การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนฐานะทางเศรษฐกิจในประเทศไทย

dc.contributor.advisorนิรมล อริยอาภากมลth
dc.contributor.authorวรชิต รุ่งพรหมประทานth
dc.date.accessioned2019-04-25T04:30:21Z
dc.date.available2019-04-25T04:30:21Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractงานวิจัยเชิงประจักษ์นี้พิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้ ใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ลพบุรี บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ โดยใช้รายได้และรายจ่ายครัวเรือนที่แท้จริงที่ปรับด้วยค่าปรับขนาด (OECD equivalence scale) เป็นตัวชี้วัดฐานะของครัวเรือน งานศึกษานี้ใช้ฐานข้อมูลระดับครัวเรือนแบบตัวอย่างซ้ำเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และสังคม (Townsend Thai Data) จากสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) การศึกษานี้ ได้ทำการศึกษาเขตเมืองและชนบทแยกจากกัน และแบ่งระยะเวลาในการศึกษาเป็นช่วงสั้น 2 ช่วง และช่วงยาว 1 ช่วงเวลา ผู้วิจัยได้คำนวณ Transition Probability Metrix เพื่อแสดงโอกาสในการปรับเปลี่ยนฐานะ และใช้แบบจำลองการถดถอยแบบพหุเชิงซ้อนในการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงฐานะของครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนฐานะค่อนข้างดี ซึ่งในเขตชนบทจะมีการปรับเปลี่ยนฐานะดีกว่าในเขตเมือง อีกทั้งการปรับเปลี่ยนฐานะทางด้านรายจ่ายมากกว่าด้านรายได้ นอกจากนี้ ยังพบปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้ของครัวเรือนให้ดีขึ้น เช่น จำนวนปีการศึกษาของสมาชิกในครัวเรือนผู้ที่มีงานทำ การทำงานนอกภาคการเกษตร จำนวนที่ดินที่ทำการเกษตร ส่วนปัจจัยที่ทำให้รายได้ลดลง เช่น สัดส่วนผู้สูงอายุและสัดส่วนเด็ก เป็นการชี้ให้เห็นว่าครัวเรือนที่มีภาวะการพึ่งพิงที่สูงจะทำให้ครัวเรือนมีรายได้ลดลง ดังนั้นหากเป็นครัวเรือนใหญ่ที่มีเด็กและผู้สูงอายุมากก็จะทำให้ครัวเรือนนั้นมีรายได้ที่ลดลงมาก และสำหรับปัจจัยอื่น ๆ ของหัวหน้าครัวเรือนนั้นแทบจะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้ของครัวเรือน ได้แก่ การที่รัฐบาลเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับสมาชิกครัวเรือนที่อยู่ในวัยเด็กให้เข้าถึงบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพของรัฐโดยเฉพาะครัวเรือนที่ยากจน เพื่อเป็นการสะสมทุนมนุษย์ของแรงงานครัวเรือนในอนาคต ประการต่อมาคือ แม้ผู้สูงอายุจะเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว แต่บางคนยังสามารถทำงานได้ ดังนั้น จึงควรให้สนับสนุนผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยส่งเสริมนโยบายขยายอายุเกษียณ และจัดให้มีการทำงานหลังเกษียณที่เหมาะสม นอกจากนี้ ภาครัฐควรสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรมาช่วยเพิ่มผลิตภาพภาคการผลิต (productivity) ที่เพิ่มสูงขึ้น และให้มีขนาดที่ดินที่เหมาะสมกับการผลิตเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) อีกทั้งภาครัฐควรสนับสนุนการกู้ยืมเงิน รวมถึงการเข้าถึงสถาบันทางการเงินในเขตชนบท เนื่องจากในเขตชนบทมีต้นทุนในการเข้าถึงสถาบันทางการเงินแบบทางการดังนั้นภาครัฐควรมีมาตรการรองรับทางด้านธุรกรรมทางด้านการกู้ยืมเงินให้ครัวเรือนในเขตชนบทเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และประการสุดท้ายภาครัฐควรสนับสนุนการทำงานนอกภาคการเกษตร ทั้งนี้อาจพัฒนาในแต่ละพื้นที่ให้มีความเหมาะสม เช่น การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม มาตรการในการช่วยเหลือหมู่บ้านให้มีสินค้า OTOP และมีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีคุณภาพth
dc.description.abstractThis empirical research examines the factors that influence income mobility in 4 Thai provinces namely, Chachoengsao, Lopburi, Buriram and Sisaket. Household real income and expenditure adjusted by OECD equivalence scale were used as measures of household well-being. The panel data used in this study were Economic and Social Research data (Townsend Thai Data) from Research Institute for Policy Evaluation and Design (RIPED). This research investigated mobility in rural and urban areas separately. Additionally, the periods of interest were divided into two short-run periods and one long run. The Transition Probability Metrices were calculated first to explore mobility for households in each quintile and multivariate OLS estimation technique was employed to study the determinants of mobility of household. The empirical findings suggested a strong convergence of adult equivalent income. Mobility in rural areas was a better than in urban areas. In addition, many of the variables were found to have positive effects on adult equivalent income such as workers’ educational attainment, ratio of non-agricultural household workers, size of household agricultural land. Elderly and children ratios were negatively correlated with mobility. That is to say, households with high dependency levels would have lower adult equivalent income at the end of the studied period.  This research also found that household head characteristics did not have statistically significant effect on mobility. Based on the present study, the policy recommendations are as follows. Firstly, as workers’ education is an important factor for mobility, the government should encourage human capital accumulation by providing access to quality educational services. Secondly, although some elderly are already in retiring age, some of them are still active and healthy. They should be encouraged to participate in appropriate economic activities. The government should promote the use of agricultural technology in order to promote productive agricultural activities. The farm size suitable for production to achieve economies of scale. Government should promote loans and access to formal financial institutions in rural areas. Because rural areas have the cost of access to formal financial institutions, the public sector should make it easier for rural households to access loans. Lastly, the government should promote non-agricultural work. Developments in each area may be appropriate, such as the development of an economic corridor, development of industrial estate, measures to help the village to OTOP products and more tourist attractions in the community quality. th
dc.format.extent150 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb204521th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4381th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectรายได้ปรับขนาดth
dc.subjectค่าปรับขนาดth
dc.subjectการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้th
dc.subject.otherไทย -- ภาวะเศรษฐกิจth
dc.titleการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนฐานะทางเศรษฐกิจในประเทศไทยth
dc.title.alternativeDeterminants of economic mobility in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesis
mods.genreThesis
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์ธุรกิจth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b204521e.pdf
Size:
6.2 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections