การรับรู้กับการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ: ศึกษาพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก ตำบลหนองพระ จังหวัดพิจิตร

dc.contributor.advisorวิชชุดา สร้างเอี่ยมth
dc.contributor.authorจิรัชยา ศิริเลขอนันต์th
dc.date.accessioned2020-06-09T02:45:19Z
dc.date.available2020-06-09T02:45:19Z
dc.date.issued2019th
dc.date.issuedBE2562th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractการศึกษานี้อาศัยวิธีวิทยาทฤษฎีฐานรากในการศึกษากระบวนการรู้คิดและเงื่อนไขที่กำหนดการรับรู้ความเสี่ยงและความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์ ก) เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงและความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ ข) เพื่อศึกษาแบบแผนการปรับตัวของเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากแนวโน้มการรับรู้ และ ค) เพื่ออธิบายแบบแผนการรับรู้และปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวเป็นหลักนอกเขตชลประทานที่ประสบกับภัยแล้งซ้ำซากจำนวน 20 รายในตำบลหนองพระ จังหวัดพิจิตร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความสามารถในการปรับตัว การรับรู้ผล และการปรับตัวของเกษตรกรมีความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นแบบแผนการรับรู้และปรับตัวที่แตกต่างกัน 4 แบบแผน ได้แก่ แบบแผนรับมือตามปัญหา แบบแผนซ้ำซาก แบบแผนก้าวหน้า และแบบแผนพลิกผัน แบบแผนรับมือตามปัญหาเกิดจากการมองว่าภัยแล้งไม่เป็นภัยต่อตนและสามารถรับมือได้ นำไปสู่การเลือกปรับตัวแบบรับมือที่ให้ผลการปรับตัวตรงตามคาดการณ์ แบบแผนซ้ำซากเกิดจากการมองว่าความเสี่ยงเป็นภัยที่คาดการณ์ได้แต่มองว่าตนขาดความสามารถ เกษตรกรจะเลือกการปรับตัวเท่าที่ตนสามารถกระทำได้ และจำใจต้องยอมรับเมื่อผลการปรับตัวออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ แบบแผนก้าวหน้าเกิดจากการมองว่าความเสี่ยงว่าเป็นภัยที่คาดการณ์ไม่ได้และคิดว่าตนมีความสามารถในการปรับตัว ทำให้เลือกการปรับตัวแบบที่ให้ผลในระยะยาว การรับรู้ผลการปรับตัวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการรู้คิดและการปรับตัวแตกต่างกัน หากผลการปรับตัวตรงตามคาดการณ์ ทำให้เกษตรกรจะเปลี่ยนการปรับตัวไปเป็นแบบแผนรับมือตามปัญหา หากผลการปรับตัวแย่กว่าคาดการณ์แต่ยังสามารถยอมรับได้ เกษตรกรจะเปลี่ยนการปรับตัวของตนไปตามแบบแผนซ้ำซาก สุดท้ายแบบแผนพลิกผันเกิดจากการรับรู้ความเสี่ยงว่าเป็นภัยที่คาดการณ์ไม่ได้และคิดว่าตนเองมีความสามารถในการปรับตัว หากผลการปรับตัวไม่สามารถทำให้ยอมรับได้ ทำให้เกษตรกรต้องหาวิธีเพิ่มความสามารถในการปรับตัวจนเกิดการปรับตัวแบบปรับรากฐาน แบบแผนเหล่านี้เป็นผลจากเงื่อนไขการรับรู้ที่เป็นตัวกำหนดวิถีการปรับตัว ได้แก่ 1) ความรู้สึกปลอดภัย 2) ความไม่กล้าเสี่ยง 3) การเปิดรับต่อข่าวสารด้านภูมิอากาศ และ 4) ความไม่ย่อท้อ เงื่อนไขการรับรู้บางประการอาจเป็นกับดักทางความคิดที่ก่อให้เกิดการปรับตัวในทางเสื่อม ซึ่งไม่สามารถช่วยลดเปราะบางต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ  ดังนั้น ในการส่งเสริมการรับรู้ของเกษตรกรให้ลดการปรับตัวในทางเสื่อม จึงจำเป็นต้องให้เกษตรกรตระหนักถึงความเสี่ยงอย่างสมเหตุสมผล นั่นคือ การรับรู้ความเสี่ยงที่ไม่มากเกินหรือไม่น้อยเกินไป รวมถึงการกระทำเพื่อเพิ่มการรับรู้ความสามารถในการปรับตัว ผ่านการนำเสนอวิถีการปรับตัวที่เหมาะสมกับความเสี่ยงในพื้นที่ โดยเน้นถึงผลลัพธ์ที่ช่วยลดผลกระทบอย่างแน่นอนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ไปปฏิบัติ ตลอดจนสนับสนุนด้านทรัพยากรสำหรับเกษตรกรที่ขาดแคลนth
dc.description.abstractThis study explores cognitive processes and conditions that determine perceived risk and perceived adaptive capacity, using the grounded theory methodology. The purpose of this study is a) to investigate farmers’ perception of risk and adaptive capacity to climate variability, b) to analyze patterns of farmers’ perceived risk and perceived adaptive capacity, and c) to explain farmers’ perceptive and adaptive patterns. The study obtains data from unstructured, in-depth interviews with 20 rice farmers in the non-irrigated area with recurrent drought in Tambon Nong Phra, Pichit. The study result shows that perceived risk, perceived adaptive capacity, perceived outcomes, and adaptation strategies of the farmers are interrelated to determine patterns of perception and adaptation. The patterns are namely: coping, recurring, incremental, and transformative. The coping pattern emerges from perception of risk as mild and capable of being managed, resulting in coping adaptation strategies and consequently predictable outcome. The recurring pattern emerges from perception of risk as predictable but incapable of being managed. The perceived adaptive incapacity then leads to self-contained adaptation strategies and unwillingly accepted outcome. The incremental pattern emerges from perception of risk as unpredictable but capable of being managed; thus, farmers choose adaptation strategies for the long term.  Perceived outcome can affect perception and adaptation strategies; that is, farmers will opt for the coping pattern, as they see outcome as expected, or switch to the recurring pattern when perceived outcome is worse than expected, but acceptable. The transformative pattern emerges from perception of risk as unpredictable but capable of being managed. Unlike the incremental pattern, the transformative pattern occurs as unfavorable outcome urge farmers to increase their adaptive capacity that allows transformation into new practice. These patterns can be explained by four perceptive conditions that determine adaptation trajectories, namely, sense of security, fear of taking risks, exposure to climate information, and persistent tendency. Some conditions may constitute mind traps for maladaptation, a practice that results in increased vulnerability to climate variability.  Therefore, in order to avoid maladaptation, it is necessary to enhance reasonable risk perception, i.e., neither overestimated nor underestimated, and to increase perceived adaptive capacity by providing farmers with knowledge of locally-appropriate adaptation strategies, highlighting their effectiveness that can motivate farmers’ adoption as well as supporting poor farmers with resources.th
dc.format.extent121 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb207928th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4996th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectการรับรู้ความเสี่ยงth
dc.subjectการรับรู้ความสามารถในการปรับตัวth
dc.subjectการปรับตัวth
dc.subjectทฤษฎีฐานรากth
dc.subject.otherการจัดการภัยแล้งth
dc.subject.otherเกษตรกร -- ผลกระทบจากภัยแล้งth
dc.subject.otherการเกษตรth
dc.titleการรับรู้กับการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ: ศึกษาพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก ตำบลหนองพระ จังหวัดพิจิตรth
dc.title.alternativeFarmers's perception and adaptation to climate variability : a study of recurrent drought area in Tambon Nong Phra, Pichitth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b207928.pdf
Size:
3.28 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections