สำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดองค์การและหน้าที่ความรับผิดชอบ

dc.contributor.advisorประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorประจักษ์จิตต์ อภิวาทth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:40Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:40Z
dc.date.issued1981th
dc.date.issuedBE2524th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2524.th
dc.description.abstractปัญหาสำคัญในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ก็คือปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและเอกภาพในการบริหาร ผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมอำนาจของการบริหารราชการได้อย่างแท้จริง การบริหารงานยังขาดการประสานงาน ทั้งนี้เป็นด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่มีอำนาจในการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยราชการต่าง ๆ ในจังหวัดได้อย่างเต็มที่ ก็มีผลทำให้ไม่สามารถประสานนโยบายและคำสั่งจากส่วนกลางกับการปฏิบัติงานของหน่วยราชการในจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นไปตามแผนและโครงการต่าง ๆ ได้อย่างสอดคล้องต้องกัน ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นปัญหาสำคัญของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในปัจจุบันth
dc.description.abstractอย่างไรก็ตามแม้จะได้มีการปรับปรุงอำนาจในการบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังมิได้เป็นการแก้ปัญหาในการบริหารตามที่ได้กล่าวข้างต้นได้มากนัก จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่าง ๆ แต่เดิมมายังขาดความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกันอยู่เนือง ๆ เป็นเหตุให้ประชาชนยังมิได้รับบริการจากรัฐในลักษณะของความพึงพอใจอย่างแท้จริง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาลยังขาดแผนและโครงการ ตลอดจนการควบคุมและการประสานงานที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคth
dc.description.abstractความพยายามที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นปรากฏออกมาในรูปการจัดตั้งสำนักงานจังหวัด โดยเป็นหน่วยงานหนึ่งสังกัดขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานวางแผนของจังหวัด เป็นผู้ประสานแผนและโครงการ ตลอดจนการปฏิบัติงานของหน่วยราชการในส่วนภูมิภาค นอกจากนั้นการจัดตั้งสำนักงานจังหวัดยังมุ่งหมายให้เป็นหน่วยงานในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ รวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ เพื่อประโชน์ในการปรับแผนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตลอดจนการกำหนดแผนในช่วงระยะเวลาต่อไป และยิ่งกว่านั้นยังต้องการให้เป็นหน่วยงานในการช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดตัดสินใจ ด้วยการเสนอข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งทางเลือกให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งการอีกด้วย.th
dc.description.abstractเมื่อจัดตั้งสำนักงานจังหวัดขึ้นมาแล้ว ปรากฏว่าสำนักงานจังหวัดไม่สามารถปฏิบัติงานให้บรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากพฤติกรรมทางการบริหารในลักษณะต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างปัญหาให้แก่ราชการบริหารส่วนภูมิภาคอีกหลายด้าน ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากปัญหาต่าง ๆ เช่น การกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานจังหวัดอย่างไม่ชัดเจน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมา ระบบการบริหารงานบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยที่จะทำให้การดำเนินงานของสำนักงานจังหวัดมีประสิทธิภาพยังไม่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาในการบริหารงานของสำนักงานจังหวัดให้มีสัมฤทธิผลในการบริหารราชการโดยสรุป ดังนี้th
dc.description.abstract1. ให้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานจังหวัดให้เหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานของจังหวัดและเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาช่วยเหลือการตัดสินใจของผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างแท้จริง.th
dc.description.abstract2. ให้มีการปรับปรุงการจัดองค์การภายในสำนักงานจังหวัดเสียให้เหมาะสมเกื้อกูลกับภาระหน้าที่ในความรับผิดชอบเฉพาะอย่าง โครงสร้างขององค์การที่จะรับกับหน้าที่ความรับผิดชอบตามข้อ 1.th
dc.description.abstract3. ให้มีการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานจังหวัด ให้ข้าราชการในสำนักงานจังหวัดมีโอกาสก้าวหน้าหรือมีเกียรติภูมิพอที่จะให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถสูงมาปฏิบัติงานมากขึ้น รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ให้มีความรู้ความสามารถโดยตรงในหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านการวางแผนหรือปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับแผนตรงตามหน้าที่ความรับผิดชอบและก่อให้เกิดความเชื่อถือแก่หน่วยราชการต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคอย่างแท้จริง.th
dc.description.abstract4. ให้มีการสนับสนุนด้านปัจจัยในการบริหาร เช่น คน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ให้สำนักงานจังหวัดมีความคล่องตัวเพียงพอที่จะปฏิบัติงานในด้านการวางแผน ควบคุม ตลอดจนการประสานงานตามแผนหรือโครงการของจังหวัดได้อย่างแท้จริง.th
dc.description.abstractแนวทางแก้ไขดังกล่าวจะช่วยให้สำนักงานจังหวัดปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การบริหารราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดได้ดียิ่ง และจะทำให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาคสามารถปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความสุขสมบูรณ์และความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติในส่วนรวมสืบไป.th
dc.format.extent273 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1183th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccJS 7403 .A8 ป17th
dc.subject.otherสำนักงานจังหวัดth
dc.subject.otherการบริหารรัฐกิจ ส่วนภูมิภาคth
dc.titleสำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดองค์การและหน้าที่ความรับผิดชอบth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b9974.pdf
Size:
7.55 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections