แนวทางสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorจุฑามาศ สิทธิชัยth
dc.date.accessioned2019-06-12T07:32:04Z
dc.date.available2019-06-12T07:32:04Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย ศึกษาปัจจัยสำคัญที่นาไปสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย และเสนอแนวทางการดำเนินการพัฒนาอาคารเขียวของประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย ผู้กำหนดเกณฑ์การประเมิน และการลงพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคารเขียวที่ผ่านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวแบบต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 เกณฑ์การประเมิน ซึ่งได้แก่ LEED, BREEAM, CASBEE, TEEAM และ TREES และนำผลการศึกษาที่ได้มาสรุปเชิงพรรณนาความth
dc.description.abstractจากผลการศึกษาด้านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว พบว่า เกณฑ์การประเมินส่วนใหญ่ต่างมีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอาคาร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบด้านลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงาน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย พบว่า เกณฑ์การประเมินอาคารเขียวที่ใช้ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปขาดความรู้และความเข้าใจในด้านอาคารเขียว ขาดการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้สร้างเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของภาครัฐและภาคเอกชน และในปัจจุบันเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยยังมีไม่ครอบคลุมกับอาคารทุกประเภท จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว สำหรับปัจจัยสาคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย ได้แก่ นโยบายจากภาครัฐต้องมีความชัดเจน มีการสร้างเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้นำองค์กรกับพนักงาน และมีการประชาสัมพันธ์th
dc.description.abstractแนวทางการดำเนินการพัฒนาอาคารเขียวของประเทศไทย ออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะสั้น คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านอาคารเขียว การส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนจัดประชุมพร้อมทั้งจัดให้มีการประกวดอาคารประหยัดพลังงาน และการสนับสนุนด้านสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนระยะกลาง ได้แก่ การสนับสนุนให้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการก่อสร้างอาคารเขียวในภูมิภาคต่าง ๆ ภายในประเทศ และการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์การเกี่ยวกับอาคารเขียวโดยตรง และส่วนระยะยาว ได้แก่ การสนับสนุนนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารเขียว และการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านอาคารเขียวโดยตรง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาอาคารประเภท อื่น ๆ ให้เป็นอาคารเขียวต่อไปth
dc.format.extent265 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb190475th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4433th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มth
dc.subjectอาคารประหยัดพลังงานth
dc.subjectอาคารสีเขียวth
dc.subject.otherการจัดการสิ่งแวดล้อม -- มาตรฐานth
dc.subject.otherอาคาร -- การอนุรักษ์พลังงานth
dc.subject.otherสิ่งแวดล้อม -- การประเมินth
dc.subject.otherอาคารชุด -- แง่สิ่งแวดล้อมth
dc.titleแนวทางสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทยth
dc.title.alternativeGuidelines for the success of green building in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b190475.pdf
Size:
1.83 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections