การบริหารจัดการองค์การภาคประชาสังคมที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสู่ครอบครัวเข้มแข็ง

dc.contributor.advisorหลี่ เหรินเหลียงth
dc.contributor.authorนราวาดี อินทวงษ์th
dc.date.accessioned2021-09-06T08:21:38Z
dc.date.available2021-09-06T08:21:38Z
dc.date.issued2019th
dc.date.issuedBE2562th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstract       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการองค์การของสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์ 2) สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการองค์การสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์ และ 3) ประสิทธิผลการดำเนินงานของสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 15 คน คือ บุคลากรในสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์ ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่การดำเนินงานของสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์และภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์ ผลการศึกษาพบว่า      1) การบริหารจัดการองค์การ พบว่าสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์มีการบริหารจัดการที่ให้ความสำคัญกับคณะทำงานในการมาพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนแนวทางในการขับเคลื่อนงานร่วมกัน โดยอาศัยความสามารถของคณะทำงานในการกำหนดเป้าหมาย จัดระเบียบและจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์การผ่านกระบวนการการบริหารจัดการองค์การที่ประกอบด้วยการวางแผน การจัดองค์การ การจัดสรรบุคลากร การประสานงาน และการควบคุม และมีการพัฒนา “หลักสูตร” ที่ทำให้การขับเคลื่อนงานด้านครอบครัวดำเนินไปสู่ความสำเร็จและบรรลุความต้องการอย่างมีประสิทธิผล กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดครอบครัวเข้มแข็ง      2) สภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการองค์การ พบว่าภายใต้การบริหารจัดการองค์การของสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจากภายในและภายนอกองค์การ โดยสภาพแวดล้อมภายในองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการองค์การ ได้แก่ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์องค์การ โครงสร้างองค์การ วัฒนธรรมองค์การและผู้นำ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมภายในองค์การยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมภายในองค์การเองด้วย ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการองค์การ ได้แก่ นโยบายรัฐ ภาคีเครือข่ายและสภาพแวดล้อมชุมชน ซึ่งเป็นจุดที่น่าสังเกตว่าความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การช่วยให้กระบวนการบริหารจัดการภายในองค์การสามารถดำรงอยู่ได้นานกว่า 13 ปี สะท้อนให้เห็นว่าสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามาส่งผลกระทบต่อองค์การได้เป็นอย่างดี      3) ประสิทธิผลการดำเนินงาน พบว่าสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์ มีประสิทธิผลในการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการบูรณาการและเชื่อมร้อยการทำงานกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทำให้กิจกรรมที่สถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์จัดขึ้น เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ภายในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญตัวหนึ่งที่ช่วยให้ครอบครัวในจังหวัดสุรินทร์มีความเข้มแข็งขึ้น มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันภายในครอบครัว มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ สามารถพึ่งตนเองและพึ่งสมาชิกในครอบครัวได้ และครอบครัวที่เข้มแข็งยังสามารถเกื้อกูลแก่ครอบครัวอื่นหรือสมาชิกในชุมชนด้วย ก่อให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็งเป็นทุนทางสังคมที่เกื้อหนุนสมาชิกในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งต่อไปในอนาคต      ในการบริหารจัดการองค์การของสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์ ทำให้เห็นถึงวัฒนธรรมองค์การที่มีลักษณะ “แชร์ เชื่อม ชื่นชม” กล่าวคือ แชร์ (Share) ในการประชุมต่าง ๆ กลายเป็นพื้นที่แบ่งปันที่ทำให้คณะทำงานได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ร่วมกัน เชื่อม (Link) มีการเชื่อมร้อยการทำงานกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างครอบครัวให้เกิดความเข้มแข็งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงานมีการชื่นชม (Admire) ชื่นชมสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อสร้างกำลังใจให้คนทำงานรู้สึกมีความสุขและได้รับพลังบวกกลับไปพัฒนางานครอบครัวในพื้นที่ของตนเองต่อไป      ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญว่าสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรินทร์ควรมีกองทุนหรือแนวทางในการระดมทุน เพื่อนำมาเสริมศักยภาพคนทำงานและบริหารจัดการองค์การให้มีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งควรหาแนวทางในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ มีอุดมการณ์และความเป็นจิตอาสา เช่น แกนนำเยาวชนในพื้นที่ แกนนำชุมชนอื่น ๆ เป็นต้น เพื่อมาร่วมปฏิบัติงานและสานอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อสร้างครอบครัวเข้มแข็งผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมต่อไป        th
dc.description.abstract          The purposes of this research were to study: 1)organization management of Surin Provincial Healthy Family Institution; 2)internal environment and external environment of organization affecting organization management of Surin Provincial Healthy Family Institution; and 3)effective of operation of Surin Provincial Healthy Family Institution. This was a qualitative research. The data was compiled from in-depth interview and participant observation was used with 15 key informants including personnel in Surin Provincial Healthy Family Institution, family members participating in the project of Surin Provincial Healthy Family Institution and networks related to operation of Surin Provincial Healthy Family Institution. The results reveal that:       1) Organization management, it is found that Surin Provincial Healthy Family Institution had management focusing on the working committee to meet, talk, and exchange working guideline. They utilize abilities of working committee to determine goals, organize and allocate resources of the organization through organization management process comprising planning, organization management, personnel allocation, coordination, control and develop “curriculum” to drive family tasks to success and achieve needs efficiently that the target group learns and changes their behaviors to build healthy family.        2) Environment affecting organization management, it is proved that under the management of Surin Provincial Healthy Family Institution, it has relationship with internal environment and external environment. The internal environment affecting the organization management includes vision, organization objectives, organization structure and leader. Moreover, the internal environment affects its internal environment too.  Meanwhile, the external environment affecting organization management consisted of public policy, network and community environment. It is observed that relationship between organization and external environment plays a role that the internal management process existing over 13 years. It can be interpreted that Surin Provincial Healthy Family Institution is able to address external environment affecting its organization well.       3) The operation efficiency, the results show that Surin Provincial Healthy Family Institution has constructive efficiency as it integrates and connects with all sectors including public sector, private sector and networks, as a result, the activities conducted by Surin Provincial Healthy Family Institution accommodating learning within family and supporting healthy family in Surin Province. The family members have good relationship and have their own duties and roles. They can rely on themselves and other family members. The healthy families can help other families and community members. This eventually leads to healthy community which can be social capital to help each member be strong in the future.         The organization management of Surin Provincial Healthy Family Institution represents organization culture namely “Share, Link, Admire”. Share means the meetings are stage for working committee sharing their knowledge and experiences from operation in each area. Link means connecting with all public sector, private sector and networks consistently to build healthy families in Surin Province. Admire means they admire each other after the tasks have been completed in order to build moral support for each working staff and they gain positive power for improving family tasks in their own responsible areas.          In a nutshell, suggestions for Surin Provincial Healthy Family Institution are that they should establish a fund or guideline for fundraising to enhance capacity of staff and strengthen its organization. Besides, they should develop younger generation to have knowledge, ability, strong will and volunteer mind as they can work together with the organization and continue the tasks of the organization for building healthy family through participating learning process.    th
dc.format.extent350 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2019.142
dc.identifier.otherb211032th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5248th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectการบริหารจัดการองค์การth
dc.subjectภาคประชาสังคมth
dc.subjectองค์การภาคประชาสังคมth
dc.subject.otherสถาบันครอบครัวth
dc.titleการบริหารจัดการองค์การภาคประชาสังคมที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสู่ครอบครัวเข้มแข็งth
dc.title.alternativeCivil society organization management influencing to the effectiveness for strongness of familiesth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสาตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b211032.pdf
Size:
8.18 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections