การส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว

dc.contributor.advisorวิชชุดา สร้างเอี่ยม
dc.contributor.authorพรกมล เหล่าสิ้นฟ้า
dc.date.accessioned2023-02-08T03:51:32Z
dc.date.available2023-02-08T03:51:32Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ของชุมชนคลองแสนแสบ และส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการวัดความรู้ และพฤติกรรมของ ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียเบื้องต้น ภายในชุมชนเป้าหมายทั้งหมด 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านเกาะ ชุมชนหมู่ 3 ร่วมใจพัฒนา ชุมชน เปรมฤทัย 1ชุมชนหมู่บ้าน บก. ทหารสูงสุด ชุมชนรามอินทรา 83-85 และชุมชนรามอินทรา 89-91 ผลการวิจัย พบว่า โดยรวมประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนทั้ง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเบื้องต้นในระดับสูง เมื่อ นำมาทดสอบทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ ความรู้มีความรู้แตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลของประชาชนในชุมชนก่อนการจัดกิจกรรมให้ความรู้ มาทดสอบทางสถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนที่มีเพศ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ใน ชุมชน และลักษณะการใช้น้ำที่แตกต่างกันจะมีความรู้ ในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเบื้องต้น แตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลของประชาชนในชุมชนหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้มาทดสอบทาง สถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนที่มีอายุ ลักษณะการใช้น้ำและอาชีพหลัก ที่แตกต่างกันจะมีความรู้ในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเบื้องต้นแตกต่างกันนอกจากนี้ประชาชนในชุมชนทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้มีพฤติกรรมใน การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนในระดับปานกลาง เมื่อนำพฤติกรรมของประชาชนก่อน-หลังการจัด กิจกรรมให้ความรู้ มาทดสอบทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนก่อนและหลังการจัด กิจกรรมให้ความรู้มีพฤติกรรมการป้องกันน้ำเสียในครัวเรือนไม่แตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลของ ประชาชนในชุมชนก่อนการจัดกิจกรรมให้ความรู้มาทดสอบทางสถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนที่มีอายุ การรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร และการเคยร่วมอนุรักษ์ที่แตกต่างกันจะมี พฤติกรรมการป้องกันน้ำเสียในครัวเรือนแตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลพฤติกรรมของประชาชนใน ชุมชนหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้มาทดสอบทางสถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนใน ชุมชนที่มีอายุ อาชีพหลัก สถานภาพในชุมชน ลักษณะการใช้น้ำและการเคยร่วมอนุรักษ์ที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการป้องกันน้ำเสียในครัวเรือนแตกต่างกัน ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว ควรเริ่มที่ผู้นำชุมชนก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการจัดการน้ำเสียภายในครัวเรือนเพิ่มต่อไป และควรมี การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนในชุมชนต้องการติดตาม ดูแลและตรวจสอบ คุณภาพน้ำให้สม่ำเสมอ ความต่อเนื่องของกิจกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีส่วน ร่วมในการจัดการน้ำเสียของครัวเรือนth
dc.format.extent139 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.141
dc.identifier.otherb199286th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6300
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherคลองแสนแสบ (กรุงเทพฯ)th
dc.subject.otherคลอง -- ไทยth
dc.titleการส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาวth
dc.title.alternativeEnhancing knowledge on household wastewater management in Klong Saen Saeb Communities : a case of Khon Rak Klong Community group in Khan Na Yao Distictth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b199286.pdf
Size:
4.12 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections