบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในประชาคมอาเซียน การวิจัยครั้งนี้ใช้ วิธีการศึกษาวิจยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นองค์การภาครัฐระดับกรมและองค์การภาคเอกชนในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ MAI จำนวน 210 ตัวอย่าง และ การวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศ ไทย (Thailand Top 100 HR) ในองค์การภาคเอกชน 3 คน และผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษยในองค์การภาครัฐ 3 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ผลการศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าการศึกษาสูงสุดและประเภทองค์การที่แตกต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในประชาคมอาเซียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้บทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้ง 4 บทบาท ได้แก่ บทบาทหุ้นส่วนทางกลยทธ์ (Strategic Partner) บทบาทผู้เชี่ยวชาญการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ (Administrative Expert) บทบาทหน้าที่การเปลี่ยนแปลง (Change Agent) และ บทบาทที่พึ่งของพนักงาน (Employee Champion) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเตรียมความพร้อม ของบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในประชาคมอาเซียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 และที่สำคัญผลการศึกษายังพบว่า บทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในประชาคมอาเซียนได้ดีที่สุดและมี ผลทางบวกเรียงตามลำดับความสำคัญ คือ บทบาทผู้เชี่ยวชาญการบริหารทรัพยากรมนุษย์และ บทบาทที่พึ่งของพนักงาน ซึ่งมีค่า Beta เท่ากับ 0.357 และ 0.254 ตามลำดับ ตัวแปรอิสระทั้งหมด อธิบายการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในประชาคมอาเซียน ประมาณร้อยละ 33.1 (R2 ) ส่วนการวิจยเชิงคุณภาพ พบว่า นักบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีบทบาท ท้ัง 4 บทบาทในการเตรียมความพร้อมบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนใน ประชาคมอาเซียน โดย บทบาทหุ้นส่วนทางกลยุทธ์จะต้องเข้าใจเป้าหมาย ภารกิจ หน้าที่งาน และ เข้าใจปัญหาขององค์การได้เป็นอย่างดีทำงานเชิงรุกไวต่อการเปลี่ยนแปลง มีวิสัยทัศน์มีภาวะผู้นำมีความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรได้อย่ างต่อเนื่องและเป็นระบบมีอิทธิพลโน้มน้าว เป็นที่ปรึกษาและผู้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผุ้บริหารระดับสูงและเป็นที่ยอมรับของคนในองค์การ บทบาทผู้เชี่ยวชาญการบริหารทรัพยากร มนุษย์จะต้องมีความสามารถในงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าใจบริบทและวัฒนธรรมองค์การและสังคม สามารถสร้างและปรับค่านิยมให้คนในองค์การเข้าใจความหลากหลายต่างๆ เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้ แก่หน่วยงานต่างๆ รู้และสามารถชี้ให้ผู้ บริหารเห็น ถึงจุดแข็งจุดอ่อน มีความสามารถในการบริหารผู้มีวุฒิสามารถ มีความสามารถในการสื่อสาร มีความเชี่ยวชาญในอาชีพนักทรัพยากรมนุษย์ทุกเรื่องและทุกกระบวนการ บทบาทผู้นำการ เปลี่ยนแปลง จะต้องรู้จุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงกล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแก้ปัญหา เป็นผู้ ริเริ่มและกระตุ้นให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง มีความสามารถในการสร้างเครือข่ายในการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งต้องติดตามผลของการเปลี่ยนแปลง ทำให้ การเปลี่ยนแปลงเป็นวงจรและเชื่อมโยงประโยชน์ เข้ากับการเปลี่ยนแปลงให้ได้และบทบาทที่พึ่งของพนักงาน จะต้องเป็นผู้ใหู้ การสนับสนุนและให้ ความร่วมมือแก่บุคลากรในองค์การ เป็นผู้รักษากฎ กติกา มารยาทในองค์การ เข้าใจและเข้าถึง ปัญหาของบุคลากรในองค์การ เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของบุคลากร เป็นกระบอกเสียงให้กับบุคลากร มีความสามารถในการสอนงานให้แก่คนทุกระดับ แก้ปัญหาให้กับบุคลากรได้ดูแลสวัสดิการและ การพนักงานสัมพั นธ์อำนวยความสะดวกในการทำงานให้บุคลากรเป็นผู้ฟังที่ดีมีความสามารถใน การดึงดูด สรรหาและรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์การ รวมทั้งการสร้างความผูกพันทางใจ ซึ่งจากผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า มีเพียงบทบาทผู้เชี่วชาญการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และบทบาทที่พึ่งของพนักงานที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมบุคลากรในองค์การภาครัฐและ ภาคเอกชนในประชาคมอาเซียน กระนั้นแล้วการศึกษาเชิงคุณภาพได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็น ต้องมีอยู่ของทั้ง 4 บทบาทเพื่อการเตรียมความพร้อมบุคลากรในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนใน ประชาคมอาเซียน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558