การประเมินผลโครงการตามมาตรการจ้างงานในชนบทที่ดำเนินงานโดยองค์การบริหารส่วนตำบลในปี 1999
Publisher
Issued Date
2000
Issued Date (B.E.)
2543
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
199 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b104844
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปรางทิพย์ ปรีชาวุฒิพงศ์ (2000). การประเมินผลโครงการตามมาตรการจ้างงานในชนบทที่ดำเนินงานโดยองค์การบริหารส่วนตำบลในปี 1999. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/715.
Title
การประเมินผลโครงการตามมาตรการจ้างงานในชนบทที่ดำเนินงานโดยองค์การบริหารส่วนตำบลในปี 1999
Alternative Title(s)
An evaluation of rural employment project administered by sub-district administration organization in 1999
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลโครงการตามมาตรการจ้างงานในชนบทที่ดำเนินงานโดยองค์การบริหารส่วนตำบลปี 2542 ตามแบบจำลอง CIPP ซึ่งประกอบด้วยการศึกษา ปัจจัยสภาวะแวดล้อม (Context) ปัจจัยเข้า (Input) ปัจจัยกระบวนการ (Process) 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลโครงการตามาตรการจ้างงานในชนบทที่ดำเนินงานโดยองค์การบริหารส่วนตำบลในปี 2542 เเละ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ตลอดจน ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรการจ้างงานในชนบท
ในการวิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ เฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลพบุรี และจำกัดเฉพาะโครงการที่เป็นการจ้างงานโดยตรง
ระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้ ใช้ทั้งในเชิงปริมาณด้วยการวิจัยแบบสำรวจโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร และการสังเกตการณ์
ผลจากการศึกษา พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการโครงการตามมาตรการจ้างงานในชนบทปี 2542 อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยัง พบว่า ประสิทธิผลโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบล ขึ้นอยู่กับ 1) การปฏิบัติตามมาตรการจ้างงานในชนบท 2) การติดต่อประสานงาน 3) การติดตามผลโครงการ 4) การมีส่วนร่วมของประชาชน 5) ประสิทธิภาพโครงการ และ 6) การประชาสัมพันธ์โครงการ
ประสิทธิผลโครงการจากการประเมินโดยประชาชนอยู่ในระดับสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ และ 2) ความต้องการโครงการ
ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากโครงการตามมาตรการจ้างงานในชนบท มี 5 ประการ ดังนี้ 1) ความจำกัดและล่าช้าของงบประมาณ 2 ) ความไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องของนโยบายการปฏิบัติงาน 3) การขาดแคลนและการไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานของแรงงานในพื้นที่ 4) ความไม่ยุติธรรม ความไม่เพียงพอ และไม่ทั่วถึงของการจ้างงาน และ 5) ความไม่เพียงพอของบุคลากรและยานพาหนะในการติดตามผล ทั้ง 5 ประการข้างต้น ทำให้ประสิทธิผลของโครงการไม่ดีเท่าที่ควร
ดังนั้น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถตอบสนองนโยบายตามมาตรการจ้างงานในชนบทได้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ คือ 1) ปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงระบบ และกระบวนการทางด้านงบประมาณให้จัดสรรโครงการตามความจำเป็นและรวดเร็วขึ้นซึ่งสอดคล้องกับช่วงมกราคม - เมษายน (ฤดูแล้ง) เพราะเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การจัดทำโครงการประเภทโครงสร้างพื้นฐาน 2) ปรับปรุงนโยบายปฏิบัติงานเดิมหรือปรับเปลี่ยน
นโยบายปฏิบัติงานใหม่โดยให้มีความชัดเจนขึ้นในแนวทางการจัดจ้างแรงงานในพื้นที่ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่และปัญหาการว่างงาน 3) ควรเพิ่มโครงการที่มีลักษณะเป็นโครงการที่ต่อเนื่อง เช่น โครงการฝึกอาชีพ การรวมกลุ่มอาชีพ เป็นต้น จะทำให้สามารถแก้ปัญหาการว่างงานได้อย่างแท้จริง และ 4) ควรพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการติดตามผลโครงการ และเพิ่มอุปกรณ์และยานพาหนะในการติดตามผลให้ทั่วถึง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2543