มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการศึกษาไทยชั้นอุดมศึกษา

dc.contributor.advisorสุจิตรา ชำนิวิกย์กรณ์th
dc.contributor.authorเอกสิทธิ์ โพธิ์ชูชาติth
dc.date.accessioned2019-04-25T08:10:46Z
dc.date.available2019-04-25T08:10:46Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractการลงทุนในการศึกษาเป็นการลงทุนในทุนมนุษย์ที่สำคัญ ที่ทำให้มนุษย์อยู่ในฐานะแรงงานที่มีผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งจะนำไปสู่การมีงานทำและเงินได้ที่สูงขึ้น ในปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาไทยผลิตทุนมนุษย์ระดับสูง อย่างมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษามีการเปิดหลักสูตรจำนวนมากประกอบกับค่านิยมการเลือกเรียนของนักเรียนและความคาดหวังของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป ทางเลือกของอาชีพและเงินได้ที่สูงในอนาคตจึงเป็นเหตุผลที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในแต่ละสาขาวิชา งานศึกษานี้เป็นการศึกษามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการศึกษาไทยชั้นอุดมศึกษา ในรูปประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่เป็นตัวเงิน จากการลงทุนในการศึกษาชั้นปริญญาตรี คือ ค่าจ้างหรือเงินได้เมื่อสำเร็จการศึกษา ในรูปของเงินได้ตลอดช่วงชีวิตและผลตอบแทนในการลงทุนในการศึกษาของแต่ละกลุ่มสาขาวิชา รวมทั้งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเงินได้ที่นักศึกษาคาดหวังเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยอาศัยแนวคิดทุนมนุษย์ ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 3 กลุ่มสาขาวิชา ประกอบด้วย กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งสิ้น 3,051 คน ประกอบด้วย นักศึกษา 1,553 คน บัณฑิต 1,498 คน พบว่า นักศึกษาแต่ละกลุ่มสาขาวิชาคาดหวังเงินได้แตกต่างกัน มากที่สุดคือกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ รองลงมาคือ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตามลำดับ นอกจากนี้นักศึกษาที่บิดามีเงินได้สูงจะคาดหวังเงินได้สูง เนื่องจากฐานะทางครอบครัวเป็นสิ่งกระตุ้นให้บุตรอยากศึกษาต่อสูง ๆ ประกอบอาชีพที่ดีและได้รับเงินเดือนสูง ในทำนองเดียวกันนักศึกษาที่มารดาสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจะคาดหวังเงินได้สูง เนื่องจากมารดาซึ่งเป็นต้นแบบที่ดีและสนับสนุนให้บุตรได้รับการศึกษาเพื่อสร้างเงินได้ในอนาคต และนักศึกษาชายคาดหวังเงินได้มากกว่านักศึกษาหญิง เมื่อพิจารณาการประมาณการเงินได้ตลอดชีวิต ในรูปเส้นอายุ-เงินได้ (Age-Earning Profile, AEP) และมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value, NPV) และอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return, IRR) ของบัณฑิต พบว่า มากที่สุดคือกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (AEP 28,994,213 บาท, NPV 3,383,182 บาท และ IRR ร้อยละ 17.24 ) รองลงมาคือ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (AEP 17,615,437 บาท, NPV 2,449,125 บาท และ IRR ร้อยละ 17.21) และกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ (AEP 7,528,562 บาท , NPV 988,201 บาท และ IRR 13.85) ตามลำดับ ซึ่งเส้นอายุเงินได้ของกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพแตกต่างจากแนวคิดของ Jacob Mincer ที่กล่าวไว้ว่าแรงงานมีประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดและอายุมากขึ้นประสิทธิภาพการผลิตจะลดน้อยถอยลง แต่ในกลุ่มนี้เส้นมีลักษณะเป็นเส้นโค้งเว้า (Convex) กล่าวคือประสบการณ์ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้นด้วย การพัฒนาทักษะในการทำงานของกลุ่มสาขาวิชานี้ถือเป็นการฝึกฝนขณะปฏิบัติงาน (On the Job Training) ซึ่งเพิ่มผลิตภาพการผลิตได้ เห็นได้จากเงินได้ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากและไม่มีการลดน้อยถอยลงของเงินได้ เมื่อเปรียบเทียบการประมาณการเงินได้ที่นักศึกษาคาดหวังและเงินได้ที่บัณฑิตได้รับพบว่า นักศึกษาคาดหวังเงินได้มากกว่าเงินได้ที่บัณฑิตได้รับ โดย กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มากกว่าเดือนละ 8,203 บาท รองลงมาคือ กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มากกว่า 5,081 บาท และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มากกว่า 2,611 บาทth
dc.description.abstractInvestment in education is a leading human capital investment. People become productive workers providing them employment opportunity and greater income. Today, colleges and universities have offered numerous study programs in response to changes in labor market expectations and values placed on different study programs by students.  In other words, expected career and income after graduation strongly affect the decision on what college study program to pursue.  This study examines the economic value of higher education in Thailand, based on human capital theory, through monetary benefits resulting from investment in undergraduate education, that is, lifetime individual incomes and returns on investment in different study programs. The factors explaining students’ expected income after graduation will be studied as well. Empirical results from the survey of 1,553 students and 1,498 graduates for a total of 3,051 (current and former) students at Ubon Ratchathani University have founded that three groups of students (humanities and social science, science and technology, and health science) expect different income after graduation.  Those in health sciences expect the highest, followed by those in science and technology, and the smallest for those in humanities and social science.  For students whose fathers earn high incomes expect a high income possibly due to family’s financial success would motivate students to study as much as possible to get a good job and high pay. Similarly, students whose mothers are college graduates would expect higher incomes. Because mothers are good role models and encourage their children to pursue higher education for financial success in the future. Male students expect more income than their female counterparts. Age-Earning Profile (AEP), Net Present Value (NPV) and Internal Rate of Return (IRR) of graduates are found to be different.  The highest are health science graduates (AEP 28,994,213 Thai Baht (THB), NPV 3,383,182 THB and IRR 17.24%), followed by science and technology (AEP 17,615,437 THB, NPV 2,449,125 THB and IRR 17.21%) and humanities and social science (AEP 7,528,562 THB, NPV 988,201 THB and IRR 13.85%). Note that the shape of AEP for health science differs.  Jacob Mincer states that labor productivity diminishes as they get older. It is, however, the case for health science graduates, i.e., their AEP is convex to the origin – their skills and productivity grow with more years of experience and on-the-job trainings. When comparing the financial forecasts that students expect and the income of the graduates found that the students expect more money than the graduates received. By humanities and social science is more than 8,203 THB per month, followed by science and technology is more than 5,081 THB and health science is more than 2,611 THB.th
dc.format.extent119 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb204526th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4386th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์th
dc.subject.otherการศึกษาขั้นอุดมศึกษาth
dc.subject.otherทุนมนุษย์th
dc.subject.otherการศึกษา -- ไทยth
dc.titleมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการศึกษาไทยชั้นอุดมศึกษาth
dc.title.alternativeThe economic value of higher education in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesis
mods.genreThesis
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาการเศรษฐกิจth
thesis.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์ธุรกิจth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b204526.pdf
Size:
4.89 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections