ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาดและพฤติกรรมการตั้งใจซื้อของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศในท่าอากาศยานเมืองรอง

dc.contributor.advisorวรรษิดา บุญญาณเมธาพรth
dc.contributor.authorณัฐชนก พงศ์สุทธิยากรth
dc.date.accessioned2022-02-28T07:33:45Z
dc.date.available2022-02-28T07:33:45Z
dc.date.issued2020th
dc.date.issuedBE2563th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินการรับรู้ของผู้โดยสารชาวไทยที่มีต่อนวัตกรรมทางการตลาดของสายการบินภายในประเทศที่ให้บริการในท่าอากาศยานเมืองรอง 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยการเลือกใช้บริการและการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาดสายการบินของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศที่ให้บริการในท่าอากาศยานเมืองรอง 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการเลือกใช้บริการสายการบินที่มีต่อการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาดสายการบินของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศที่ให้บริการในท่าอากาศยานเมืองรอง 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการเลือกใช้บริการสายการบินที่มีต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศที่ให้บริการในท่าอากาศยานเมืองรอง 5) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศในท่าอากาศยานเมืองรอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศในท่าอากาศยานเมืองรอง โดยสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 710 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ          ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินการรับรู้ของผู้โดยสารชาวไทยที่มีต่อนวัตกรรมทางการตลาดของสายการบินภายในประเทศที่ให้บริการในท่าอากาศยานเมืองรองอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยรวมทุกองค์ประกอบเท่ากับ 3.79 2) องค์ประกอบของปัจจัยการเลือกใช้บริการและการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาดสายการบินของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศที่ให้บริการในท่าอากาศยานเมืองรอง พบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของปัจจัยการเลือกใช้บริการสายการบิน มีจำนวน 23 ตัวแปร 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านทัศนคติและการรับรู้ ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางวัฒนธรรม ขณะที่ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของนวัตกรรมการตลาดของสายการบิน มีจำนวน 39 ตัวแปร 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการให้บริการ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านราคาบริการเสริม ด้านคุณค่าเฉพาะตัว ด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และด้านราคาบัตรโดยสาร 3) ผลการทดสอบอิทธิพลของการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณของอิทธิพลของปัจจัยการเลือกใช้บริการสายการบินที่มีต่อการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาดสายการบินของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศที่ให้บริการในท่าอากาศยานเมืองรอง พบว่า มีจำนวน 17 ตัวแปรย่อย ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านทัศนคติและการรับรู้ ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางวัฒนธรรม 4) ผลการทดสอบอิทธิพลของการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณของอิทธิพลของปัจจัยการเลือกใช้บริการสายการบินที่มีต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศที่ให้บริการในท่าอากาศยานเมืองรอง มีจำนวน 13 ตัวแปรย่อย ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านทัศนคติและการรับรู้ ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางวัฒนธรรม 5) ผลการทดสอบอิทธิพลของการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณของอิทธิพลของการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศในท่าอากาศยานเมืองรอง มีจำนวน 24 ตัวแปรย่อย ใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านราคาบริการเสริม ด้านคุณค่าเฉพาะตัว ด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และด้านราคาบัตรโดยสาร          จากผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยเสนอแนวทางการสร้างพฤติกรรมการตั้งใจใช้บริการสายการบินของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศในท่าอากาศยานเมืองรอง โดยมี 2 แนวทางสำคัญ คือ แนวทางที่1 สร้างพฤติกรรมการตั้งใจใช้บริการสายการบินโดยคำนึงถึงปัจจัยการเลือกใช้บริการสายการบิน โดยสายการบินควรจัดอบรมพนักงานในเรื่องการบริการอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้พนักงานมีการบริการที่ดีตรงตามความต้องการของผู้โดยสาร รวมถึงควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน และมีเส้นทางการบินที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังควรมีการจัดโปรโมชั่นราคาตั๋วโดยสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่าง ๆ ของสายการบินอยู่สม่ำเสมอ อีกทั้งราคาบัตรโดยสารและราคาบริการเสริมควรมีความเหมาะสมกับบริการที่ได้รับ และแนวทางที่ 2 สร้างพฤติกรรมการตั้งใจใช้บริการสายการบินโดยใช้นวัตกรรมทางการตลาดของสายการบิน โดยสายการบินควรมีความปลอดภัย มีการสร้างประสบการณ์ที่ดีเดินทางในการเดินทางให้กับผู้โดยสาร และสามารถอธิบายให้ผู้โดยสารเข้าใจในเงื่อนไขการบริการ รวมถึงควรมีมาตรฐานการบริการที่ดีสม่ำเสมอ รวมถึงการบริการของสายการบินควรเป็นการบริการอย่างไทย และควรสื่อสารด้วยภาษาไทย          การวิจัยครั้งนี้มีผลประโยชน์ต่อทางด้านวิชาการ คือ ทำให้ทราบถึงปัจจัยการเลือกใช้บริการ และการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาด รวมถึงการตั้งใจซื้อของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินในท่าอากาศยานเมืองรอง ซึ่งนักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจศึกษา สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการศึกษา หรือต่อยอดงานวิจัยเพื่อพัฒนาการตั้งใจซื้อให้มีประสิทธิภาพและชัดเจนมากขึ้น รวมถึงมีผลประโยชน์ต่อทางด้านการบริหารจัดการ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน หรือธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ สามารถนำผลการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยการเลือกใช้บริการ และการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาด รวมถึงการตั้งใจซื้อของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินในท่าอากาศยานเมืองรองที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างการรับรู้ทางการตลาดให้กับสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการและความตั้งใจซื้อของผู้โดยสารและนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดีมากยิ่งขึ้นth
dc.description.abstractThis research aimed to  a) evaluate Thai passengers’ perception towards domestic airlines’ marketing innovation based in the secondary cities, b) to investigate the factors of airline service’s alternatives and Thai passengers’ perceptions towards domestic airlines’ marketing innovation based in the secondary cities, c) to examine the effect of the alternatives to airline service factors that affected Thai passengers’ perceptions towards domestic airlines’ marketing innovation based in the secondary cities, d) to examine the effect of the alternatives to airline service factors that affects Thai passengers’ purchasing intention who  traveled by domestic airlines based in the secondary cities, e) to study the effect of the perception in the aspect of marketing innovation that influenced Thai passengers’ purchase intention who traveled by domestic airlines based in the secondary cities. This paper was the quantitative research. A questionnaire was used to collect data. The sampling in this study was 710 passengers who traveled by domestic airlines in the secondary cities in Thailand by means of convenience sampling. The data analysis was descriptive analysis and inferential statistics: Exploratory Factor Analysis (EFA) and multiple regression analysis.           The findings were as follows: according to the first objective, it revealed that Thai passengers’ perception towards domestic airlines’ marketing innovation based in the secondary cities was high, x̄ = 3.79. In relation to the second objective, in terms of alternatives to airline service factor, 23 variables and 4 factors were found: a) motivation, b) attitude and perception, c) society, and d) culture. In terms of domestic airlines marketing innovation, 39 variables and 6 factors were revealed: a) service, b) physical setting, c) additional service charge, d) unique values, e) integrated marketing communication, f) and ticket fare. As the third objective, 17 sub-variables and 4 aspects were shown: a) motivation, b) attitude and perception, c) society, and d) culture. According the fourth objective, 13 sub-variables and 4 aspects were indicated: a) motivation, b) attitude and perception, c) society, and d) culture. The last objective showed that 24 sub-variables in 6 aspects affected Thai passengers’ purchase intention namely, a) service, b) physical setting, c) additional service charge, d) unique values,  e) integrated marketing communication, and f) ticket fare.           The findings under this study could be beneficial guidelines for both airline businesses and academic circumstance. In terms of airline businesses, the two main guidelines were, first, the alternatives to airline service should be created. Airline staff should be trained in terms of service regularly in order to respond the passengers’ needs. The facilities should be well-provided, and the various flight routes should be promoted. In addition, the promotions about ticket fares and interesting information should be generally publicised. Second, the airline marketing innovation should be constructed. The airline flights should be safe and promote the good experience in traveling by domestic airlines to the passengers. The airline staff should be able to explain or give information about the service condition to the passengers correctly. The service standard should be maintained, and the airlines should have a service in Thai manner with Thai language used for communication.           In relation to the academic circumstance, the findings from this study could enable the passengers to make the suitable decision and perceive the marketing innovation, including the passengers’ purchase intention who  travel by domestic airlines based in the secondary cities. These findings could be advantages among students, researchers, and others who are interested in this field for studying and furthering for the utmost benefits. According to the administration, the airline companies or related-service businesses could create their own marketing innovation perception. This also enables to respond the passengers’ needs properly.th
dc.format.extent230 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2020.72
dc.identifier.otherb212323th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5577th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectนวัตกรรมการตลาดth
dc.subjectผู้โดยสารสายการบินth
dc.subject.otherสายการบินth
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้นวัตกรรมทางการตลาดและพฤติกรรมการตั้งใจซื้อของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินภายในประเทศในท่าอากาศยานเมืองรองth
dc.title.alternativeFactors influencing the perception of marketing innovation and purchasing intention of Thai passengers using domestic airlines in the regional secondary airportth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะการจัดการการท่องเที่ยวth
thesis.degree.disciplineการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameการจัดการมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b212323.pdf
Size:
7.86 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections