การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรณีที่มีการย้ายถิ่นที่อยู่ของคนในชุมชน

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorรัฐชัย สุขรุ่งเรืองรองth
dc.date.accessioned2022-02-28T07:46:35Z
dc.date.available2022-02-28T07:46:35Z
dc.date.issued2021th
dc.date.issuedBE2564th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมุ่งเน้นให้ความคุ้มครองสิทธิชุมชนในการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร่วมกันของบุคคลผู้อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นสำคัญ แต่กฎหมายที่ใช้คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันของไทยซึ่งอนุวัติการตามความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า หรือความตกลงทริปส์นั้นมีหลักเกณฑ์ห้ามมิให้ใช้คำว่า “ชนิด” “ประเภท” “แบบ” หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เฉพาะสินค้าเพียงสี่ประเภท คือ ข้าว ไหม ไวน์ และสุรา เท่านั้น ทำให้อาจเกิดปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภคจากการใช้ช่องว่างทางกฎหมายดังกล่าว และยังอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชนในทางเสียหายด้านชื่อเสียงของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายจากการใช้คำประกอบในกรณีที่มีการย้ายถิ่นที่อยู่ของคนในชุมชน หรือกรณีที่มีบุคคลภายนอกชุมชนแอบอ้างใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นคำประกอบกับสินค้าของตน ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนหลงผิดในแหล่งที่มา และคุณภาพของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ งานวิจัยนี้จึงได้มุ่งศึกษาถึงการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายที่ใช้บังคับภายในประเทศ ทำให้ทราบว่ากฎหมายแต่ละฉบับมีความแตกต่างกันในด้านเจตนารมณ์ของการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งหากนำหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากกฎหมายแต่ละฉบับมาปรับใช้ในการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ก็จะช่วยป้องกันปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภค และปัญหาการสับสนหลงผิดในแหล่งที่มา และคุณภาพที่จริงในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คำว่า “ชนิด” “ประเภท” “แบบ” หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การใช้คำประกอบในประเด็นดังกล่าวก็จะช่วยให้ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี จากผลการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 กฎกระทรวงข้อที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และความตกลงทริปส์ทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1) ควรเพิ่มหลักเกณฑ์ในการแบ่งประเภทสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามประเภทของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในกฎกระทรวง ประการที่ 2) ควรเพิ่มหลักเกณฑ์วิธีการยื่นคำขออนุญาตใช้คำว่า “ชนิด” “ประเภท” “แบบ” หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในกฎกระทรวง ประการที่ 3) ควรเพิ่มหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนการใช้คำว่า “ชนิด” “ประเภท” “แบบ” หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในกฎกระทรวง ประการที่ 4) ควรเพิ่มหลักเกณฑ์ที่กำหนดว่าบุคคลภายนอก หรือบุคคลที่ไม่เคยผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในชุมชนเดิมไม่มีสิทธิยื่นคำขอใช้คำว่า “ชนิด” “ประเภท” “แบบ” หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในกฎกระทรวง ประการที่ 5) ควรเพิ่มหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากการใช้คำว่า “ชนิด” “ประเภท” “แบบ” หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกัน กรณีที่มีการย้ายถิ่นที่อยู่ของคนในชุมชนในพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 ประการที่ 6) ควรเพิ่มหลักเกณฑ์ในการฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อผู้ละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากการใช้คำว่า “ชนิด” “ประเภท” “แบบ” หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันในพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 ประการที่ 7) ประเทศไทยควรเรียกร้องให้มีการการเจรจาในเวทีองค์การการค้าโลกเกี่ยวกับความตกลงทริปส์เพื่อขอขยายความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปยังสินค้าประเภทอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 23 อีกครั้ง ประการที่ 8) ประเทศไทยควรทำความตกลงด้านการค้ากับประเทศคู่ค้าในระดับระหว่างประเทศ โดยห้ามมิให้ใช้คำว่า “ชนิด” “ประเภท” “แบบ” หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันในประเทศคู่ค้าth
dc.description.abstractThe protection of the Thai geographical indications emphasizes the protection of community rights over the joint use of geographical indications by the persons living in the community whose production of geographical indications is essential. However, the law protecting Thailand's current geographical indications, which is carried out under the agreement that intellectual property rights in trade or travel are prohibited from using the words "kind", "type", "style" or the words that are meant to be similar to these words and that are composed of four geographical indications of only rice, silk, wine, and alcohol. Since they may cause problems for consumers in using such legal loopholes. This may also affect the community's rights to damage the reputation of the legally registered geographical indications of composition. In addition, in the case of community relocation or where non-community individuals use geographical indications as a composite of their products, which could cause confusion in the source and quality of the geographical indications. This research has focused on the protection of geographical indications from international law, foreign law, and domestic law, which indicate that each law differs in its intention to protect geographical indications. If the legal provisions that are useful for protecting geographical indications from each law are applied to protect Thai geographical indications, they will prevent consumer fraud and confusion at source and the actual quality of the geographical indication of the user may be due to the use of the word "kind", "type", "style" or the words that are meant to be similar to these words to the combination of geographical indications, so if further modification of the criterion of usage of the compound on such a point will help to prevent the future problems well.  According to the results of the study, the company has suggested a Geographical Indication Protection Act for the Year of the Decade of 2003. Ministry regulations on the protection of geographical indications and the Agreement on Trade- Related Aspects of Intellectual Property Rights or TRIPS Agreement that have all eight legal issues. Firstly, the ministry of commerce should increase the standard of classifying geographical indications by type of geographical indication in the ministry's rules. Secondly, the criteria should be increased in the way that permission is requested to use the word “kind", "type", "style" or the words that are meant to be similar to these words with geographical indications in the Ministry's rules. Thirdly, The criteria for allowing the use of the word “kind", "type", "style" or the words that are meant to be similar to these words that shall be added to the geographical indications in the Ministry's rules. Next, It should be added that an outsider or person who has never produced a geographic indication in the same community is not entitled to apply for the word “kind", "type", "style" or the words that are meant to be similar to these words with the geographical indication in the Ministry's rules. Next, the benefit sharing principle should be increased in return for using the word “kind", "type", "style" or the words that are meant to be similar to these words or phrases as geographical indications or similar in cases where the community is relocated under the Geographical Indicative Protection Act, in 2003. Next, the lawsuits against a violation of geographical indications should be increased by using the word “kind", "type", "style" or the words that are meant to be similar to these words in the Geographical Indication Protection Act, in 2003. Next, Thailand should demand that the world trade talks on the Trips Agreement be extended to cover geographical indications other than those specified in Article 23. Finally, Thailand should make trade agreements with its trading partners at international level, without using the word “kind", "type", "style" or the words that are meant to be similar to these words as geographical indications or similar in the trading country.th
dc.format.extent299 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2021.15
dc.identifier.otherb212236th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5600th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์th
dc.subject.otherสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ -- กฎหมายและเบียบข้อบังคับ -- ไทยth
dc.subject.otherการย้ายถิ่นth
dc.subject.otherการย้ายถิ่นภายในประเทศ -- ไทยth
dc.titleการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรณีที่มีการย้ายถิ่นที่อยู่ของคนในชุมชนth
dc.title.alternativeProtection of geographical indications in case of community migrationth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b212236.pdf
Size:
3.35 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description: