การศึกษาต้นทุนสิ่งแวดล้อมสำหรับการประเมินคุณค่าของการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย

dc.contributor.advisorสมพจน์ กรรณนุช, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorนวลนดา สงวนวงษ์ทองth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:18:22Z
dc.date.available2014-05-05T09:18:22Z
dc.date.issued2012th
dc.date.issuedBE2555th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012th
dc.description.abstractนับแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมา การพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศไทยให้ความสําคัญต่อภาคอุตสาหกรรม มีมาตรการส่งเสริมการเจริญเติบโตของ อุตสาหกรรมหลายด้าน ได้แก่การลงทุนของรัฐด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และการให้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีรูปแบบต่าง ๆ อุตสาหกรรมเป็ นการผลิตที่มีโครงสร้างปัจจัยการผลิตที่ ซับซ้อน และมีวัตถุอันตรายหลากหลายชนิดเป็ นวัตถุดิบ มีการรั่วไหล มีสภาพเป็นปฏิกูลจาก อุตสาหกรรมในสถานะต่าง ๆ ได้แก่ ของแข็งของเหลว ก๊าซ อุณหภูมิ กลิ่น เสียง แรงสั่นสะเทือน และมลทัศน์ เป็ นต้น เมื่ออุตสาหกรรมสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเพิ่ มมากขึ้น ทําให้การพัฒนา อุตสาหกรรมมีต้นทุนสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกลี่ยงไม่ได้ ต้นทุนสิ่งแวดล้อมมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน สุขภาพ ด้านเศรษฐกิจและสวัสดิการ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านความมั่นคง ของระบบนิเวศ (สมพจน์ กรรณนุช, 2550: 287 – 288) ต้นทุนสิ่งแวดล้อมมีสถานะเป็นสาธารณะทํา ให้ปราศจากมูลค่าในระบบต้นทุนการผลิตและราคาสินค้า การบริโภคและการผลิตสินค้า ดังนั้น การไม่นับรวมต้นทุนสิ่งแวดล้อม ทําให้มีต้นทุนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง (Pigou, 1960) การประเมินคุณค่าของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ปราศจากต้นทุนสิ่งแวดล้อมจึงนับว่าคลาดเคลื่อนจาก ความเป็นจริง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินคุณค่าของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่แท้จริง โดยคิดต้นทุนสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบของต้นทุนการบริโภคและผลิตสินค้า ครอบคลุม อุตสาหกรรม 93 สาขา ตามมาตรฐานระบบข้อมูลตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ของประเทศไทย การคํานวณคุณค่าของอุตสาหกรรม ประกอบด้วย (1) การคํานวณผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวม ได้แก่ ผลรวมของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทางตรงและทางอ้อม (2) การคํานวณต้นทุนิ่งแวดล้อมประกอบด้วยการคํานวณต้นทุนสิ่งแวดล้อมรวม ได้แก่ ผลรวมของต้นทุนสิ่งแวดล้อม ทางตรงและทางอ้อม การคํานวณทั้งสองกรณีใช้แบบจําลองปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input Output Model) ตามมาตรฐานของ Leontief (1966) เป็ นเครื่องมือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ แท้จริงของการพัฒนาอุตสาหกรรมคือผลต่างระหว่าง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวมกับ ต้นทุน สิ่งแวดล้อมรวม การศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวมของอุตสาหกรรม เท่ากบั 0.62 และค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์ต้นทุนสิ่งแวดล้อมรวมเท่ากับ 0.10 อุตสาหกรรมกลุ่มที่มี สัมประสิทธิ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่แท้จริงมากกว่าและเท่ากับค่าเฉลี่ย 0.52 มีจํานวนรวม 45 สาขาลักษณะเด่นของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ เป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับภาคเกษตร ซึ่งเป็น อุตสาหกรรมที่ใช้ปัจจัยการผลิตขั้นกลางผลิตในประเทศในสัดส่วนที่สูง อุตสาหกรรมกลุ่มที่มี สัมประสิทธิ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่แท้จริงตํ่ากว่าค่าเฉลี่ย 0.52 มีจํานวนรวม 48 สาขาลักษณะ เด่นของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ เป็นอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนนําเข้าจากต่างประเทศ และมีการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมในประเทศน้อย ใช้ปัจจัยการผลิตขั้นกลางที่นําเข้าจากต่างประเทศใน สัดส่วนที่สูง ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายพิจารณาจากผลการศึกษา ได้แก่แนวทางที่ 1 การยกระดับ คุณค่าของการพัฒนาอุตสาหกรรมพิจารณาจากสัมประสิทธิ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวม โดยการ ยกระดับมูลค่าเพิ่ มประกอบด้วยค่าจ้างแรงงาน ผลกาไรของผู้ประกอบการ และรายได้ของรัฐจากภาษีทางอ้อม โดยอาศัยการพัฒนาปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มพูนสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มในกระบวนการผลิต การยกระดับสัมประสิทธิ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ แท้จริง เกิดขึ้นได้จากการส่งเสริมให้เกิด ความหลากหลายของอุตสาหกรรมเพื่อให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีความสามารถใช้ปัจจัยการผลิตที่ ผลิตในประเทศในสัดส่วนสูงขึ้น และแนวทางที่ 2 การยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยการลด ต้นทุนสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมสาขาที่มีค่าสัมประสิทธิ์ต้นทุนสิ่งแวดล้อมรวมในเกณฑ์สูง ซึ่งต้องการการกำกับดูแล การส่งเสริมการพัฒนาและการนําเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมา ใช้ในกระบวนการผลิตth
dc.format.extent182 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1192th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.titleการศึกษาต้นทุนสิ่งแวดล้อมสำหรับการประเมินคุณค่าของการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยth
dc.title.alternativeStudy of environmental costs for the evaluation of industrial development in Thailandth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-diss-b179785.pdf
Size:
11.58 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text