แนวทางการพัฒนาองค์การประเภทธุรกิจธนาคารสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 

dc.contributor.advisorวิชัย อุตสาหจิตth
dc.contributor.authorพรฑิตา อังกินันทน์th
dc.date.accessioned2018-07-19T03:41:15Z
dc.date.available2018-07-19T03:41:15Z
dc.date.issued2017th
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สู่องค์การแห่งการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 379 คน  โดยใช้แบบสอบถามการวัดระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการศึกษาโดยวิธีการเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ จำนวน 6 ท่าน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า องค์ประกอบด้านกระบวนการและการดำเนินการการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมสูงที่สุด รองมาคือ องค์ประกอบด้านพฤติกรรมของผู้นำที่กระตุ้นการเรียนรู้ และองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามลำดับ  2) ปัจจัยที่สนับสนุนต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนทเศ ปัจจัยด้านการพัฒนาบุคคลและทีมงาน ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การ และปัจจัยด้านการจูงใจ 3) แนวทางในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 10 แนวทาง คือ 1.สร้างวิสัยทัศน์ร่วม 2.กำหนดกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากร 3.ออกแบบโครงสร้างองค์การแบบราบ 4.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยในการปฏิบัติงาน 5.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ 6.สร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 7.ให้โอกาสและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนได้พัฒนาตนเอง 8.ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 9.กระตุ้นและสนับสนุนให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ และ 10.ให้อำนาจในการตัดสินใจth
dc.description.abstractThe research aimed to: 1) study the level of being a learning organization,2) study the factors that support the learning organization, and 3) suggest the development approaches to become the learning organization for Bangkok Bank Public Company Limited. This study utilized mixed methods approach which were a quantitative methodology and a qualitative methodology. In the quantitative methodology, the samples were 379 personnel of Bangkok Bank public company limited. The data collecting instrument was the level of learning organization questionnaire and the data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation. In the qualitative methodology, the samples were 6 executive managers of the organization. The data collecting instrument was a semi-structured interview and the data were analyzed by using the content analysis. The findings were: 1) the overall level of being the learning organization of Bangkok Bank Public Company Limited and its parts were at a moderate level. The element of concrete learning processes and practices was the highest following by the element of leadership that reinforcing learning, and the element of supportive learning development, 2) six factors that supported the learning organization of Bangkok Bank Public Company Limited, included the followings: vision and strategy, organizational structure, information technology, individual and team development, organizational culture and atmosphere, and motivation, and 3) ten approaches to develop Bangkok Bank Public Company Limited to become the learning organization included the followings:  (1) creating a shared vision, (2) determining strategy that promoted personnel learning, (3) designing the organizational structure toward flat organization, (4) developing information technology system to facilitate working, (5) developing information technology system to facilitate learning, (6) creating organizational culture and atmosphere to facilitate learning, (7) giving the chance and supporting personnel for individual development, (8) supporting team learning, (9) stimulating and supporting the personnel learning, and (10) empowering people in making decisions.th
dc.format.extent176 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.157
dc.identifier.otherb201151th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3790th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectธนาคารกรุงเทพth
dc.subject.otherองค์การแห่งการเรียนรู้th
dc.titleแนวทางการพัฒนาองค์การประเภทธุรกิจธนาคารสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) th
dc.title.alternativeApproach to developing a banking business organization to become a learning organization : A case study of Bangkok Bank Public Company Limitedth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์th
thesis.degree.disciplineการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b201151e.pdf
Size:
2.62 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections