ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของนโยบายกำหนดราคาพลังงานทดแทน : กรณีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี0 บี2 บี3) และไบโอดีเซล บี5
Publisher
Issued Date
2011
Issued Date (B.E.)
2554
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
11, 116 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จิรัฐ เจนพึ่งพร (2011). ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของนโยบายกำหนดราคาพลังงานทดแทน : กรณีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี0 บี2 บี3) และไบโอดีเซล บี5. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/617.
Title
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของนโยบายกำหนดราคาพลังงานทดแทน : กรณีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี0 บี2 บี3) และไบโอดีเซล บี5
Alternative Title(s)
Dead-weight loss of alternative energy pricing policy : a case of high speed diesel (B0, B2, B3) and Biodiesel B5
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ในปี พ.ศ. 2549 เมือตลาดไบโอดีเซล บี5 เกิดขึ้น ภาครัฐได้ประกาศโครงสร้างราคาขาย ปลีกไบโอดีเซล บี5 ที่ได้รับการอุดหนุนราคาไขว้ (Cross subsidy) ในลักษณะของการถ่ายโอน ภาษีและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้บริโภคดีเซลหมุนเร็วสู่ผู้บริโภคไบโอดีเซล บี5 เพื่อมุ่งหวังให้ ผู้บริโภคดีเซลหมุนเร็วหันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างไบโอดีเซล บี5 ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ นโยบายการอุดหนุนราคาไขว้ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ (Deadweight loss, DWL) อันเนิ่องจากการเปลี่ยนแปลงของส่วนเกินผู้ผลิต (Producer surplus) และส่วนเกิน ผู้บริโภค (Consumer surplus) ในตลาดดีเซลหมุนเร็วและตลาดไบโอดีเซล บี5 ซึ่งขณะนี้ยังไม่มี การวัดความสูญเสียทางเศรษฐกิจออกมาอย่างแท้จริง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากนโยบายดังกล่าว กรอบการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการประมาณการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทานในตลาดดีเซลหมุนเร็วและไบโอดีเซล บี5 เพื่อคํานวณหามูลค่าความสูญเสียทาง เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง โดยเปรียบเทียบกรณีภาครัฐจัดเก็บภาษีและกองทุนของน้ำมันดีเซลกับ สภาวะดุลยภาพในตลาดดีเซลหมุนเร็วและตลาดไบโอดีเซล บี5 กรณีที่ตลาดซื้อขายกันอย่างเสรี (ไม่มีการจัดเก็บภาษีและกองทุนของน้ำมันดีเซล) และขั้นตอนที่ 2 จะนําแบบจําลองที่ได้จาก ขั้นตอนแรกไปจําลองสถานการณ์ เพื่อหานโยบายการกําหนดราคาสินค้าทั้งสองชนิดให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด ผลการวิจัยที่ใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2550 ถึงเดือน มกราคม ปี พ.ศ. 2554 พบว่านโยบายกําหนดราคาขายปลีกดีเซลหมุนเร็ว และไบโอดีเซล บี5 ทํา ให้อัตราส่วนเพิ่มของการทดแทนกัน (Marginal rate of substitution, MRS) ระหว่างสินค้าทั้งสองชนิดแตกต่างจากอัตราส่วนเพิ่มของการเปลี่ยนแปลงการผลิต (Marginal rate of transformation, MRT) ร้อยละ 7.07 และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในตลาดทั้งสองในช่วงเวลา 4 ปี รวมกันทั้งสิ้น 11,497 ล้านบาท ซึ่งความสูญเสียทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในตลาดดีเซล หมุนเร็ว และเคยมีการสูญเสียสูงสุดถึง 823 ล้านบาทในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2552 ในขณะที่นโยบายผสมไบโอดีเซล บี100 ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วร้อยละ 3 (บี3) พบว่ามีความสูญเสียทาง เศรษฐกิจที่ลดลงเมื่อเทียบกับนโยบายที่ใช้ดีเซลหมุนเร็ว บี2นอกจากนั้น การวิจัยครั้งนี้ยังพบว่าผู้บริโภคนำมันดีเซลทั้งสองชนิดมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาดีเซลหมุนเร็วมากขึ้น เมื่อภาครัฐกําหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วต้องมีส่วนผสมของไบโอดีเซล บี100 ขั้นตอนต่อมาเป็นการจําลองสถานการณ์เพื่อหานโยบายกําหนดราคาขายปลีกที่ก่อให้เกิด ความสูญเสียทางเศรษฐกิจน้อยที่สุด พบว่าในกรณีแรก แม้ว่าภาครัฐจะสามารถขจัดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจทั้งหมดได้ แต่ภาครัฐจะต้องลดการจัดเก็บภาษีและกองทุนของน้ำมันดีเซลทั้งสอง ชนิดลงร้อยละ 78.49 ซึงในกรณีนี้ภาครัฐจะต้องสูญเสียรายได้ดังกล่าวปีละ 85,129 ล้านบาท ในขณะที่กรณีที่สอง กําหนดให้ภาครัฐยังคงมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีและกองทุนของน้ำมัน ดีเซลเท่าเดิม พบว่าราคาดีเซลหมุนเร็วจะลดลงร้อยละ 2.80 ในขณะที่ราคาไบโอดีเซล บี5 จะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.36 ส่งผลให้อัตราส่วนเพิ่มของการทดแทนกัน (MRS) แตกต่างจากอัตราส่วนเพิ่ม ของการเปลี่ยนแปลงการผลิต (MRT) เพียงร้อยละ 0.55 และทําให้มูลค่าความสูญเสียทาง เศรษฐกิจสามารถลดลงไปได้ร้อยละ 96.63 ของมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงใน ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามกรณีที่สองนี้จะทําให้ปริมาณการนําเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12 ต้นทุน เศรษฐศาสตร์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.90 และค่าใช้จ่ายรวมของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.02 เพราะฉะนั้นการใช้กองทุนน้ำมันเชิ้อเพลิงเป็นกลไกรักษาระดับราคาขายปลีกของพลังงาน ทดแทนจะต้องกํากับให้อัตราส่วนราคาขายปลีกต่อต้นทุนเศรษฐศาสตร์เท่ากับอัตราส่วนของ พลังงานที่สามารถทดแทนกันได้ โดยต้นทุนเศรษฐศาสตร์นี้จะต้องรวมผลกระทบภายนอก (Externality cost) ที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งภาษีน้ำมันควรจะจัดเก็บรวมกับกองทุน อนุรักษ์พลังงานเพื่อนํารายได้ไปใช้อย่างมีเป้าหมาย โดยเฉพาะการบรรเทาและป้องกันผลกระทบ ภายนอกที่เกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตพืชพลังงานอย่างเช่นปาล์มน้ำมัน ไม่ว่าจะ เป็นการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชพลังงานโดยตรง การจัดการน้ำภายในพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงาน และการจัดเก็บผลผลิตพืชพลังงานส่วนเกิน ทั้งนี้การเพิ่มอุปทานพืชพลังงานและการเพิ่มสัดส่วน การใช้พลังงานทดแทนนอกจากจะทําให้สังคมบริโภคพลังงานที่สะอาดแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2554