ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Publisher
Issued Date
2010
Issued Date (B.E.)
2553
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
477 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b166944
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อุรสา บรรณกิจโศภน (2010). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/955.
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Alternative Title(s)
Factors affecting investment decision making in the stock exchange of Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศึกษาเฉพาะกรณีการซิ้อขายหุ้นของผู้ลงทุน โดยจําแนก ประเภทของผู้ลงทุนเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ลงทุนรายใหญ่ผู้ลงทุนรายย่อย ผู้ลงทุนสถาบันไทย และผู้ ลงทุนสถาบันต่างประเทศ และนําเสนอผลการศึกษาเชิงประจักษ์นี้เป็นข้อมูลและข้อเสนอแนะเชิง นโยบายให้ผู้กําหนดนโยบายที่ เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทย โดยเฉพาะใน ส่วนของการพัฒนาคุณภาพ การขยายฐานผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งนําเสนอแนวทางใน การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อให้สามารถจัดสรรบริการด้านธุรกิจ หลักทรัพย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุนแต่ละประเภท ในส่วนของผู้ลงทุนสามารถนํา ผลการศึกษาไปประยุกต์ในการเลือกใช้ปัจจัยในการตัดสินใจลงทุน และกําหนดกลยุทธ์ในการ ลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนในการลงทุนให้สูงขึ้น ในการศึกษาจะใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณประกอบกัน เพื่อพัฒนา กรอบแนวคิดที่มีความชัดเจนสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ลงทุนไทยในปัจจุบัน ในการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสําคัญที่ผู้ลงทุนใช้ในการตัดสินใจลงทุน ได้แก่ ปัจจัยเชิงมหภาคด้าน เศรษฐกิจและการเมือง ปัจจัยเชิงจุลภาค จําแนกเป็น 3 ด้านได้แก่ ปัจจัยจุลภาคด้านปัจจัยเชิง ปริมาณ ปัจจัยจุลภาคด้านปัจจัยเชิงคุณภาพ และปัจจัยจุลภาคด้านปัจจัยเชิงเทคนิค ปัจจัยด้าน ข้อมูลข่าวสาร และปัจจัยด้านสังคมกับค่าเบต้าเฉลี่ยของกลุ่มหลักทรัพย์หรือความผันผวนของ ผลตอบแทนเฉลี่ยของกลุ่มหลักทรัพยืที่ผู้ลงทุนเลือกลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์ รวมถึงทดสอบความสอดคล้องของผลการศึกษากับแนวคิด ทฤษฎีและข้อ ค้นพบจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและประวัติชีวิตของผู้ลงทุนในบริบทของผู้ลงทุนไทยผลการศึกษาพบว่าผู้ลงทุนสถาบันทั้งไทยและต่างประเทศรวมถึงผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ ประสบความสําเร็จในการลงทุน ใช้ปัจจัยเชิงมหภาค ได้แก่ ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ ภาวะ อุตสาหกรรม เสถียรภาพทางการเมือง รวมถึงพิจารณาคุณภาพของบริษัทและคุณภาพของ ผู้บริหารของบริษัทเจ้าของหุ้นโดยเลือกลงทุนในบริษัทที่มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูง มีความ โปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต บริษัทมีชื่อเสียง เป็น ผู้นําตลาด และมีบรรษัทภิบาล สุดท้ายจะทําการประเมินมูลค่าของหุ้นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน สอดคล้องกับการลงทุนแบบ Top Down Analysis โดยข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจจะมาจากจาก แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศรวมถึงบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ และคําแนะนําของเจ้าหน้าที่การตลาด ในขณะที่ผู้ลงทุนรายย่อยเลือกลงทุนในบริษัทที่มีชื่อเสียง บริษัทที่ได้รับการยอมรับว่ามี บรรษัทภิบาล และมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล ในการตัดสินใจลงทุนจะไม่คํานึงถึงมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นแต่จะให้ความสําคัญกับราคาหุ้น ไม่ให้ความสําคัญกับการประเมินราคาหุ้นรวมถึง ศักยภาพในการเติบโตของบริษัท และเลือกซื้อขายเฉพาะหุ้นที่มีสภาพคล้อง ทั้งนี้ในการตัดสินใจ ลงทุนจะใช้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่การตลาด ข่าวลือเกี่ยวกับการซื้อขายของผู้ลงทุนรายใหญ่และ ข้อมูลการซื้อขายของผู้ลงทุนต่างประเทศ และซื้อขายตามเพื่อนในห้องค่าหลักทรัพย์ พฤติกรรมในการลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อยข้างต้นไม่แตกต่างจากพฤติกรรมของผู้ลงทุน ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใน ปี 2540 ซึ่งหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องละเลยหรือไม่ให้ความสําคัญ กับการพัฒนาคุณภาพของผู้ลงทุนและบุคคลากรที่เกี่ยวข้องนี่ขาดทุน รวมถึงกฎเกณฑ์ที่ เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนอาจส่งผลให้การซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ขาดเสถียรภาพ และผู้ลงทุน ต่างชาติรวมทั้งกลุ่มผู้ลงทุนที่มีศักยภาพในการลงทุนอาจไม่เลือกลงทุนในตลาดทุนไทย จากผลการศึกษาได้นําเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจําแนกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ 1) การ ปรับปรุงภาพลักษณะของหน่วยงานที่ทําหน้าที่กําหนดนโยบายที่ เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุน 2) การขยาย ฐานผู้ลงทุน 3) การพัฒนาคุณภาพของบริษัทจดทะเบียน 4) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในตลาด หลักทรัพย์ 5) การกํากับดูแลบริษัทหลักทรัพย์ 6) การพัฒนาคุณภาพผู้ติดต่อผู้ลงทุน และ 7) การ ส่งเสริมความรู้ผู้ลงทุน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010