การสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนป่าตรง จังหวัดปราจีนบุรี

dc.contributor.advisorสุพรรณี ไชยอำพรth
dc.contributor.authorวงศ์ตระกูล มาเกตุth
dc.date.accessioned2019-06-13T07:06:16Z
dc.date.available2019-06-13T07:06:16Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการอาหารในระดับชุมชน 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน ผู้ศึกษาได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยยึดหลักตรรกะและเทียบเคียงกับแนวคิดทฤษฎีควบคู่กับบริบทของชุมชน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาประกอบเพื่อความชัดเจนเป็นรูปธรรมth
dc.description.abstractผลการศึกษาพบว่าth
dc.description.abstract1. วิธีการจัดการอาหารในระดับชุมชนป่าตรง* ได้แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) ในช่วงเวลาปกติ กล่าวคือ ชาวชุมชนป่าตรง* ได้มีการสำรองอาหารไว้กิน เช่น หน่อไม้ดอง ปลาร้า เห็ดตากแห้ง ปลาแดดเดียว และไข่เค็ม มีการปลูกพืชหมุนเวียน เพาะปลูกพืชอาหารไว้บริเวณรอบ ๆ พื้นที่บ้านหรือที่อยู่อาศัย 2) ในช่วงเวลาฉุกเฉินหรือเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วม กล่าวคือ ชาวชุมชนป่าตรง* มีอาหารไว้กินเมื่อครั้ง เกิดน้ำท่วมหรือภัยพิบัติ เนื่องจากมีการถนอมอาหาร/แปรรูปอาหารไว้กิน โดยผ่านวิธีการหมักดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อีกทั้งยังมีอาหารอยู่กินได้ประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ขณะเกิดภัยพิบัติ 3) ในช่วงขาดแคลน กล่าวคือ ชาวชุมชนป่าตรง* มีการแบ่งปันอาหารซึ่งกันและกัน เพราะว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ใกล้ชิดสนิทสนม และอยู่อาศัยกันแบบญาติพี่น้อง อีกทั้งมักช่วยเหลือกันเมื่อยามตกทุกข์ได้ยากth
dc.description.abstract2. วิธีการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน แบ่งออกเป็น 3 วิธีการ คือ 1) การเก็บ/สะสมอาหาร กล่าวคือ ชาวชุมชนใช้การสำรองอาหารไว้กินในยามฉุกเฉิน รักษาคุณค่าของอาหาร ยืดอายุให้แก่อาหาร และการมีอาหารไว้ภายในบ้านก็จะทำให้สามารถป้องกันความหิวโหยของคนในครอบครัวได้ 2) การทำให้พืชผลธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และสร้างบ่อกักเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการเพาะปลูกสำหรับในแต่ละครอบครัว 3)การถนอม/แปรรูปอาหาร เพื่อต้องการรักษาคุณค่าทางอาหาร เพิ่มมูลค่า และเพิ่มช่องทางรายได้ให้แก่ครอบครัว โดยผ่านวิธีการแปรรูปอาหาร ทั้งการหมักดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง ซึ่งอาหารที่มักทำกันก็คือ ปลาร้า ปลาแดดเดียว ปลาเกลือ หน่อไม้ดอง ผลไม้ดอง/แช่อิ่ม กล้วยตาก และไข่เค็มth
dc.description.abstract3. ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน กล่าวคือ บุคคลยังไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในรูปแบบอื่น ๆ นอกไปจากที่บรรพบุรุษได้ทำกันมา โดยมองว่ายังเป็นเรื่องของอนาคต ความขัดแย้งระหว่างบุคคลและกลุ่มภายในชุมชน ผู้นำชุมชนยังไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหา ความมั่นคงทางอาหาร หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน ไม่ให้การสนับสนุนจริงจัง และศักยภาพของกลุ่ม/องค์กรภายในชุมชนยังไม่มีความเข้มแข็งth
dc.description.abstractข้อเสนอแนะสำคัญจากการศึกษา กล่าวคือ ทุก ๆ คนควรส่งเสริมการผลิตอาหารและสำรองอาหารด้วยตนเองให้มากขึ้น หน่วยงานในระดับท้องถิ่นควรให้การสนับสนุนในเรื่องการให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร พร้อมทั้งให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณ โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลัก และหน่วยงานภาคีเครือข่ายควรเข้ามาจัดกิจกรรมสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน พร้อมทั้งเปิดโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาให้ชุมชนสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชนได้th
dc.format.extent171 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2015.174
dc.identifier.otherb190497th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4450th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherความมั่นคงทางอาหาร -- ไทยth
dc.subject.otherอาหารth
dc.titleการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนป่าตรง จังหวัดปราจีนบุรีth
dc.title.alternativeMaking guarantee for food security at a community level: a study at Patrong Community Prachinburi Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b190497.pdf
Size:
3.08 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections