กลยุทธ์การขับเคลื่อนการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorวรเชษฐ์ แสงอรุณth
dc.date.accessioned2022-08-15T09:09:40Z
dc.date.available2022-08-15T09:09:40Z
dc.date.issued2021th
dc.date.issuedBE2564th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการขับเคลื่อนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และนำเสนอกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยมีวิธีการศึกษา ประกอบด้วย การทบทวนและวิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษา จำนวน 9 คน การวิเคราะห์ช่องว่างของการดำเนินงานตามนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อการดำเนินนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และใช้แบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี ซึ่งอาศัยหรือทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 424 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการขับเคลื่อนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ด้วย SWOT Analysis เพื่อมากำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชน โดยใช้ TOWS Matrix และนำเสนอโดยแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ตามมิติของหลักการ Balanced Scorecard (BSC) เพื่อแสดงความเชื่อมโยงและแนวทางการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ผลการศึกษาพบว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการเพิ่มแรงจูงใจทางการเงินและให้ภาคเอกชนเร่งพัฒนาความจุของแบตเตอรี่รวมถึงระบบอัดประจุไฟฟ้าให้รวดเร็ว ในขณะที่มีความกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าและระยะการเดินทางต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (การลดปัญหามลภาวะทางอากาศและเสียง) ด้านกฎหมาย (มาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า) และด้านการบริหารจัดการ (โครงสร้างพื้นฐานและสถานีซ่อมบำรุง) ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาพบช่องว่างทางกลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่ นโยบายไม่มีแผนปฏิบัติการและตัวชี้วัดในแต่ละปีที่ชัดเจน บุคลากรขาดทักษะในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน มาตรฐานบังคับ (มอก.) ของรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญ รถยนต์ไฟฟ้ายังมีราคาสูงกว่ารถยนต์สันดาปภายใน และความกังวลของสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ไม่ครอบคลุมทั่วภูมิภาค และผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการขับเคลื่อนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพบว่าประเทศไทยมีจุดแข็งคือความพร้อมในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับภาครัฐมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก แต่มีจุดอ่อนคือผู้ประกอบการเดิมบางรายไม่มีความพร้อมและปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มีศูนย์ทดสอบมาตรฐานระดับสากลอาจทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันได้ หากผู้ประกอบการใดปรับตัวได้ทันก็เป็นการสร้างโอกาสในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากทั่วโลกมีนโยบายเลิกจำหน่ายรถยนต์สันดาปภายในและมีนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกในภาคคมนาคมขนส่ง แต่ก็ยังมีอุปสรรคในด้านต้นทุนการผลิต ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการบริหารจัดการแบตเตอรี่ ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากต่างประเทศที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน ดังนั้นจึงได้นำเสนอ 5 ยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขช่องว่างข้อจำกัดและสนับสนุนจุดแข็งเพื่อเปิดรับโอกาสการพัฒนา ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สถานีอัดประจุไฟฟ้า และศูนย์ทดสอบ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ยุทธศาสตร์ที่ 3 การทบทวนความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับปรุง มาตรฐาน กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ให้มีความทันสมัย เป็นธรรม และเอื้อต่อการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และยุทธศาสตร์ที่ 5 การสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านยานยนต์ไฟฟ้าสู่บุคลากรอย่างต่อเนื่องth
dc.description.abstractThe purposes of this study are to study the needs and to analyze factors affecting the decision making on the use of electric vehicles of people in Bangkok metropolitan area, to analyze the situation of electric vehicles use and to put forward appropriate strategies of electric vehicle use. Research methodology include literature review and analysis of relevant policies, interviews with government sector, state-owned enterprises, independent organization, and academic institute accounting for 9 people. This research also adopts online questionnaire survey by convenient sampling to 424 people who living or working in Bangkok metropolitan region aged range from 18 to 65 years. SWOT analysis, Gap analysis of policy and planning, stakeholder impact analysis and promotion of electric vehicle policy implementation were used as tools for the strategic analysis. The strategic map was formulated by using TOWS matrix. The strategy map was based on the Balanced Scorecard (BSC). The results show that key informants and samples want the government sector to increase financial incentives and encourage the private sector to accelerate the development of capacity. However, the most concerned is the number and distance of a charging station. The three most important factors affecting decision-making are environment: air pollution and noise control. Laws and regulations: standards and management of electric vehicles infrastructure and maintenance stations, respectively. Strategic gap involve an action plan for the policy implementation, human resource skill and management, as well as standardization of automotive electrical products and parts, The price of electric vehicles and main components of electric vehicles are higher than that of domestic vehicles, which does not cover the attention of the whole region. Thailand has a strong advantage in the automotive and small parts industry and is focused on being the world's major production base of electric vehicles. Weakness is entrepreneurs lacks of preparation and do not adapt to changes in electrical vehicle technology. In addition, Thailand has no standardized testing center, which may be at a disadvantage in the competition. If entrepreneurs adjust themselves to create an electric vehicle business, globally, domestic vehicle weight and policies to reduce greenhouse gas emissions, but there are also obstacles to production costs. advanced battery technology and management. Therefore, the production base of foreign automobile manufacturers in Thailand may be transferred to ASEAN countries. Therefore, five strategies are proposed to solve the gap, limit and support the advantages to meet the needs of development, 1) infrastructure development, power stations and 2) test center, public relations and understanding of the use of electric vehicles 3) the success of the promotion policy of electric vehicles, according to the current situation, 4) improve the modernization of standards, laws and regulations, be fair and promote the use of electric vehicles and 5) continue to support research, development and transfer of modern technology to people in the field of robotics.th
dc.format.extent246 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2021.29
dc.identifier.otherb213849th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5982th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectรถยนต์ไฟฟ้าth
dc.subjectกลยุทธ์ขับเคลื่อนth
dc.subjectการวิเคราะห์ช่องว่างth
dc.subject.otherElectric vehiclesth
dc.titleกลยุทธ์การขับเคลื่อนการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeStrategies ot drive people's choice of electric vehicles in Bangkokth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b213849.pdf
Size:
4.25 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections