ขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

dc.contributor.advisorไพบูลย์ ช่างเรียน, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorวิรัช วิรัชนิภาวรรณth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:15:38Z
dc.date.available2014-05-05T09:15:38Z
dc.date.issued1991th
dc.date.issuedBE2534th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ให้ความสนใจอย่างยิ่งกับการศึกษาถึงความคิดเห็นของกรรมการสภาตำบลและทัศนคติของประชาชนต่อขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาถึงความคิดเห็นของคณะกรรมการสภาตำบล และทัศนคติประชาชนต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ITERMS กับ N ในฐานะที่ ITERMS,N เป็นตัวแบบหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพิจารณาถึงขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลได้โดย ITERMS ซึ่งประกอบขึ้นด้วยข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี ฐานะทางการเงินของสภาตำบล ทรัพยากร การเสียสละเพื่อส่วนรวมของกรรมการสภาตำบล รวมทั้งกลุ่มทางสังคมและการเมืองในท้องถิ่น ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่มีผลต่อขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบล หรือเป็นกลุ่มตัวแปรอิสระ ส่วน N เป็นขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบล หรือเป็นตัวแปรตาม ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดปัญหาและความต้องการของชาวบ้าน การตัดสินใจ การวางแผน การจัดองค์การ การคลังท้องถิ่น การประสานงาน การควบคุม และการประเมินผล นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ ยังรวมไปถึงการเสนอแนวทางที่เหมาะสมสำหรับปรับปรุงการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นด้วย.th
dc.description.abstractตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กรรมการสภาตำบลและประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนและผู้นำกลุ่ม ซึ่งสุ่มตัวอย่างได้จาก 81 ตำบล 27 อำเภอ 9 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้ตัวอย่างจำนวน 854 คน ซึ่งเท่ากับร้อยละ 81.1 ของตัวอย่างทั้งหมด (1,053 คน) ส่วนการรวบรวมข้อมูลสนามใช้วิธีสัมภาษณ์รายบุคคลด้วยแบบสอบถามในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2534 การประมวลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS สำหรับสถิติที่ใช้คือ ความแตกต่างของร้อยละ Chi-square และ Multiple regression.th
dc.description.abstractผลการศึกษาพบว่า ตามความคิดเห็นของกรรมการสภาตำบลนั้นปัจจัยที่มีผลต่อขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบล อันได้แก่ (1) เทคโนโลยี (2) ฐานะทางการเงินของสภาตำบล (3) ทรัพยากร (4) การเสียสละเพื่อส่วนรวมของกรรมการสภาตำบล ตลอดจน (5) กลุ่มทางสังคมและการเมืองในท้องถิ่น ยกเว้นข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกหรือมีส่วนช่วยส่งเสริมให้การบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลมีขีดความสามารถสูงขึ้น และเมื่อเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัยดังกล่าวแต่ละตัวที่มีต่อขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบล โดยใช้ Multiple regression พบว่าทรัพยากรมีส่วนช่วยส่งเสริมให้การบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลมีขีดความสามารถสูงขึ้นมากที่สุด รองลงมาตามลำดับคือ ฐานะทางการเงินของสภาตำบล กลุ่มทางสังคมและการเมืองในท้องถิ่น เทคโนโลยี การเสียสละเพื่อส่วนรวมของกรรมการสภาตำบล และข้อมูลข่าวสาร สำหรับแนวทางที่จะช่วยให้การบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลมีขีดความสามารถสูงขึ้นนั้น พบว่าควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับฐานะทางการเงินของสภาตำบลควบคู่ไปกับทรัพยากร.th
dc.description.abstractส่วนผลการศึกษาถึงทัศนคติของประชาชนปรากฎว่า ปัจจัยที่มีผลต่อขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลทุกตัวล้วนมีความสัมพันธ์ทางบวกหรือมีส่วนช่วยส่งเสริมให้การบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลมีขีดความสามารถสูงขึ้น และเมื่อเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัยดังกล่าวแต่ละตัวที่มีต่อขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลก็พบว่าข้อมูลข่าวสารมีส่วนช่วยส่งเสริมให้การบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลมีขีดความสามารถสูงขึ้นมากที่สุด รองลงมาตามลำดับคือฐานะทางการเงินของสภาตำบล กลุ่มทางสังคมและการเมืองในท้องถิ่น การเสียสละเพื่อส่วนรวมของกรรมการสภาตำบล เทคโนโลยี และทรัพยากร ส่วนแนวทางที่จะช่วยให้การบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลมีขีดความสามารถสูงขึ้นนั้น พบว่าควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับข้อมูลข่าวสาร ฐานะทางการเงินของสภาตำบล กลุ่มทางสังคมและการเมืองในท้องถิ่น พร้อมทั้งการเสียสละเพื่อส่วนรวมของกรรมการสภาตำบลth
dc.description.abstractเมื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของกรรมการสภาตำบลกับทัศนคติของประชาชน ทำให้พอที่จะกล่าวได้ว่า ทั้งกรรมการสภาตำบลและประชาชนส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่ายอมรับตัวแบบ ITERMS,N ในฐานะที่เป็นตัวแบบหนึ่งซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพิจารณาถึงขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลได้ ในเวลาเดียวกันยังพบว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่ที่มีต่อ ITERMS,N เป็นไปในทำนองเดียวกันมีแตกต่างกันไม่มาก เฉพาะที่สำคัญคือเรื่องข้อมูลข่าวสาร.th
dc.description.abstractสำหรับข้อเสนอแนะนั้น ผู้ศึกษาได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือข้อเสนอแนะในแง่ของเนื้อหา และในแง่ของระเบียบวิธีวิจัย ในแง่ของเนื้อหาผู้ศึกษาได้เสนอแนะโดยยึดถือผลการศึกษาวิจัยที่ได้จากกรรมการสภาตำบลเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะกรรมการสภาตำบลเป็นผู้ปฏิบัติงานพัฒนาในสภาตำบลอยู่โดยตรง ขณะที่ประชาชนเป็นผู้ที่เฝ้ามองการปฏิบัติงานของสภาตำบลอยู่ภายนอก โดยเสนอแนะให้ภาครัฐและ/หรือภาคเอกชนนำตัวแบบ ITERMS,N ไปประยุกต์ใช้สำหรับพิจารณาถึงขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบล และไม่ควรให้ความสำคัญกับ ITERMS ทุกปัจจัยอย่างเท่าเทียมกัน แต่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับฐานะทางการเงินของสภาตำบล ซึ่งหมายถึงรายได้จากงบประมาณ เงินสนับสนุน และรายได้ของตำบลเอง ควบคู่ไปกับทรัพยากร ซึ่งหมายถึงความรู้ความสามารถของกรรมการสภาตำบล อันเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกรรมการสภาตำบลและประชาชนทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป ส่วนข้อเสนอแนะในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยที่สำคัญนั้น ผู้ศึกษาได้เสนอให้ปรับปรุงข้อคำถามเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ใช้สัมภาษณ์กรรมการสภาตำบลโดยให้ข้อคำถามครอบคลุมข้อมูลข่าวสารชนิดที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมกันนั้น ผู้ถูกสัมภาษณ์ที่เป็นประชาชนน่าจะเป็นผู้รู้เรื่องเกี่ยวกับสภาตำบลและโครงการสร้างงานในชนบทอย่างแท้จริง รวมทั้งไม่ควรถามชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วย.th
dc.description.abstractท้ายที่สุด ผลการศึกษาได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในทางวิชาการและทางปฏิบัติ ในทางวิชาการเป็นการยืนยันการใช้แนวความคิด หรือตัวแบบ ITERMS,N ซึ่งมีอยู่เดิมแล้วว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในทางปฏิบัติซึ่งเกี่ยวเนื่องกับทางวิชาการนั้น ผลการศึกษาได้ช่วยเสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อการปรับปรุงหรือพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลโดยเสนอให้ภาครัฐและ/หรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องนำตัวแบบ ITERMS,N ไปประยุกต์ใช้ โดยควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับฐานะทางการเงินของสภาตำบลควบคู่ไปกับทรัพยากรดังกล่าวแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการสนับสนุนความต้องการของกรรมการสภาตำบลที่แสดงออกผ่านทางการศึกษาครั้งนี้ อันจะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติงานพัฒนาของสภาตำบลมีขีดความสามารถสูงขึ้น พร้อมทั้งมีส่วนช่วยทำให้สภาตำบลเป็นหน่วยงานเพื่อการพัฒนาชนบทในระดับตำบลอย่างแท้จริงต่อไป.th
dc.format.extent29, 305 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1991.6
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/915th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccJS 7403 .A8 ว37th
dc.subject.otherสภาตำบลth
dc.subject.otherการบริหารการพัฒนาth
dc.titleขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือth
dc.title.alternativeThe development administration capacities of Tambon Council in the Northeast of Thailandth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-diss-b2305.pdf
Size:
4.59 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text