การวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF จังหวัดระยอง
Publisher
Issued Date
2022
Issued Date (B.E.)
2565
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
200 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b214769
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กาญจนาภรณ์ กระจ่างแจ้ง (2022). การวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF จังหวัดระยอง . Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6168.
Title
การวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF จังหวัดระยอง
Alternative Title(s)
Analysis of the succedd achievement of the RDF waste to energy power plant in Rayong Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF จังหวัดระยอง และเสนอรูปแบบการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF และการบริหารจัดการที่ยั่งยืนโดยใช้การประเมินประสิทธิผลและความยั่งยืน Sustainable Balance Scorecard (SBSC) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบการผลิตพลังงานไฟฟ้า การสัมภาษณ์ ผู้แทนจากโครงการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร จังหวัดระยอง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้แทนจาก บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนของโรงคัดแยกขยะแปลงเป็นเชื้อเพลิง Refuse Derived Fuel (RDF) โรงเผาขยะผลิตกระแสไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตำบลน้ำคอก ตำบลทับมา ตำบลมาบข่า และตำบลหนองตะพาน รวมถึงผู้นำชุมชนและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามประชาชนจำนวน 385 คน โดยศึกษาบริเวณ 5 กิโลเมตรจากพื้นที่ตั้งของศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร
จากผลการศึกษา การดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF ก่อนการก่อสร้างจนถึงปัจจุบันผ่านการวิเคราะห์ใน 6 มิติ ได้แก่ มิติประสิทธิผล มิติผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มิติการบริหารการจัดการ มิติการเรียนรู้และพัฒนา มิติสังคม และ มิติสิ่งแวดล้อม นําข้อมูลที่รวบรวมได้ถอดบทเรียนในการบริหารจัดการขยะครบวงจรแห่งแรกในระยอง ที่นำมาสู่การต่อยอดและแก้ไขปัญหาขยะของชุมชน ที่สามารถลดพื้นที่ฝังกลบขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย 1) การร่วมมือกับภาคเอกชนในการบริหารจัดการองค์ความรู้เฉพาะด้าน ขับเคลื่อนโครงการมีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้ 2) การมีกฎหมายที่อำนวยเอื้อต่อการกำจัดขยะให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน 3) การมีศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นต้นแบบการเรียนรู้จากพื้นที่การทำงานจริงแสดงแหล่งเรียนรู้ที่ควบคู่กับการประกอบกิจการได้อย่างยั่งยืน 4) การมีเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะและการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ทันสมัย 5) การจ้างงานคนในพื้นที่เป็นการเสริมสร้างด้านการสร้างโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าขยะ RDF โดยข้อเสนอแนะ 1) การสื่อสารและการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากกว่าเพียงผู้นำชุมชน 2) การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ชัดเจนครอบคลุม 3) การจัดการความปลอดภัยควรมีมาตรฐานสากลทั้งนี้เพื่อการประกอบกิจการที่มีประสิทธิภาพ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2565