ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

dc.contributor.advisorดุจเดือน พันธุมนาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorศรัณย์ พิมพ์ทองth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:18:23Z
dc.date.available2014-05-05T09:18:23Z
dc.date.issued2011th
dc.date.issuedBE2554th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011th
dc.description.abstractอย่างเหมาะสม และวิถี ชีวิตแบบพุทธ และทำนายได้สูงสุดในกลุ่มชายที่รายได้สูง ได้ 53.4% และ 2) พฤติกรรมป้องกัน โรคเอดส์ขณะมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มรวมได้46.5% โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญเรียงจากมาก ไปน้อย คือ ความเชื่อในประสิทธิผลแห่งตนต่อการป้องกันโรคเอดส์ ทัศนคติต่อพฤติกรรม ป้องกันโรคเอดส์ การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม การรับรู้การมีอยู่และความ สะดวกในการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันโรคเอดส์ และสุขภาพจิต และทำนายได้สูงสุดในกลุ่มชายที่ ทำอาชีพอิสระหรือธุรกิจส่วนตัว ได้ 58.1% ประการที่ห้า ผลจากการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้นปรากฏว่า พฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ ปัจจัยแรกการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้1) ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์2) ความเชื่อในประสิทธิผลแห่งตน ต่อการป้องกันโรคเอดส์3) การได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคเอดส์4) สุขภาพจิต 5) การได้รับ อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม และ 6) วิถีชีวิตแบบพุทธ โดยตัวแปรเชิงเหตุในโมเดล สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ได้ 43% ปัจจัยที่สอง พฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ขณะมีเพศสัมพันธ์ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิง เหตุ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้1) ความเชื่อในประสิทธิผลแห่งตนต่อการป้องกันโรคเอดส์ 2) ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์3) การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม 4) การรับรู้การมีอยู่และความสะดวกในการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันโรคเอดส์และ 5) สุขภาพจิต โดยตัวแปรเชิงเหตุในโมเดล สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ ขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ 46% และพบด้วยว่า การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ขณะมีเพศสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (r = .22, p < .01) ประการที่หก ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนา ได้แก่ 1) ชายที่มีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์น้อย ประกอบด้วย ชายที่อายุมาก ชายที่เที่ยวกลางคืนทุกเดือน ชายที่เที่ยวกลางคืนมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน และชายที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ โดย มีปัจจัยปกป้องที่สำคัญ คือ ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ความเชื่อในประสิทธิผลแห่งตนต่อการป้องกันโรคเอดส์สุขภาพจิต และการได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคเอดส์และ 2) ชายที่ มีพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ขณะมีเพศสัมพันธ์น้อย ประกอบด้วย ชายที่ไม่โสด ชายที่มีรายได้ต่ำและชายที่ไม่เคยตรวจเอชไอวี โดยมีปัจจัยปกป้องที่สำคัญ คือ ความเชื่อในประสิทธิผลแห่ง ตนต่อการป้องกันโรคเอดส์ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์และการได้รับอิทธิพลจาก กลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม จากผลการวิจัย ทำให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อต่อยอดการวิจัยได้ ดังนี้ 1) สามารถนำผลการวิจัยเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างชุดฝึกอบรม เพื่อพัฒนาให้เกิดพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ที่เหมาะสม จากนั้นจึงดำเนินการทำการวิจัยเชิงทดลองประเมินผลชุดฝึกอบรมเหล่านี้ ต่อไป 2) ควรเพิ่มเติมตัวแปรอื่นในงานวิจัยชิ้นต่อ ๆ ไป เช่น รูปแบบความสัมพันธ์และลักษณะของคู่รักหรือเพื่อนสนิท 3) ศึกษากลุ่มตัวอย่างในพื้นที่อื่นซึ่งมีอัตราความชุกของการติดเชื้อเอช ไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายสูง นอกเหนือไปจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 4) เสริมผลการศึกษาที่ได้จากการวิจัยด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพในกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญ เพื่อให้สามารถ ตอบคำถามการวิจัย ให้มีความครอบคลุมและละเอียดมากยิ่งขึ้นth
dc.format.extent380 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2011.61
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1195th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccRA 644 .A25 ศ17ป 2011th
dc.subject.otherโรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุมth
dc.subject.otherบุรุษ -- พฤติกรรมทางเพศth
dc.subject.otherรักร่วมเพศชายth
dc.titleปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายth
dc.title.alternativePsycho-social factors correlated with HIV/AIDS preventive behavior in men who have sex with menth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-diss-b171652.pdf
Size:
26.99 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text