ปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมพระเครื่อง

dc.contributor.advisorชัยพร พิบูลศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorอรรถพันธุ์ สงวนเสริมศรีth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:18Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:18Z
dc.date.issued1997th
dc.date.issuedBE2540th
dc.descriptionMethodology: Cronbach's alpha, Chi-square testth
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมพระเครื่อง มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะทางพุทธศาสนา ลักษณะทางจิต ประสบการณ์ทางพุทธศาสนา รวมถึงลักษณะของการครอบครองพระเครื่องของพุทธศาสนิกชนที่มีความนิยมพระเครื่องในเขตกรุงเทพมหานคร จากบุคคลที่ได้รับหรือแสวงหาพระเครื่องมาไว้เป็นของตนเอง ไม่ว่าจะด้วยวิธีการหรือวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ทำการสุ่มตัวอย่างจากแหล่งที่มีการเปิดให้เช่าพระเครื่อง เช่น ชมรมพระเครื่องต่าง ๆ หรือวัดที่มีพระเครื่องให้เช่า จากการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง 205 คน พบว่าส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 26-35 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.1 เป็นเพศชาย ร้อยละ 89.3 เพศหญิง ร้อยละ 10.7 การศึกษาจบขั้นปริญญาตรี ร้อยละ 44.9 เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 40.5 รายได้ส่วนใหญ่สูงกว่า 16,000 บาท คิดเป็น ร้อยละ 30.7 ลักษณะของความนิยมพระเครื่องแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ชื่นชมในความแก่าแก่และประวัติของพระสงฆ์ผู้สร้างพระเครื่องรุ่นหรือองค์นั้นๆ จำนวนร้อยละ 40 กลุ่มที่เชื่อในปาฎิหาริย์และความอัศจรรย์ของพระเครื่องนั้น ร้อยละ 16.6 กลุ่มผู้ที่มีพระเครื่องไว้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ร้อยละ 27.3 และกลุ่มที่เชื่อว่าพระเครื่องนั้นจะมีราคามากขี้นในอนาคต จำนวนร้อยละ 16.1.th
dc.description.abstractผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีความเชื่อและมีการปฏิบัติตนซึ่งเป็นลักษณะสำคัญทางพุทธศาสนา อยู่ในเกณฑ์ต่ำ จะเป็นผู้ที่มีความนิยมพระเครื่องโดยเชื่อในปาฎิหาริย์และความอัศจรรย์ของพระเครื่องนั้น และพบว่าลักษณะดังกล่าวที่มีอยู่สูง จะพบอยู่ในกลุ่มที่มีพระเครื่องไว้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ลักษณะทางจิตของกลุ่มที่ศึกษาพบว่า กลุ่มที่เชื่อในปาฎิหาริย์ และความอัศจรรย์ของพระเครื่องนั้น มีภาวะของการควบคุมอารมณ์และความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ซึ่งต่างจากผู้ที่มีความนิยมพระเครื่องเพราะชื่นชมในความเก่าแก่และประวัติของพระสงฆ์ผู้สร้างพระเครื่องรุ่นหรือองค์นั้นๆ กับกลุ่มผู้ที่มีพระเครื่องไว้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า โดยลักษณะทางจิตของทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับปานกลางและสูงซึ่งใกล้เคียงกัน ผู้ที่มีพระเครื่องไว้เพื่อเป็นที่ถึงที่ระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และประสบการณ์ดังกล่าวนี้มีน้อยมากในผู้ที่เชื่อว่าพระเครื่องนั้นจะมีราคามากขึ้นในอนาคต ลักษณะของการครอบครอง พบว่า พระเครื่องเป็นสิ่งที่นิยมให้หรือรับกันระหว่างบุคคลในทุกกลุ่มของความนิยม ยกเว้นแหล่งที่มีการเปิดให้เช่าหาพระเครื่องผู้ที่เชื่อว่าพระเครื่องนั้นจะมีราคามากขึ้นจะเช่าหาเป็นส่วนใหญ่ และการเช่าหาพระของกลุ่มนี้มีค่าเฉลี่ยในการเช่าสูงกว่าทุกกลุ่มทุกกลุ่ม พระพิมพ์ผงเป็นแบบพระและเนื้อพระที่เป็นที่นิยมในทุกุกุล่มส่วนลักษณะทางพุทธคุณที่เชื่อว่าจะได้รับจากพระเครื่องนั้น ด้านเมตตามหานิยมเป็นที่ต้องการของกลุ่มที่เชื่อว่าพระเครื่องนั้นจะมีราคามากขึ้นในอนาคต ส่วนด้านแคล้วคลาดปลอดภัยจะพบในผู้ที่เชื่อในปาฎิหาริย์และความอัศจรรย์ของพระเครื่องนั้น จากการศึกษาที่พบ โอกาสของการประกอบกิจกรรมทางศาสนาและความใกล้ชิดกับกิจกรรมทางศาสนาที่น้อยลงไป บวกกับการรับรู้ถึงสาระในหลักธรรมและการปฏิบัติตามหลักธรรมนั้นน้อยลงไปด้วย และการขาดความเข้าใจในหลักธรรมที่สอนให้บุคคลใช้ปัญญาในการพิจารณาหาเหตุมาอธิบายย่อมที่จะกระทำได้ยาก ทำให้ความคิด จิตใจ รวมทั้งสภาวะทางอารมร์นั้นต่ำลงขาดความมั่นใจ ยังผลให้ต้องหาสิ่งอื่นมาเป็นที่พึ่งและยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบในผู้ที่นิยมพระเครื่องเนื่องจาก เชื่อในปาฏิหาริย์และความอัศจรรย์ของพระเครื่องและเชื่อว่าพระเครื่องจะมีราคามากขึ้นในอนาคตth
dc.description.abstractจะเห็นได้ว่าจากที่พระเครื่องเป็นสิ่งซึ่งพุทธศาสนิกชน ใช้เป็นสิ่งแทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อระลึกถึงพระองค์ คำสอนของพระองค์ และประพฤติปฏิบัติตามคำสอนนั้น แต่ความแตกต่างตามความเข้าใจถึงความหมายของพระเครื่อง ความคิด ความเชื่อ และการปกิบัติตนทางพุทธศาสนาจึงแตกต่างกันไป จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งพบว่า ความนิยมพระเครื่องเพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า มีจำนวนน้อยกว่า เมื่อเทียบกับความนิยมเพราะชื่นชมในความเก่าแก่ของพระเครื่องและประวัติของพระสงฆ์ผู้สร้างพระเครื่อง รวมทั้งเชื่อว่าพระเครื่องนั้นจะมีราคามากขึ้นในอนาคต รวมกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางศาสนาเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นโอกาสที่จะได้สร้างความใกล้ชิดรวมทั้งปลูกฝังความเข้าใจในเหตุผลของหลักธรรมที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและชี้นำในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง.th
dc.description.abstractThe study of the factors affecting the reverence of Buddhist votive tablets was conducted to find out the nature, mind and experiecne of the Buddhist, including the Buddhist votive tablet possession of those who sought them for their own reverence by whatever method or for whatever purpose, The data were collected from the sources where Buddhist votive tablets were available for sale, i.e. , Buddhist votive tablet clubs or monasteries where there were such tablets for sale. The total samples were 205. Many of them (34.1%) aged 26-35. Males accounted for 89.3% and females 10.7% of the sample group. Around 44.9% had a Bachelor's degree. Around 40.5% workd for the government or for state interprises. Many (30.7%) ha an income of more than 16,000 baht a month. They could be classified into four group. The first group (40%) sought Buddhist votive tablets for reverence because they were fascinated by the history of a particular Buddhist votive tablet. The second group (16.6%) beleived in the magic power of aparticular Buddhist votive tablet. The third group (27.3%) owned Buddhist votive tablets in commemoration of Lord Buddha. The last group (16.1%) had a speculative purpose, for they thought that they would buy Buddhist votive tablest to sell them at higher prices in the future. The research results revealed that the proportion of those who truly believed and followed the Buddhist teachings was still low. Most people sought the tablets because they believed in the magic power of a particular Buddhist votive tablet. Only those who had them in commemoation of Lord Buddha were found to truly believe in and to faithfully follow the Buddhist teachings. When the mind was considered, it was found that those who believed in the magic power of a particular Buddhist votive tablets could not control themselves well and had low self-confidence. On the contrary, those who were fascinated by the history of a particular Buddhist votive tablet and thoes who owned Buddhist votive tablets in commemoration of Lord Buddha tended to have a better control of themselves and to have high self-confidence. The scores of the "mind" factors of both groups were found to be nearly the same (at a moderate and a high level). Those who had a lot of experience in Buddhism or who participated in Buddhist activities were found to heave Buddhist votive tablets in commemoration of Lord Buddha. In contrast, those who hoped to sell them at higher price in the futrure had little experience in Buddhist activities. When the nature of possession was considered, it was found that all groups liked to give or take Buddhist votive tables free of chage. Only in the Buddhist votive tablets market was there selling and buying. Most customers were speculative. The speculative group out numbered the other groups in buying Buddhist votive tablets from the market. Powdery Buddhist votive tablets were the most popular in all the groups The speculative group preferred Buddhist votive tablets that, they believed, could make them popular or charming, where as those who believed im magic power preferred Buddhist votive tablets which they believed to proteft them from dangers. As the chance to participate in religions activities and to learn the Buddhist teachings was becomming leass and less, many people did not deeply understand the Buddhist principles, whcih focused on encouraging people to use their own intellectural to find reasons behind what happened. As a result, they counld not keep their minds in peace and lacked confidence. They searched for something to cling on, as counld be seen from the group who believed in the magic power of Buddhist votive tablets. Also, the lack of understanding of Buddhist teaching made a speculative group regard Buddhist votive tablets as goods. In fact, Buddhist votive tablets represent Lord Buddha and His tachings, but many people do not truly ralize this. They believe and perform diferently from what the religion teaches. The study clearly shows that those who have Buddhist votive tablets in commemoration of Lord Buddha are smaller in mumber than those who are fascinated by the history of a particular Buddhist votive tablets for future sale. Related people or agencies should pay more attention to religions activities. They should persuade people to join them and instill the Buddhist teaching in the minds of the younder generation so suable them to have peace in minds and to live happily in the society.th
dc.format.extent[11], 95 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซมth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1997.6้th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1772th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccBQ 5075 .M4 อ17th
dc.subject.otherพระเครื่องth
dc.subject.otherพุทธศาสนากับสังคมth
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมพระเครื่องth
dc.title.alternativeFactors affecting the reverence of the Buddhist votive tabletsth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์และวางแผนทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b76827.pdf
Size:
1.96 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections