การวิเคราะห์ความต้องการและพัฒนาศักยภาพการบริหารงานด้านการเงินการบัญชีของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร : ศึกษาเฉพาะภาคกลาง
Publisher
Issued Date
2003
Issued Date (B.E.)
2546
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
106 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b125286
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กัลชิญา เพชรล้ำ (2003). การวิเคราะห์ความต้องการและพัฒนาศักยภาพการบริหารงานด้านการเงินการบัญชีของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร : ศึกษาเฉพาะภาคกลาง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/702.
Title
การวิเคราะห์ความต้องการและพัฒนาศักยภาพการบริหารงานด้านการเงินการบัญชีของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร : ศึกษาเฉพาะภาคกลาง
Alternative Title(s)
Need assessment in accounting and financial development administration for managers of Agricultural Cooperatives : Central Region
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ความต้องการและพัฒนาศักยภาพการบริหารงานด้านการเงินการบัญชีของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาบทบาทที่เหมาะสมของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรในฐานะผู้บริหาร รวมทั้งเพื่อศึกษาถึงปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเกี่ยวกับการบริหารงานด้านการเงินการบัญชี ตลอดจนค้นหาถึงข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการสหกรณ์การเกษตร และนำไปใช้ในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรที่เหมาะสมต่อไป
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี และฉะเชิงเทรา รวมถึงเจ้าหน้าที่ภายในของสหกรณ์การเกษตร และผู้สอบบัญชีสหกรณ์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ที่รับผิดชอบดูแลสหกรณ์
การเกษตรแห่งนั้น ๆ รวมจำนวนทั้งสิ้น 133 ราย โดยใช้รูปแบบในการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กล่าวคือ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้บริหาร ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทำตารางไขว้
ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพการบริหารงานด้านการเงินการบัญชีของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรภาคกลางในภาพรวมนั้นจัดได้ว่าอยู่ในระดับสูงและเป็นเกณฑ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้ผลการศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านการควบคุม ด้านการตรวจสอบ และด้านอื่น ๆ พบว่า ในด้านการบริหาร การควบคุม และการตรวจสอบนั้น ทั้งผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ภายในสหกรณ์มีความคิดเห็นที่ตรงกันว่า ระดับผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการในหน้าที่ 3 ด้านนั้นจัดในระดับที่ดีมาก โดยในด้านการบริหารคิดเป็นร้อยละ 54.5 และ 42.5 สำหรับด้านการควบคุมคิดเป็นร้อยละ 56.8 และ 43.8 ตามลำดับ และ
ในด้านการตรวจสอบคิดเป็นร้อยละ 63.6 และ 57.5 ตามลำดับ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติถิติที่ 0.00 ในขณะที่ความคิดเห็นจากผู้สอบบัญชีเป็นไปในทางตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ ในด้านการบริหารพบว่าร้อยละ 50 ของผู้สอบบัญชีเห็นว่าผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรยังทำได้ไม่ดีพอส่วน
ในด้านการควบคุมและด้านการตรวจสอบนั้นผู้สอบบัญชีเห็นตรงกันว่า ระดับผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรอยู่ในระดับที่ไม่ดีเลยคิดเป็นร้อยละ 50 เช่นกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.00 นอกจากนี้ในด้านอื่นๆ พบว่าผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเห็นว่าตนเองนั้นมีระดับผลการปฏิบัติงานค่อนข้างดีคิดเป็นร้อยละ 38.6 ในขณะที่เจ้าหน้าที่ภายในสหกรณ์เห็นว่าผู้จัดการสหกรณ์มีระดับผลการปฏิบัติงานในระดับที่ดีมากคิดเป็นร้อยละ 23.3 ซึ่งตรงข้ามกับความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีโดยส่วนใหญ่ที่เห็นว่าระดับผลการปฏิบัติงานในด้านอื่นๆ รองผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรอยู่ในระดับที่ไม่ดีเลยคิดเป็น ร้อยละ 68.8 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.00
จากประเด็นปัญหาทั้งหมดที่พบ ผู้วิจัยสามารถนำไปสร้างเป็นหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานด้านการเงินและการบัญชี ได้ดังนี้
หลักสูตรที่ 1 หลักสูตรเสริมสร้างเจตคติในการบริหารการเงินการบัญชี
หลักสูตรที่ 2 หลักสูตรคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเพื่อการบริหารงานการเงินการบัญชี
หลักสูตรที่ 3 หลักสูตรการใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหาร
หลักสูตรที่ 4 หลักสูตรการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อการบริหาร
หลักสูตรที่ 5 หลักสูตรการบริหารการตลาดเบื้องต้น
หลักสูตรที่ 6 หลักสูตรการวิเคราะห์แนวโน้มการตลาดเพื่อการแข่งขันเชิงธุรกิจ
หลักสูตรที่ 7 หลักสูตรการวิเคราะห์การลงทุนเพื่อการแข่งขันทางการตลาด
ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในครั้งต่อไป เพื่อให้การศึกษาถึงระดับความต้องการและพัฒนาศักยภาพในการบริหารงานของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเป็นไปอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงการบริหารงานในด้านอื่น ๆ รวมถึงอาจทำการศึกษาแยกตามระดับชั้นหรือขนาดที่แตกต่างกันของแต่ละสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงรายละเอียดในเชิงลึกยิ่งขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่วงการสหกรณ์การเกษตรในแง่มุมอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้ หากสามารถทำการศึกษาให้ครอบคลุมถึงสหกรณ์ประเภทอื่น ๆ อีก 5 ประเภท อันได้แก่ สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ และสหกรณ์ออมทรัพย์ อาจทำให้เข้าใจและเห็นถึงความแตกต่างเกี่ยวกับวิธีการบริหารงานรองสหกรณ์แต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2546