กลวิธีการเล่าเรื่องของบทเพลงประกอบละครในละครโทรทัศน์ไทย

dc.contributor.advisorอุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
dc.contributor.authorอุษา แซ่จิว
dc.date.accessioned2023-01-13T08:25:32Z
dc.date.available2023-01-13T08:25:32Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงกลวิธีการเล่าเรื่องของบทเพลงประกอบละคร รวมถึง บทบาทและหน้าที่จากกลวิธีการเล่าเรื่องของเพลงประกอบละครที่ถูกนำไปใช้ในละครโทรทัศน์ไทย ปัจจุบัน โดยพิจารณาเฉพาะละครยอดเยี่ยมที่ได้รับรางวัลนาฏราช ตั้งแต่ ปี 2557-2558 ได้แก่ ละครสามีตีตรา และละครสุดแค้นแสนรัก ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 6 เพลง ได้แก่ ฉันก็รักของฉัน ไม่เจ็บ อย่างฉันใครจะเข้าใจ เกิดมาเพื่อรักเธอ จากละครสามีตีตรา และเจ็บนี้จำจนตาย แพ้รักให้ตายก็ ไม่รักกัน จากละครสุดแค้นแสนรัก งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาจากการ วิเคราะห์ตัวบท ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสาขาวิชาชีพ และนักวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาข้อที่หนึ่ง พบว่าการเล่าเรื่องของเพลงละครส่วนใหญ่เป็นการสื่อสาร ทางเดียว ที่มุ่งบอกความต้องการส่วนบุคคล แต่เพลงฉันก็รักของฉัน นำเสนอผ่านตัวละครหลัก สองคนที่ตอบโต้กัน จึงทำให้อารมณ์เพลงมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ขั้นวิกฤตของ เพลงนี้ครอบคลุมตั้งแต่ท่อนฮุคข้ามไปยังท่อนเชื่อม ซึ่งโดยปกติแล้วเพลงอื่นจะหยุดขั้นภาวะวิกฤต ไว้ที่ท่อนฮุค และละครชีวิตทั้งสองเรื่องพบว่าทุกเพลงนำเสนอแก่นความรักที่เป็นขั้วขัดแย้ง สอดคล้องกับอารมณ์เพลงที่มาจากพื้นฐานของละคร การใช้สัญญะมีหน้าที่เล่าข้อมูลที่ลึกลงไปใน จิตใจของตัวละครอันสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติ ค่านิยม รวมถึงภูมิหลังตัวละครหรือค้นพบข้อที่สอง พบว่าบทบาทและหน้าที่ของเพลงประกอบละครในปัจจุบัน นอกจาก เพลงประกอบละครที่ดีต้องส่งเสริมอารมณ์ตัวละครแล้ว ยังต้องเป็นเพลงที่ดี กล่าวคือ เป็นเพลง ที่ให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมไปกับเพลงนั้น ๆ ได้ด้วย โดยละครสองเรื่องนี้มีการนำเสนออารมณ์ของ เพลงเหมือนกัน ประกอบไปด้วยหนึ่งเพลงประกอบละครหลักที่นำเสนอแก่นสำคัญ และต้องเป็นมุมมองของตัวละครหลักที่เป็นต้นเหตุสำคัญของเรื่องทั้งหมด ตามด้วยเพลงประกอบละครอีกสอง เพลงที่สะท้อนมุมมองตัวละครหลักฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง โดยหยิบเฉพาะฉากเวลาที่เกิดขั้ว ขัดแย้งมาเล่าเรื่องในเพลง โดยสัญญะที่พบคือการเลือกเสียงประสานที่มีทั้งความหมายทางตรง ที่เห็นได้จากภายนอก เพศสภาพ ช่วงอายุ และความหมายโดยนัยจากการสื่ออารมณ์ การตีความ ผู้ถ่ายทอดทั้งสองต้องมีความเชื่อในระดับเดียวกันเพื่อสื่อสารออกมาในทิศทางเดียว แต่ต่างกันแค่ บริบทในการเล่าเรื่องของเพลงประกอบละครและละครโทรทัศน์th
dc.format.extent168 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.101
dc.identifier.otherb199264th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6151
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherดนตรีประกอบการแสดงth
dc.subject.otherละครโทรทัศน์th
dc.subject.otherละคร -- ไทย -- การผลิตและการกำกับรายการth
dc.titleกลวิธีการเล่าเรื่องของบทเพลงประกอบละครในละครโทรทัศน์ไทยth
dc.title.alternativeThe storytelling of original soundtrack in Thai television seriesth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b199264.pdf
Size:
2.81 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections