การพัฒนาองค์กรพันธมิตรของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต
Publisher
Issued Date
2017
Issued Date (B.E.)
2560
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
133 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b199287
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สิทธิพร แจ่มเที่ยงตรง (2017). การพัฒนาองค์กรพันธมิตรของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6293.
Title
การพัฒนาองค์กรพันธมิตรของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต
Alternative Title(s)
The development of alliances organizations of spa in Phuket
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงบริบทการพัฒนาองค์กรพันธมิตรของ ธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาองค์กรพันธมิตรของ ธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต โดยประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ คือ ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารของสถาน ประกอบการด้านสปาในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก กระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2556 จำนวนทั้งสิ้น 81 แห่ง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Regression Analysis) โดยพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง บริบทพันธมิตรทางธุรกิจด้าน คุณลักษณะขององค์กรที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กรพันธมิตรธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต ซึ่ง ประกอบไปด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการด้านบุคลากร 2) ด้านการคัดสรรสมาชิก และ 3) ด้านการพัฒนาสมาชิก พบว่า ปัจจัยด้านการคัดสรรสมาชิก (Partner Selection) เป็นปัจจัยที่มี อิทธิพลความสำเร็จของพันธมิตรธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ตมากที่สุด เมื่อพิจารณารายปัจจัยพบว่า องค์ประกอบทางด้านขีดความสามารถ (Capability) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาพันธมิตรทาง ธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ตมากที่สุด รองลงมา คือ องค์ประกอบทางด้านความเข้ากันได้ (Compatibility) โดยมีแนวทางในการพัฒนา 2 แนวทาง ได้แก่ 1) การจัดตั้งในลักษณะขององค์กร กลางของเหล่าพันธมิตรที่เป็นเอกเทศ เพื่อเป็นแกนหลักของเหล่าสมาชิกในการสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เป็นส่วนกลาง และ 2) การพิจารณาถึงความหลากหลายและศักยภาพขององค์กรและมีการ ประเมินถึงจุดอ่อนของสมาชิกก่อนที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกพันธมิตรอย่างเป็นทางการ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560