การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการลดน้ำหนักกากตะกอนน้ำเสียโดยวิธีพัดลม พัดลมร้อน และหลังคาโปร่งแสง

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดา, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorธัญญารัตน์ พลพันธ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:27:02Z
dc.date.available2014-05-05T09:27:02Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,th
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการลดน้ำหนัก กากตะกอนน้ำเสียโดยใช้วิธีพัดลม พัดลมร้อน และหลังคาโปร่งแสง 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ การลดน้ำหนักกากตะกอนน้ำเสีย และ 3) ศึกษาวิธีที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการลดน้ำหนัก กากตะกอนน้ำเสีย ของ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด สาขาโรงงานบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการเก็บตัวอย่างกากตะกอนน้ำเสียจากลานตากกากตะกอนและนำมาทำ การทดลองทั้งสิ้น 8 งวด ในช่วงเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม- พฤษภาคม 2556 และนำผล มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติT-test และ ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากการศึกษา พบว่า การใช้หลังคาโปร่งแสงใหม่มีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักกากตะกอนได้มากที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 57.20 มีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีเดิม คือการตากโดยหลังคาโปร่งแสงเก่าเพียงอย่างเดียว เฉลี่ยร้อยละ 15 รองลงมาเป็นการใช้พัดลมธรรมดา มีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักกาก ตะกอนน้ำเสียเฉลี่ยร้อยละ 52.49 ประสิทธิภาพดีกว่าวิธีเดิมร้อยละ 10 โดยที่ระดับความเร็วลม ของพัดลมไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการลดน้ำหนักกากตะกอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และการใช้พัดลมร้อนมีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักกากตะกอนน้ำเสียได้เฉลี่ยร้อยละ 45.26 ประสิทธิภาพมากกว่าวิธีเดิมร้อยละ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการลดน้ำหนักกากตะกอนน้ำเสีย ได้แก่ ความชื้นตะกอนก่อนตาก ฤดูกาล และความชื้นสัมพัทธ์อากาศซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการ ลดน้ำหนักกากตะกอนน้ำเสีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต ที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าหากความชื้น ตะกอนก่อนตากมีค่าสูง หรือช่วงที่มีฝนตก และมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ประสิทธิภาพในการลด น้ำหนักกากตะกอนจะลดลง และแนวทางในการนำไปพัฒนาประสิทธิภาพการลดน้ำหนักกากตะกอนน้ำเสียทำการประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ พบว่า วิธีพัดลม มีความเหมาะสมและเป็นไปได้สูงในการดำเนินการปรับปรุง โดยมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ร้อยละ 84.98 ส่วน หลังคาโปร่งแสง และพัดลมร้อนมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ระดับปานกลาง โดยหลังคาโปร่ง แสงมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ร้อยละ 63.32 และพัดลมร้อนมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ ร้อยละ 61.61 ตามลำดับ ท้องนี้การนำแต่ละวิธีไปทำการปรับปรุงขึ้นกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ นั้นๆth
dc.format.extent136 แผ่น : ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2041th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการลดน้ำหนักกากตะกอนน้ำเสียโดยวิธีพัดลม พัดลมร้อน และหลังคาโปร่งแสงth
dc.title.alternativeComparison of efficiency and feasibility of weight reduction of wastewater sludge by fan, heat fan and translucent roofth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b180560.pdf
Size:
8.92 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections