ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์

dc.contributor.advisorทองใหญ่ อัยยะวรากูลth
dc.contributor.authorศุภาพิชญ์ มณีนาคth
dc.date.accessioned2021-09-06T08:04:40Z
dc.date.available2021-09-06T08:04:40Z
dc.date.issued2019th
dc.date.issuedBE2562th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและการปราบปรามยาเสพติด ที่ส่งผลต่ออาชญากรรมในประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ โดยวางสมมติฐานไว้ใน 2 รูปแบบที่ต่างกัน คือ ยาเสพติดเป็นต้นเหตุของการก่อคดีอาชญากรรม ซึ่งอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์จำนวนมากมีการก่อเหตุโดยผู้เสพยาเสพติด สมมติฐานนี้จึงมองว่า ‘การเสพยาเสพติดก่อให้เกิดอาชญากรรมประทุษร้ายต่อทรัพย์ เนื่องจากผู้เสพกระทำเพื่อหาเงินมาสนองการเสพติดของตน’ อีกสมมติฐานหนึ่ง คือ อิทธิพลของอาชญากรรมยาเสพติดที่มีต่ออาชญากรรมอื่นอาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากทรัพยากรที่ใช้เพื่อบังคับใช้กฎหมายมีไม่เพียงพอ โดยความพยายามในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมหนึ่ง (A) ที่เพิ่มขึ้น จะลดสิ่งกระตุ้นให้ก่ออาชญากรรม (A) นั้นน้อยลงก็จริง แต่จะกระตุ้นให้เกิดการก่ออาชญากรรมอื่น (B) ขึ้นแทน ทำให้เกิดข้อสมมติฐานว่า ‘การบังคับใช้กฎหมายเพื่อการปราบปรามยาเสพติดชักนำให้เกิดอาชญากรรมประทุษร้ายต่อทรัพย์เป็นสิ่งทดแทน เนื่องจากเกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากอาชญากรรมหนึ่งสู่อีกอาชญากรรมหนึ่ง’ ผู้วิจัยได้ใช้แบบจำลอง Economic Model of Crime ในการศึกษาความสัมพันธ์ทางสถิติจะหว่างคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์และตัวกำหนดอาชญากรรมต่าง ๆ ซึ่งแบบจำลองได้ทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีประมาณค่า Two-stage least square (2SLS) โดยรวบรวมข้อมูลภาคตัดขวาง (Panel Data) รายจังหวัด 77 จังหวัดในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2558 จากผลการคาดประมาณสมการตัวกำหนดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ พบส่วนที่สำคัญของงานชิ้นนี้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยพบว่าขนาดตลาดยาเสพติดมีผลทำให้อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์นั้นลดลง ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ในเรื่อง ‘Drugs cause crime’ หรือยาเสพติดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนก่ออาชญากรรม อีกทั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นไปได้ในการจับกุมคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์และการจับกุมกลุ่มคดีผิด พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งการจับกุมกลุ่มคดีผิด พ.ร.บ. ยาเสพติดมีผลทำให้ความเป็นไปได้ในการจับกุมคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์นั้นลดลง ซึ่งพิสูจน์สมมติฐานที่ว่าเมื่อมีการกระจายกำลังตำรวจหรือจัดสรรทรัพยากรใหม่ไปเพื่อการปราบปรามยาเสพติดมากขึ้น ทำให้มีความสนใจและมีการป้องกันและปราบปรามในคดีอื่นๆ ลดน้อยถอยลงไป ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาจากแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า เมื่อมีความเป็นไปได้ในการจับกุมคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้น อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์จะลดลงไปด้วย ทั้งนี้ เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพิ่มขึ้น มีส่วนทำให้อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากความมั่งคั่งของคนในพื้นที่จังหวัดแสดงถึงการที่ประชาชนมีทรัพย์สินสะสมและความเป็นอยู่ที่ดี ย่อมเป็นที่ดึงดูดต่ออาชญากรในการก่อคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ในขณะเดียวกัน เมื่อรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์นั้นลดลง เนื่องจากรายได้ต่อหัวของประชากรถือเป็นต้นทุนเสียโอกาสอย่างหนึ่งของอาชญากรเมื่อเลือกที่จะประกอบอาชญากรรม นอกจากนี้ ยังพบว่าเมื่อสัดส่วนของประชากรชายเพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ลดลงไปด้วยth
dc.description.abstractThe objective of this study is to examine the relationships among drug offenses and the effect of drug enforcement policy of the Thai police department on property crimes in Thailand. Drug crime and drug enforcement may affect property crimes in at least two ways. First, drug use causes property crime because people must rob, burgle, and commit larceny to finance their habit. Second, potential impact of drug crime on other crime rate arises because law enforcement resources are scarce. An increased effort to prevent crime type A, which results in a reallocation of criminal justice system resources, may reduce the incentives to commit crime A, but it can also affect the incentives to commit other crimes (B). It appears that a relatively strong police effort against drug crime induces substitution as some criminal shift to property crime. The Economic Model of Crime was used for testing the relationships between property crime and the determination of economic, social and physical factors on crime rate. I used Two-stage least square (2SLS) method and utilizes panel data during 2006 – 2015 of 77 provinces in Thailand. My results indicate that, drug enforcement policies do appear to cause property crime, and the population of drug offenders is not identical to the population of property criminals, so drug clearly do not lead to crime for all drug offenders. There is a trade-off associated with the allocation of police resources, and the argument that ‘Drugs cause crime’ can be reject. In addition, the offence equation clearly supports the economic theory of crime in that incentives matter. Property crime can be deterred. The probability of arrest have significantly negative impacts in supply of property offences equation. Furthermore, the potential pay-off of property crime, proxied by the gross provincial product per capita, has a significant and positive impact on the property crime rate. The per capita income which reflects more people with high opportunity cost of crime, has negative relation to property crime rate. And we found that the area with higher proportion of men tend to have less property crime.th
dc.format.extent65 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb211014th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5243th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์th
dc.subjectอาชญากรรมยาเสพติดth
dc.subject.otherอาชญากรรมและอาชญากรth
dc.subject.otherยาเสพติดth
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์th
dc.title.alternativeThe relationship between drug crime and property crimeth
dc.typetext--thesis--master thesis
mods.genreThesis
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาการเศรษฐกิจth
thesis.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์ธุรกิจth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b211014.pdf
Size:
2.07 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections