การศึกษาระบบสารสนเทศในงานพัฒนาบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
Publisher
Issued Date
2001
Issued Date (B.E.)
2544
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
275 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b110514
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จุฑาทิพย์ พิทักษ์ (2001). การศึกษาระบบสารสนเทศในงานพัฒนาบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/671.
Title
การศึกษาระบบสารสนเทศในงานพัฒนาบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
Alternative Title(s)
A study of human resource development information systems of provincial public health administration
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง การศึกษาระบบสารสนเทศในงานพัฒนาบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานระบบสารสนเทศในงานพัฒนาบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการจัดรูปแบบระบบสารสนเทศด้านการพัฒนากำลังคน และ (3) เพื่อเสนอการจัดรูปแบบระบบสารสนเทศสำหรับระบบข้อมูลด้านการพัฒนากำลังคน งานพัฒนาบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานข้อมูลด้านการพัฒนากำลังคน
งานพัฒนาบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รวมจำนวน 24 คน ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ และร่วมกับกับการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและปัญหาในการดำเนินงาน (1 ) ระบบคน ส่วนใหญ่มีผู้รับผิดชอบ
งานเพียง 1 คน ปัญหาส่วนใหญ่พบว่า ผู้รับผิดชอบงานไม่เพียงพอ ขาดความพร้อมในด้านความรู้ ทักษะ และเวลาในการปฏิบัติงาน (2) ระบบบงาน ส่วนใหญ่ขาดแนวทางการปฏิบัติงาน กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามงานที่ปฏิบัติอยู่เดิม ปัญหาส่วนใหญ่พบว่า ระบบงานไม่ชัดเจนและมีความล่าช้าในการดำเนินงาน (3) ระบบข้อมูล ส่วนใหญ่ไม่มีแผนการไหลเวียนของข้อมูลและขาดการตรวจสอบข้อมูล ปัญหาส่วนใหญ่พบว่า การไหลเวียนข้อมูลไม่เป็นระบบ ไม่มีคณะทำงานรับผิดชอบโดยตรง และ (4) ระบบประเมินผล ยังไม่มีการปฏิบัติ ปัญหาส่วนใหญ่พบว่า ผู้บริหารให้ความสนใจน้อย (5) การเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมที่ส่วนกลางจัดทำให้ ปัญหาส่วนใหญ่พบว่า ขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน ไม่ได้รับความร่วมมือและโปรแกรมมีปัญหาในการใช้งาน (6) การเก็บรักษาข้อมูล ใน 3 ลักษณะ คือ สำเนาหนังสือ สมุดบันทึกและในเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดเก็บข้อมูลเป็น 3 ประเภท คือ ข้อมูลการฝึกอบรม ข้อมูลการศึกษาและข้อมูลการพัฒนา ปัญหาส่วนใหญ่พบว่า โปรแกรมใช้ยากและการเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ (7) การประมวลผลข้อมูล ส่วนใหญ่ประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์และมือควบคู่กัน ปัญหาส่วนใหญ่พบว่า ขาดทักษะและความรู้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล และ (8) การนำเสนอข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เสนอในหนังสือรายงานประจำปีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ปัญหาส่วนใหญ่พบว่า ขาคความรู้ความเข้าใจและทักษะในการนำเสนอข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
2. ความคิดเห็นของผู้บริหารในการพัฒนาระบบงานข้อมูล คือ ทำงานเป็นทีม มีเครือข่ายรับผิดชอบงาน มีงบประมาณสนับสนุน จัดสร้างโปรแกรมที่ได้มาตรฐาน รับ-ส่งข้อมูล
ระบบคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล ระดับจังหวัดทำหน้าที่เผยแพร่สารสนเทศให้ทุกระดับทราบ และควรมีคณะทำงานเฉพาะสำหรับการประเมินผล
3. ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติในการพัฒนาระบบงานข้อมูล คือ จัดทำโปรแกรมและแบบบันทึกข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน จัดระบบเครือข่ายข้อมูล เก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
โปรแกรมที่ใช้สามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลได้ตามที่ต้องการ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2544