มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ศึกษาเฉพาะกรณีการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน
Publisher
Issued Date
2016
Issued Date (B.E.)
2559
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
284 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b198232
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อารีย์ สุวรรณศรี (2016). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ศึกษาเฉพาะกรณีการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6141.
Title
มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ศึกษาเฉพาะกรณีการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน
Alternative Title(s)
The legal measures to control the examination of an autopsy : study in the case of death during the control of an official
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาหลักการทางกฎหมายของกระบวนการชันสูตร พลิกศพและการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ว่าควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียด ของเหตุการณ์ตายที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ขั้นตอนของ การชันสูตรพลิกศพ ตลอดจนคุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ อย่างไรจึงจะสามารถทำให้การชันสูตรพลิกศพและการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพเป็นไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และ 2. เพื่อหาแนวทางและมาตรการในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ทั้งในเชิงกฎหมายและในทางปฏิบัติที่เหมาะสม วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการ ชันสูตรพลิกศพและแนวความคิดพื้นฐานที่เกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพที่จะต้องมี การควบคุมตรวจสอบดังกล่าว ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบหลักการทางกฎหมายในการ ควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพของของประเทศไทยกับต่างประเทศ ที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีความสำคัญ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการชันสูตรพลิกศพของประเทศไทยกับต่างประเทศนั้นมีกระบวนการชันสูตรพลิกศพ และหลักการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพอย่างไร ซึ่งจากการศึกษาพบว่าหลักการทางกฎหมาย ในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพของของประเทศไทยนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการ ชันสูตรพลิกศพ ในเรื่องของขั้นตอนของการชันสูตรพลิกศพในกรณีการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน มีการใช้ถ้อยคำที่ยังไม่มีความสอดคล้องทำให้ยากต่อการตีความและเข้าใจกฎหมาย ตลอดจนยังไม่มีการจัดระบบการขนส่งศพ การจัดการกับศพ และการกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการ ออกคำสั่งหรือการลงมติความเห็นที่ไม่ตรงกัน ปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการ ชันสูตรพลิกศพ ที่ยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติที่สำคัญของเจ้าหน้าที่บางประการ ทั้งในด้านคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแพทย์ผู้ทำการผ่าศพ ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างแพทย์นิติเวชศาสตร์และบุคลากรอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการ ชันสูตรพลิกศพ อีกทั้งปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ใน การชันสูตรพลิกศพที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการชันสูตรพลิกศพกรณีการตายในระหว่างอยู่ใน ความควบคุมของเจ้าพนักงานที่ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ 4 ฝ่าย อันได้แก่ พนักงานสอบสวน แพทย์ พนักงานอัยการ และพนักงานฝ่ายปกครอง ซึ่งพนักงานสอบสวนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีหน้าที่หลักในการ ชันสูตรพลิกศพ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นเป็นเพียงผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนเท่านั้น ไม่ได้เป็นการควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด ตลอดจนพนักงานฝ่ายปกครองก็ไม่มี อำนาจเท่าที่ควร ทำให้ในบางกรณีอาจเกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการไป โดยถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายหรือไม่ ทั้งนี้กระบวนการไต่สวนการตายโดยศาลก็เป็นเพียงวิธีการ ทบทวนรายงานการชันสูตรพลิกศพเท่านั้น ไม่ได้ควบคุมไปถึงการควบคุมตรวจสอบการกระทำของเจ้า พนักงานในการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางในการพัฒนาและแก้ไข เพื่อให้การชันสูตรพลิกศพนั้นมีประสิทธิภาพและสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่บุคคลที่เกียวข้องได้ อย่างเหมาะสม กล่าวคือ 1. ในเรื่องของกระบวนการชันสูตรพลิกศพ กรณีการตายในระหว่างอยู่ในความ ควบคุมของเจ้าพนักงานไม่ควรให้องค์กรการกุศลเข้ามาปฏิบัติงาน ซึ่งควรบัญญัติไว้ในกฎหมายให้ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม หรือหน่วยงานพิสูจน์หลักฐานหรือเจ้าหน้าที่ทางวิทยาการที่ ไม่ได้สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่โดยมีหน้าที่เข้าตรวจพิสูจน์หลักฐานในสถานที่ ที่มีการตายเกิดขึ้นโดยตรง และในเรื่องของขั้นตอนการชันสูตรพลิกศพ ควรบัญญัติกฎหมายให้มีความ ชัดเจนเกี่ยวกับระบบการขนส่งศพตรวจ การออกคำสั่งในการผ่าศพ และการจัดการกับศพ 2. ในเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ควรกำหนดให้ชัดเจนทั้งในเรื่อง คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม เขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ตลอดจนคุณสมบัติหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ของแพทย์ผู้ทำการผ่าศพให้มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านนิติเวชศาสตร์และนิติวิทยาศาสตร์เป็นการเฉพาะ เพื่อลดภาระงานหรือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรและความรู้ความเชี่ยวชาญของ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ 3. ในเรื่องของการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพของ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ควรให้แพทย์เป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจศพ ผ่าศพ ขนส่งศพ ตลอดจนการทำความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุและพฤติการณ์ของการตายโดยมีการกำหนดแบบ รายงานการชันสูตรพลิกศพของตนเองอย่างละเอียด และเห็นสมควรให้ตัดพนักงานฝ่ายปกครองออกจาก กระบวนการชันสูตรพลิกศพ และไม่ใช่เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ โดยให้คงเหลือเพียงแค่ 3 ฝ่ายเท่านั้น กล่าวคือ พนักงานสอบสวน แพทย์ และพนักงานอัยการ ทั้งนี้การไต่สวนการตายของศาล นอกจากจะต้องมุ่งเน้นในการหาความจริงเกี่ยวกับการตายแล้ว จะต้องครอบคุมไปถึงประเด็นที่จะ ควบคุมตรวจสอบการกระทำของเจ้าพนักงานว่าได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559