การศึกษาการกำกับดูแลการเแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ของประเทศไทย
Publisher
Issued Date
2018
Issued Date (B.E.)
2561
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
158 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b205820
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กุลเดช สุทธิวรชัย (2018). การศึกษาการกำกับดูแลการเแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ของประเทศไทย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6488.
Title
การศึกษาการกำกับดูแลการเแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ของประเทศไทย
Alternative Title(s)
The study of management of audio/video broadcasting under OTT system in Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการกํากับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพ
ในระบบ OTT เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องในการกํากับดูแลระบบ OTT ในประเทศไทย โดย
เปรียบเทียบกับการกํากับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศสิงคโปร์ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะที่ได้จาก
การเปรียบเทียบในแนวทางการกํากับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ให้มีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาพบว่า การกํากับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ในประเทศไทย
มีข้อบกพร่องอยู่ 3 ประการ คือ ประการแรก ไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลการให้บริการ OTT ทําให้การ
ให้บริการ OTT ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่เพียงอย่างเดียว ส่งผลให้เกิดปัญหาประการที่
สองและประการที่สามในเรื่องของเนื้อหาที่ทําการเผยแพร่ในบริการ OTT นั้น ผิดกฎหมายและละเมิด
ลิขสิทธิ์ และปัญหาความเป็นกลางในการให้บริการ (Net Neutrality) กล่าวคือ ผู้ให้บริการ OTT
อาจจะขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงเนื้อหาที่เผยแพร่ได้ทั้งหมด หรือลดคุณภาพของการรับส่งข้อมูล
ในการเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าหากประเทศไทยการที่มีหน่วยงานหรือ
องค์กรทําหน้าที่ในการกํากับดูแลการให้บริการ OTT โดยตรงเช่นเดียวกับต่างประเทศนั้นจะทํา
ให้บริการ OTT เกิดประสิทธิภาพทั้งแก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
จากข้อค้นพบดังกล่าว การวางแนวทางในการกํากับดูแลการให้บริการ OTT ของต่างประเทศ
นั้นมีประสิทธิภาพอย่างมากเพราะต่างมีองค์กรหรือหน่วยงานในการกํากับดูแลการให้บริการ OTT
โดยตรง และทําให้ไม่เกิดปัญหาและผลกระทบตามมาจากการให้บริการ OTT อย่างเสรี ผู้วิจัยจึงได้มี
การเสนอแนะแนวทางว่า ประเทศไทยต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานหรืองค์กรขึ้นมาทําการกํากับดูแลการ
ให้บริการ OTT โดยตรง เพื่อกํากับดูแลในการให้บริการ OTT ในรูปแบบของการขอใบอนุญาตเพื่อ
ประกอบการให้บริการ ซึ่งจะต้องผ่านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่หน่วยงานหรือองค์กรดังกล่าวกําหนด
ซึ่งมุ่งคุ้มครองทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการให้มีความเหมาะสมในการเข้าถึงข้อมูลและเพื่อให้เกิดการ
กํากับดูแลเนื้อหาที่เผยแพร่อย่างถูกกฎหมายและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของเนื้อหาด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561