การหาความจำเป็นในการฝึกอบรมและการวางแผนพัฒนานักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
Publisher
Issued Date
2004
Issued Date (B.E.)
2547
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
141 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b150095
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ดวงนภา สุวรรณธาดา (2004). การหาความจำเป็นในการฝึกอบรมและการวางแผนพัฒนานักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/694.
Title
การหาความจำเป็นในการฝึกอบรมและการวางแผนพัฒนานักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
Alternative Title(s)
Needs analysis and human resources development professional development plan of Training Division of Highways, Ministry of Transport
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์เรื่อง การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมและการวางแผนพัฒนานักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและวิธีการทำงานของนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล ศึกษาปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรมและนำผลที่ได้มาใช้วางแผนพัฒนาบุคลากรระยะเวลา 3 ปี กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้คือ นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง โดยใช้วิธีการศึกษาตามรูปแบบของโปรแกรม Designer's Edge คือ ศึกษาประวัติ วิสัยทัศน์ นโยบายและเป้าหมายในการทำงานของหน่วยงาน ศึกษาหน้าที่ความรับผิดชอบและชืดความสามารถของกลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่ความรับผิดชอบคือ นักพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับ 3-4 นักพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับ 5-6 และนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับ 7-8 และข้าราชการสังกัดกรมทางหลวงที่เคยผ่านการฝึกอบรมจากกองฝึกอบรม รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้บริหารและหัวหน้างาน
มีการศึกษาขีดความสามารถของนักพัฒนา ฯ ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาไว้เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดพื้นฐานขีดความสามารถให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลที่ได้จากการศึกษาทำให้ทราบถึง 1. ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานของกลุ่มเป้าหมาย 2. แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการทำงานของกลุ่มเป้าหมายทั้งที่แก้ไขด้วยการฝึกอบรมและวิธีการอื่นที่เหมาะสม 3. สามารถนำผลที่ได้มาใช้วางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้
ผลจากการศึกษาพบว่ามีปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรมและวิธีการอื่นดังนี้
1. ระดับ 3-4 พบว่าปัญหาที่สามารถแก้ไขใช้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ กระบวนการฝึกอบรม การวางแผนพัฒนาบุคลากร การจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงาน การออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมและโครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การจัดกิจกรรมและเกม ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ การจัดทำและพัฒนาระบบบริหารงานเพื่อสนับสนุนการทำงาน การจัดประชุมเพื่อพิจารณาหลักสูตรฝึกรบรม การจัดทำและขออนุมัติโครงการ การคัดเลือกและประเมินผล วิทยากรและสถานที่ในการฝึกอบรมภายนอก
2. ระดับ 5-6 พบว่าปัญหาที่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ การวางแผนพัฒนาบุคลากร การจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงาน การออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมและโครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทักษะการเป็นวิทยากร ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ การจัดทำและพัฒนาระบบบริหารงานเพื่อสนับสนุนการทำงาน การจัดประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระเบียบการฝึกหบรมเพิ่มเพิ่มเติมและดูงาน
3. ระดับ 7-8 ปัญหาที่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม การวางแผนพัฒนาบุคลากร การบริหารความเปลี่ยนแปลง การจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงาน การเขียนบทความเชิงวิชาการ การออกแบโครงการพัฒนา
ทรัพยากรบุคคล การสร้างทีมงาน การจัดทำเครื่องมือประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม ทักษะการเป็น
วิทยากร ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ ระเบียบการศึกษาฝึกอบรมเพิ่มเติมและดูงาน
เมื่อนำผลการศึกษาที่ได้นำมาใช้ในการสัมภาษณ์ผู้บริหารของหน่วยงานและจากการศึกษา การกำหนดขีดความสามารถ แนวทางในการพัฒนาบุคลากรจากสำนักงานศาลยุติธรรม สามารถสรุปหลักสูตรที่เหมาะสมนำมาพัฒนานักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง ดังนี้
1. หลักสูดรกระบวนการฝึกอบรมสำหรับนักพัฒนาพรัพยากรบุคคล
2. การจัดทำและพัฒนาระบบบบสารสนเทศสำหรับนักพัฒนาทรัพยากรบุคลประกอบด้วย
2.1 หลักสูตรการจัดทำ Website
2.2 หลักสูตรการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับผู้บริหาร
3. หลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหาร
4. หลักสูตรการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม
5. หลักสูตรทักษะการจัดเกมและกิจกรรม
6. หลักสูตรการสร้างทีมงาน
7. หลักสูตรการเขียนบทความเชิงวิชาการ
8. หลักสูตรการประเมินผลและการติดตามผลการฝึกอบรม
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2547