การพัฒนาตัวแบบความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตร กรณีศึกษา มันสำปะหลังในประเทศไทย

dc.contributor.advisorสราวุธ จันทร์สุวรรณth
dc.contributor.authorปารียา ศิริวัฒนพันธ์th
dc.date.accessioned2022-03-16T10:46:57Z
dc.date.available2022-03-16T10:46:57Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการโลจิสติกส์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractยุทธศาสตร์สำคัญ ประการหนึ่งของภาครัฐคือการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหาร จัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภคโดยมุ่งเน้นการ บริหารจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ตัวชี้วัดประสิทธิภาพตามแผนยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาพิจารณาเพียงเรื่องของต้นทุน (Cost) เวลา (Lead Time) และความน่าเชื่อถือ (Reliability) แต่ตัวชี้วัดที่สำคัญอีกตัวหนึ่งคือ ความยืดหยุ่นของโซ่ อุปทาน ซึ่งแสดงถึงความสามารถที่ระบบสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์อันเป็นผลมา จากการเปลี่ยนแปลงของราคาและนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐยังไม่ได้กล่าวถึงมากนักใน ระบบโซ่อุปทานสินค้าเกษตร บทความนี้จึงได้พัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อใช้วัดความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน (Supply Chain Flexibility) โดยนำมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษามันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ ซึ่งการพัฒนาตัวแบบพิจารณาตั้งแต่ส่วนการเพาะปลูก โดยเกษตรกร การแปรรูปจากมันสำปะหลังสดเป็นแป้งมันสำปะหลัง และการขนส่งไปยังท่าเรือ เพื่อการส่งออกโดยตัวแบบที่สร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ตัวแบบคือ ตัวแบบ Deterministic และตัวแบบ Stochastic ซึ่งในแต่ละตัวแบบจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้น โดยขั้นที่1 เป็นตัวแบบสำหรับการหาความสามารถพื้นฐานของโซ่อุปทานที่ทำให้เกิดผลกำไรสูงที่สุด และขั้นที่2 เป็นตัวแบบที่ใช้ ประเมินค่าความยืดหยุ่น ของโซ่อุปทานที่สามารถเพิ่มได้สูงที่สุดจากความสามารถพื้นฐานที่ได้จาก ขั้นที่1 ซึ่งค่าที่ได้จะเป็นความสามารถสำรอง (Reserve Capacity) ของระบบโซ่อุปทาน ทั้งนี้ตัว แบบสามารถเป็นแนวทางให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพของโซ่อุปทาน รวมถึงระบุจุดคอขวดของระบบเพื่อให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงอุปทานและอุปสงค์ในอนาคตได้ อย่างมีประสิทธิภาพth
dc.format.extent116 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2016.151
dc.identifier.otherb192970th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5674th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherสินค้าเกษตรth
dc.subject.otherการบริหารงานโลจิสติกส์th
dc.subject.otherมันสำปะหลังth
dc.titleการพัฒนาตัวแบบความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตร กรณีศึกษา มันสำปะหลังในประเทศไทยth
dc.title.alternativeModeling agricultural supply chain flexibility : a case study of cassava in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะสถิติประยุกต์th
thesis.degree.disciplineการจัดการโลจิสติกส์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b192970.pdf
Size:
4.58 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
Collections