แนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในตำบลส่วนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

dc.contributor.advisorไพฑูรย์ มนต์พานทองth
dc.contributor.authorฐิติยา ไม้แก้วth
dc.date.accessioned2021-10-19T07:18:34Z
dc.date.available2021-10-19T07:18:34Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจยัเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน ตำบลสวนผึ้งจำนวน 385 คนโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และ F-test มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของตัวแปรด้านประชากร ต่อผลกระทบทางสังคมและ ความคาดหวังของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของชุมชนต่อผลกระทบทางสังคมที่เกิดจาก การท่องเที่ยวในตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อศึกษาความคาดหวังของชุมชน ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 4) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในตำบลสวนผึ้ง อำเภอ สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ผลการศึกษาวัตถุประสงค์การวิจัยที่ 1 สรุปการทดสอบสมมุติฐาน 1) ประชาชนตำบลสวน ผึ้งที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลกระทบทางสังคมและความคาดหวังของชุมชนต่อการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้งจังหวดัราชบุรี แตกต่างกันยอมรับสมมุติฐานรอง (H1 ) ในประเด็นผลกระทบทางสังคม ด้านความขัดแย้งเกี่ยวกับ ชุมชนท้องถิ่นและผู้ที่มาใหม่ 2) ประชาชนตำบลสวนผึ้งที่มีอายุต่างกัน ยอมรับสมมุติฐานรอง (H1 ) ในประเด็นความคาดหวังด้านผลกระทบในระดับ ส่วนตัวบุคคลและครอบครัว 3) ประชาชนตำบล สวนผึ้งที่มีศาสนาต่างกัน ยอมรับสมมุติฐานรอง (H1 ) ในประเด็นผลกระทบทางสังคม ด้าน ประชากร 4) ประชาชนตำบลสวนผึ้งที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ยอมรับสมมุติฐานรอง (H1 ) ทุกด้าน ยกเว้น ในประเด็นความคาดหวัง ด้านความต้องการในโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน 5) ประชาชน ตำบลสวนผึ้งที่มีอาชีพต่างกัน ยอมรับสมมุติฐานรอง (H1 ) ในประเด็นผลกระทบทางสังคม ด้าน ประชากร 6) ประชาชนตำบลสวนผึ้งที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันยอมรับสมมุติฐานรอง (H1 ) ในประเด็นผลกระทบ ด้านประชากร 7) ประชาชนตำบลสวนผึ้งที่มีระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ต่างกนั ยอมรับสมมุติฐานรอง (H1 ) ในประเด็นผลกระทบทางสังคม ด้านความขัดแย้งเกี่ยวกับชุมชน ท้องถิ่นและผู้ที่มาใหม่ ผลการศึกษาวัตถุประสงค์การวิจัยที่ 2 พบว่า ประเด็นที่มีผลกระทบทางสังคม ระดับ ผลกระทบมาก มี 7 ประเด็น ได้แก่ 1) การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการเปลี่ยนเจ้าของที่ดิน การมีสิทธิ์ในที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) การเปลี่ยนแปลงอาชีพของชุมชน 3) ค่าครองชีพมีความ เหมาะสมแก่ชุมชน 4) การเพิ่มขึ้นของจำ นวนประชากรในสังคมของชุมชน 5) ชุมชนเห็นด้วยที่ ตำบลสวนผึ้งมีการท่องเที่ยว 6) ประชากรจากชุมชนอื่น เข้ามาหางานในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และ7) เกิดอาชีพและรายได้แก่ชุมชน ผลการศึกษาวัตถุประสงค์การวิจัยที่ 3 ประเด็นความคาดหวังของชุมชน ระดับความ คาดหวังน้อย มี 7 ประเด็น ได้แก่1) ชุมชนคาดหวังให้เกิดการเอาเปรียบกันในชุมชน 2) การขายบริการทางเพศ 1) การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และค่านิยมของสังคมชุมชน 3) การเปลี่ยนเจ้าของที่ดิน การมีสิทธ์ิในที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน 4) การเปลี่ยนแปลงอาชีพของชุมชนท้องถิ่น 5) การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม และคุณค่างานศิลปหตัถกรรม และ 7) ความแตกต่างด้านอายุเพศ เชื้อชาติของชุมชน ประเด็นที่มีผลกระทบมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบจากผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 และ 3 ได้แก่การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาชีพของชุมชน การเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดิน การมีสิทธ์ิในที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประชากรจากชุมชนอื่นเข้ามาหางานในแหล่งท่องเที่ยว ของชุมชน การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และค่านิยมของสังคม การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในสังคมของชุมชน ความแตกต่างด้านอายุเพศเชื้อชาติของชุมชน การเอาเปรียบกันในชุมชน ปัญหา การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม และคุณค่างานศิลปหตัถกรรม ปัญหาการขายบริการทางเพศ สามารถ กำหนดเป็นแนวทาง ได้ดังนี้ 1) การพัฒนาและส่งเสริมด้านประชากร 2) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ที่ดิน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) พัฒนาสังคมและชุมชนให้เข้มแข็ง และ 4) ส่งเสริมคุณค่างานศิลปหตัถกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ยั่งยืนth
dc.format.extent224 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb194336th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5299th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการท่องเที่ยว -- ผลกระทบต่อสังคม -- ไทย -- ราชบุรี -- สวนผึ้งth
dc.subject.otherการท่องเที่ยว -- ไทย -- ราชบุรี -- สวนผึ้งth
dc.titleแนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในตำบลส่วนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรีth
dc.title.alternativeGuidelines for the social impacts management of tourism in Suanphung Sub-District, Suanphung District, Ratchaburi Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะการจัดการการท่องเที่ยวth
thesis.degree.disciplineการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b194336.pdf
Size:
2.4 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections