สัมฤทธิผลของโครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

dc.contributor.advisorวิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorสมพันธ์ เตชะอธิกth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:19Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:19Z
dc.date.issued1992th
dc.date.issuedBE2535th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2535.th
dc.description.abstractปัญหาการลดลงของทรัพยากรป่าไม่มีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปัญหาการขาดที่ดินทำกินของราษฎร ความเชื่อที่ว่าราษฎรเป็นผู้บุกรุกป่าและตั้งบ้านเรือนจนเกิดเป็นชุมชนขึ้น จึงต้องแก้ไขโดยการอพยพโยกย้ายราษฎรออกจากป่า เป็นที่มาอันสำคัญของโครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือชื่อย่อว่า "คจก." ซึ่งได้เริ่มดำเนินการในต้นปี 2534 และยุติโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2535 โดยมีสาเหตุที่สำคัญ จากการคัดค้านของราษฎรจำนวนมากที่ได้รับความเดือนร้อนจากโครงการนี้ แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดในการอพยพราษฎรออกจากป่าก็ยังคงดำรงอยู่th
dc.description.abstractการศึกษาเพื่อประเมินสัมฤทธิผลของโครงการนี้จึงเป็นการสรุปคุณค่าของโครงการอีกครั้งหนึ่ง ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาจาก 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านคลองเจริญ อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น และหมู่บ้านโนนสวรรค์ อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ มีครัวเรือนตัวอย่าง 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.8 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดth
dc.description.abstractเกณฑ์วัดสัมฤทธิผลของโครงการมี 4 ตัวชี้วัด คือth
dc.description.abstract1. ความพอใจของประชาชนในเขตอพยพต่อการดำเนินงานตามแผนของโครงการ.th
dc.description.abstract2. คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตอพยพตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)th
dc.description.abstract3. ความพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โครงการ.th
dc.description.abstract4. ผลกระทบจากโครงการ.th
dc.description.abstractผลการศึกษา พบว่า สัมฤทธิผลโดยส่วนรวมของโครงการอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โครงการ ประชาชนไม่พอใจถึงร้อยละ 100 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ใช้ความรุนแรง ข่มขู่และหลอกลวงชาวบ้านth
dc.description.abstractผลกระทบด้านภาววิสัยจากโครงการส่วนใหญ่เป็นผลกระทบทางลบ เช่น ชาวบ้านยากจนลง ขาดรายได้ มีหนี้สิน รายจ่ายเพิ่มขึ้น จำนวนที่ดินลดลง ผลผลิตเสียหาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพป่าไม้ ที่ดิน และแหล่งน้ำไม่เหมาะสมและไม่เอื้ออำนวยแก่การดำรงชีวิตth
dc.description.abstractในด้านอัตตวิสัยก็เกิดผลกระทบทางลบทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ครอบครัวต้องแยกกันอยู่ร้อยละ 29.2 เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านที่ถูกอพยพกับทหารและเจ้าหน้าที่โครงการและระหว่างชาวบ้านที่อพยพกับชาวบ้านเจ้าของที่ดินเดิม ตลอดจนชาวบ้านที่อพยพมาด้วยกันเองที่มีความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่ยอมรับการอพยพโยกย้ายกับฝ่ายที่คัดค้านth
dc.description.abstractในด้านการดำเนินงานตามแผนโครงการ ดูเหมือนจะมีความสำเร็จระดับปานกลาง คือ ร้อยละ 56 ของชาวบ้าน มีความพอใจในด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในเรื่องการจัดที่ดินทำกินไม่ประสบผลสำเร็จ เรื่องนี้จึงเชื่อมโยงไปถึงคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ จปฐ. ถึงแม้จะเข้าเกณฑ์ จปฐ. ร้อยละ 50 แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่า คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดีหรือปานกลาง เพราะแท้ที่จริงแล้วชาวบ้านประสบความทุกข์ยากกว่าเดิมมาก จากการไม่มีที่ดินทำกินและจากผลกระทบอื่น ๆ.th
dc.description.abstractโดยสรุป จึงน่าจะกล่าวได้ว่า คจก. ไม่สัมฤทธิผลหรือมีสัมฤทธิผลน้อยในทุกตัวชี้วัด การยกเลิก คจก. ของรัฐบาลก็เป็นสิ่งสะท้อนผลการประเมินความล้มเหลวของโครงการได้อีกทางหนึ่งด้วย.th
dc.description.abstractดังนั้น ในด้านแนวคิด รัฐบาลจึงควรยอมรับแนวความคิดที่ว่าคนสามารถอยู่ร่วมกับป่ามากกว่าที่แยกคนออกจากป่า และไม่ควรยึดแนวคิด "รัฐได้ป่า ประชาได้ที่" เพราะแท้ที่จริงชาวบ้านมีศักยภาพในการอนุรักษ์ป่าไม้ดีกว่ารัฐth
dc.description.abstractในระดับนโยบาย ควรให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดที่ดินและอนุรักษ์ป่าควบคู่กันไป ไม่ควรกำหนดแนวเขตป่าอนุรักษ์ที่มีชุมชนอยู่แล้วและไม่ใช่เขตต้นน้ำ ไม่มีพันธุ์สัตว์ป่าให้เป็นป่าอนุรักษ์ รัฐควรส่งเสริมการสร้างสำนึกในการรักษาป่า ให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งควรมีพระราชบัญญัติป่าชุมชนโดยด่วนth
dc.description.abstractในระดับปฏิบัติมี 3 กรณีคือ กรณีที่ไม่ต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้าน ควรให้สิทธิในที่ดินจำนวนเท่าเดิม นั่นคือ ยอมรับสิทธิในที่ดินและให้ชาวบ้านร่วมดูแลป่าได้ในพื้นที่เดิมth
dc.description.abstractกรณีที่ไม่ต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้าน แต่หากให้สิทธิในที่ดินจำนวนน้อยกว่าเดิม ควรให้เหลือไม่น้อยกว่าครอบครัวละ 25 ไร่ สำหรับผู้มีที่ดินเกิน 25 ไร่อยู่ก่อนแล้ว และจัดที่ดินร้อยละ 10 สำหรับป่าอนุรักษ์หรือป่าชุมชนหรือจัดสรรให้กับผู้ยากไร้th
dc.description.abstractและกรณีที่ต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้าน ควรให้สิทธิในที่ดินจำนวนน้อยกว่าเดิม มีหลายประการ คือth
dc.description.abstract-พื้นที่รองรับและชาวบ้าน ควรมีความพร้อมก่อนการอพยพโยกย้าย.th
dc.description.abstract-การจัดที่ดินทำกิน ควรให้ผู้อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านที่ต้องอพยพได้รับสิทธิทำกินจนครบก่อนth
dc.description.abstract-พื้นที่ทำกินควรเพาะปลูกได้จริง และเพียงพออย่างน้อย 25 ไร่ และมีที่ปลูกบ้าน 2 งาน โดยรัฐควรพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูกและส่งเสริมการเกษตร.th
dc.format.extent16, 246 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1992.5
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1783th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการจัดสรรที่ดินth
dc.subjectที่ดินเพื่อการเกษตรth
dc.subjectป่าสงวนth
dc.subjectนโยบายป่าไม้th
dc.subjectโครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมth
dc.subject.lccHD 1333 .T52N62 ส16th
dc.subject.otherการถือครองที่ดิน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)th
dc.titleสัมฤทธิผลของโครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือth
dc.title.alternativeAn achievement of the Agricultural Land Arrangement for the Poor in the Deteriorated Reserve Forest in the Northeastern Thailand Projectth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์และวางแผนสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b4888.pdf
Size:
3.6 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections