การศึกษาความขัดแย้งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ศึกษากรณีโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเทศบาลนครราชสีมา

dc.contributor.advisorพลอย สืบวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorจริยา ชาตะสุวัจนานนท์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:18Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:18Z
dc.date.issued2012th
dc.date.issuedBE2555th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความขัดแย้งในการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงศึกษาลักษณะการเคลื่อนไหว รูปแบบยุทธวิธีของขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคม การใช้ทรัพยากรของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนที่แสดงออกมาต่อ สถานการณ์ความขัดแย้ง พร้อมทั้งปจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จหรือความล้มเหลวของ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมต่อสถานการณ์ความขัดแย้ง ศึกษากรณีโครงการแก้ไขปญหา การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเทศบาลนครนครราชสีมา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มผู้สนับสนุนโครงการ และกลุ่มผู้คัดค้าน วิธีการศึกษาใช้การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่นําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน คือ 1) กระบวนการพิจารณาและตัดสินใจดําเนินโครงการมีข้อบกพร่อง 2) การขาดกระบวนการที่ เหมาะสมในการจัดการความขัดแย้ง 3) ความขัดแย้งในผลประโยชน์ของแต่ละฝาย นอกจากนี้แล้วการรับรู้ และการสื่อสารยังเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มความขัดแย้งอีกด้วย ในส่วนของการ ระดมทรัพยากรที่นํามาใช้ในสถานการณ์ความขัดแย้งของกลุ่มผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มผู้สนับสนุนโครงการ และกลุ่มผู้คัดค้านโครงการ พบว่ามีการใช้ทรัพยากรในรูปแบบ คล้ายคลึงกัน อาทิเช่นหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อบุคคล แผ่นพับ/ใบปลิว โปสเตอร์/ ป้ายผ้า/คัทเอาท์ การยื่นหนังสือถึงบุคคลสําคัญ วิทยุกระจายเสียง เสียงตามสาย/หอกระจายข่าว และการจัดเวทีปราศรัย โดยแนวทางการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้คัดค้าน มีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้ กลยุทธ์การ ยึดพื้นที่ทางการเมือง กลยุทธ์การต่อสู้ทางการเมืองเชิงสัญลักษณ์กลยุทธ์การสื่อสารทาง การเมือง กลยุทธ์การต่อสู้ทางกฎหมาย และกลยุทธ์การแสวงหาพันธมิตร นอกจากนั้นยังมี ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อความสําเร็จหรือความล้มเหลวของการเคลื่อนไหวทางสังคม 3 ปัจจัย ได้แก่ ผู้นํา/แกนนํา สมาชิก เครือข่ายพันธมิตรและการสร้างพันธมิตร ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการกับความขัดแย้ง คือ ภาครัฐควร มีการศึกษาถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากโครงการให้รอบด้าน พร้อมทั้งสร้างองค์ความรู้และ ความเชื่อมั่นในเรื่องเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้ภาค ประชาชนหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปมีส่วนร่วมของการกําหนดนโยบาย เมื่อเกิด สถานการณ์ความขัดแย้งควรปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการหรือพนักงานทีมีต่อประชาชน ในส่วนภาคประชาชนต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยสร้างทัศนคติใหม่ พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำ และสิ่งที่สําคัญที่สุดคือ ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันจัดเวที เสวนา เพื่อวางแนวทางยุทธศาสตร์เรื่องการบริการจัดการทรัพยากรน้ำให้ชัดเจนและอยู่บน พื้นฐานข้อเท็จจริงth
dc.format.extent174 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2012.23
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1094th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccTC 513 .T5 จ17 2012th
dc.subject.otherการจัดการน้ำ -- ไทย -- นครราชสีมา -- เทศบาลนครราชสีมาth
dc.titleการศึกษาความขัดแย้งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ศึกษากรณีโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเทศบาลนครราชสีมาth
dc.title.alternativeConflict in the management of water resources case study water shortage management project in the Nakhon Ratchasima Municipalityth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b176598.pdf
Size:
49.67 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections