ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการทางด้านจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

dc.contributor.advisorดุจเดือน พันธุมนาวินth
dc.contributor.authorดิณห์ ศุภสมุทรth
dc.date.accessioned2019-06-12T09:42:14Z
dc.date.available2019-06-12T09:42:14Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ (Correlational-Comparative Study)ครั้งนี้คือ 1) เพื่อบ่งชี้ตัวทำนายสำคัญและปริมาณการทำนายของสถานการณ์และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินประเภทต่างๆ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและหรืออิทธิพลทางอ้อมของสถานการณ์และจิตลักษณะที่มีต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และ 3) เพื่อระบุกลุ่มเสี่ยงและปัจจัยปกป้องth
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling Method) กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จำนวน 411 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย จำนวน165 คน (40.1%) และ เพศหญิง จำนวน246 คน (59.9%) ในจำนวนนี้มีอายุเฉลี่ย 39.10 ปี และมีอายุงานเฉลี่ย 14.01 ปี ทำงานในเส้นทางระหว่างทวีป จำนวน225 คน (55.1%) ทำงานในเส้นทางภูมิภาค/ภายในประเทศ จำนวน183 คน (44.9%)th
dc.description.abstractเครื่องมือวัดทั้งหมดจำนวน 11 ชุด ส่วนใหญ่เป็นแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่า แบบวัดทุกชุดผ่านการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ค่า Item-Total Correlation และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน แล้วนำไปหาค่าความเชื่อมั่น ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.635 ถึง 0.919 ทั้งนี้ในงานวิจัยนี้มีสมมติฐาน 3 ข้อ จึงมีสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์สมมติฐาน 2 ประเภท ได้แก่ 1) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทั้งแบบ Enter และ Stepwise และ 2) การวิเคราะห์อิทธิพล (Structural Equation Model)th
dc.description.abstractผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3 ข้อนั้นได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลในงานวิจัยเพียงบางส่วน โดยผการศึกษาที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ทัศนคติต่องาน โดยถูกทำนายได้ 55.3% ในกลุ่มรวม และมีตัวทำนายสำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ บรรยากาศองค์การ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บุคลิกภาพเชิงอาชีพบริการ และการประเมินแก่นแห่งตน 2) ความเครียดในงาน โดยถูกทำนายได้ 22% ในกลุ่มรวม และมีตัวทำนายสำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การประเมินแก่นแห่งตน ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และ การสนับสนุนทางสังคม 3) พฤติกรรมการบริการบนเครื่องบิน โดยถูกทำนายได้ 42.5% ในกลุ่มรวม และมีตัวทำนายสำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ทัศนคติต่องาน และการประเมินแก่นแห่งตน 4) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การ โดยถูกทำนายได้ 62.4% ในกลุ่มรวม และมีตัวทำนายสำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ แรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ ทัศนคติต่องาน การสนับสนุนทางสังคม บรรยากาศองค์การ และการประเมินแก่นแห่งตน 5) ผลการวิเคราะห์อิทธิพลพบว่าปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มสถานการณ์ และ ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะเดิม มีอิทธิพลทางตรงไปยังปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 99.9% และยังพบด้วยว่าปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์มีอิทธิพลทางตรงไปยังพฤติกรรมการทำงาน โดยค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 85.3% และนอกจากนั้นยังพบว่า ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะเดิม มีอิทธิพลทางอ้อมไปยังพฤติกรรมการทำงาน โดยพบว่าค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .479 ขณะที่ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มสถานการณ์ มีอิทธิพลทางอ้อมไปยังพฤติกรรมการทำงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .465 และ 6) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีพฤติกรรมการบริการบนเครื่องบินเหมาะสมน้อย คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชาย พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่อายุน้อย พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่อายุงานน้อย และ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่บินในเส้นทางภูมิภาค/ในประเทศ ส่วน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การน้อย คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชายth
dc.description.abstractข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในกลุ่มเสี่ยง 1) การพัฒนาพฤติกรรมการบริการบนเครื่องบิน พบว่า ต้องเพิ่มปัจจัยปกป้ องตามลำดับ คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการสนับสนุนทางสังคม 2) การพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การ พบว่า ต้องเพิ่มปัจจัยปกป้องตามลำดับ คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บรรยากาศองค์การ และการประเมินแก่นแห่งตนth
dc.description.abstractส่วนข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป 1) นอกจากการประเมินตนเองแล้ว อาจพิจารณาเกณฑ์การวัด อื่นๆ เช่น ใช้การประเมินจากหัวหน้า หรือ เพื่อนร่วมงาน เพื่อเปรียบเทียบกันมากยิ่งขึ้น และ 2) ควรทำวิจัยโดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากผู้ฝึกอบรมเพียงอย่างเดียว เพื่อศึกษาปัจจัยเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเหล่านี้ และ 3) ปริมาณการทำนายของเพศหญิงในงานวิจัยนี้ยังมีไม่มากจึงสมควรหาตัวแปรใหม่ที่อาจเกี่ยวข้องในเพศหญิง เช่น ความเชื่ออำนาจในตน ประสิทธิผลแห่งตนในการทำงาน เป็นต้นth
dc.format.extent227 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2015.162
dc.identifier.otherb190495th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4446th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินth
dc.titleปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการทางด้านจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินth
dc.title.alternativeIntegration of psychological and situational antecedents of work behavior in cabin crewth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b190495.pdf
Size:
4.83 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: