กลไกในการระงับข้อพิพาทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ศึกษาเฉพาะกรณีละเมิดพันธกรณีด้านการค้าและการลงทุน

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorพุทธชาติ บุญกล่อมth
dc.date.accessioned2016-10-07T04:25:58Z
dc.date.available2016-10-07T04:25:58Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractเนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนกาลังเดินหน้าเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) แต่กลไกการระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนในปัจจุบัน ยังไม่ ครอบคลุมกรณีที่เกิดข้อพิพาทอันมีสาเหตุมาจากประเทศสมาชิกละเมิดพันธกรณีด้านการค้าและการ ลงทุนตามความตกลงระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งอ าจมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นภายหลังความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้แม้จะมีกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ที่ระบุหลักการระงับข้อพิพาทไว้ใน หมวดที่ 8 แต่ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่กาหนดวิธีการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีไว้อย่างกว้างๆ ไม่มี สภาพบังคับที่ชัดเจนแก่ประเทศสมาชิ กและพิธีสารอาเซียนที่กาหนดกลไกการระงับข้อพิพาทด้าน เศรษฐกิจไว้โดยเฉพาะอย่าง “พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน (ASEAN Protocol on Enhanced Dispute Settlement Mechanism – EDSM )” ซึ่งใช้กลไกการระงับข้อพิพาทของ องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นต้นแบบนั้น ตราบจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่เคยมีประเทศสมาชิกคู่พิพาท ใดเลือกใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทตามพิธีสารฯ ดังกล่าวเลย ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทาการ ศึกษา แนวคิดและหลักการในการกาหนดวิธีระงับข้อพิพาทกรณีละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งผลในทางกฎหมายต่อประเทศสมาชิกภาย ใต้กฎบัตรอาเซียนและพิธีสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการศึกษากลไกในการระงับข้อพิพาทรูปแบบต่างๆ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมกับพันธกรณีทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ สมาชิกภายใต้กฎบัตรอาเซียน ทั้งในระดับทวิภาคีและในระ ดับพหุภาคีหรือไม่ อย่างไร และเพื่อมุ่ง แสวงหามาตรการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก ต่อไป ในการศึกษาวิจัยนี้ ได้ศึกษาปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนภายในปี 2558 ปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งปร ะชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Charter) หมวดที่ 8 เรื่อง การระงับข้อพิพาท (Settlement of Disputes) และพิธีสารอาเซียนที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ สนธิ สัญญาไมตรีและความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia - TAC) พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน (ASEAN Protocol on Enhanced Dispute Settlement Mechanism - EDSM ) พิธีสารของกฎบัตรอาเซียนว่าด้วยกลไก การระงับข้อพิพาท (Protocol to the ASEAN Charter on Disputes Settlement Mechanism - DSMP) ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement - ACIA) ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement - ATIGA) กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services - AFAS) และความตกลงการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่าเทียมกันสาหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Common Effective Preferential Tariff Scheme - CEPT) นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ทาการสัมภาษณ์ ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทด้านการค้าและการลงทุนระหว่างป ระเทศ ทั้ง ในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติเพื่อเป็นข้อมูลอีกชั้นหนึ่งในการสนับสนุนข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า เอกสารพื้นฐาน เอกสารทางการ บทความ และตาราต่างๆ ในทางกฎหมาย ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการระงับข้อพิพาททางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึง องค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทสาคัญต่อเศรษฐกิจโลกอันได้แก่ อนุสัญญานิวยอร์กว่าด้วยการ ยอมรับและการบังคับใช้คาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ (Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards 1958) ความเข้าใจว่าด้วย กฎเกณฑ์และกระบวนการระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก (WTO Understanding on Rules and Procedures Governing the Settlement of Dispute) และกฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) จากการศึกษาและวิเคราะห์กลไกการระงับข้อพิพาทภายใต้บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัย พบว่ากล ไกการระงับข้อพิพาทด้านการค้าและการลงทุนขององค์การระหว่างประเทศที่ได้รับการ ยอมรับจากนานาชาติว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดอย่างองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างก็เข้าร่วมเป็นภาคีนั้น น่าจะเป็นกลไกการระงับข้อพิพาทที่ เหมาะสมมากที่สุดในการจัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และอาเซียนควร ส่งเสริมการให้อิสระแก่ประเทศสมาชิกคู่พิพาทในการเลือกใช้การระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution: ADR) อาทิเช่น การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) อันถือเป็น ส่วนหนึ่งของกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนในปัจจุบัน อันจะช่วยส่งเสริมให้นโยบายทางเศรษฐ กิจและกลไกระงับข้อพิพาทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถดาเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีผล บังคับใช้ได้อย่างสมบูรณ์ และนาไปสู่การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับการยุติข้อพิพาทด้านการค้าและการลงทุนที่เกิดขึ้นภายหลัง การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ตามหลักการระงับข้อพิพาทที่เป็นสากล นอกจากนี้ ยังเป็น การเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนชาวต่างชาติว่าประเทศสมาชิกจะปฏิบัติตามพันธ กรณีอย่าง เคร่งครัด ไม่ยึดมั่นในหลักการระงับข้อพิพาทแบบวิถีอาเซียน (ASEAN Way) ซึ่งนาไปสู่บทสรุปและ ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนนโยบายรัฐและมุ่งพัฒนากฎหมายภายในของ ประเทศสมาชิกให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไปth
dc.format.extent123 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb185197th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3205th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนth
dc.subject.otherข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศth
dc.subject.otherการระงับข้อพิพาทth
dc.titleกลไกในการระงับข้อพิพาทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ศึกษาเฉพาะกรณีละเมิดพันธกรณีด้านการค้าและการลงทุนth
dc.title.alternativeDispute settlement mechanism in ASEAN economic community : A case study of the violations on trade and investment agreementth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b185197.pdf
Size:
1.02 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections