ปัญหาการบังคับจำนองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดี

dc.contributor.advisorประพิน นุชเปี่ยมth
dc.contributor.authorธีระพล พิมลกิจรักษ์th
dc.date.accessioned2020-06-09T02:43:29Z
dc.date.available2020-06-09T02:43:29Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractการบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) เป็นการใช้สิทธิที่มีอยู่ของผู้รับจำนอง แต่การใช้สิทธิของผู้รับจำนองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีไปแล้ว ไม่สามารถทำได้ แม้ความเป็นทรัพยสิทธิยังคงมีอยู่ ตามแนวคำพิพากษาฎีกา (ประชุมใหญ่) ทำให้เกิดประเด็นปัญหาทางกฎหมายถึงการรองรับความเป็นทรัพยสิทธิจำนองตาม ป.พ.พ. ว่าสิทธิจำนองเป็นทรัพยสิทธิหรือไม่ และปัญหาว่าการบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไปแล้ว จะสามารถบังคับจำนองได้หรือไม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงศึกษาถึงหลักการและแนวคิดว่าด้วยความเป็นทรัพยสิทธิกับสิทธิจำนอง อายุความ และระยะเวลาในการบังคับคดีเอากับทรัพย์สินที่ติดจำนอง โดยศึกษาเปรียบเทียบสถานะสิทธิจำนอง และการบังคับจำนองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติใน ป.พ.พ. ที่เกี่ยวกับสิทธิจำนองยังไม่มีความชัดเจนทั้งในเรื่องการรองรับความเป็นทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้จดทะเบียนจำนอง และการบังคับจำนองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ สิทธิจำนองตามป.พ.พ. แม้จะมีลักษณะมีผลผูกพันต่อบุคคลทั่วไป (erga omnes) แต่ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นทรัพยสิทธิที่จะต้องถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในกฎหมาย (numerus clausus) และการบังคับจำนองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดี ไม่สามารถทำได้แม้ทรัพยสิทธิจำนองยังคงมีอยู่ ในขณะที่กฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีการรองรับความเป็นทรัพยสิทธิไว้ในบทบัญญัติของกฎหมายหรือรองรับไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน และระบุเหตุที่จะทำให้จำนองระงับสิ้นไปไว้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนวทางในการกำหนดความเป็นทรัพยสิทธิให้ชัดเจนในบทบัญญัติกฎหมาย และเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาการบังคับจำนองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีth
dc.description.abstractThe enforcement of mortgage under the Civil and Commercial Code involves the invocation of the mortgagee’s right. However, following a lapse of the time prescribed as the mortgage enforcement period, the enforcement cannot be undertaken, even though the right to the mortgaged property still resides with the mortgagee, as upheld by the Supreme Court judgment (at a plenary session). This raises the legal problem relating to the ratification of the right to the mortgaged property under the Civil and Commercial Code; that is, whether the mortgage has resulted in such a right, and the problem of whether after the lapse of the enforcement time under the Civil Procedure Code the mortgage enforcement is still legally permissible. This Thesis explores the principles and concepts involving real rights and mortgaging, prescription and the time limit for mortgage enforcement. This Thesis is a comparative study of the rights to mortgaged property and mortgage enforcement with a particular reference to the relevant law in France and Germany. The study has found that the provisions in the Civil and Commercial Code on mortgage are not clear in both the ratification of the real right over the mortgaged property and mortgage enforcement following the lapse of time within which this legal measure must be taken, in accordance with the Civil Procedure Code. That is, whereas mortgage under the Civil and Commercial Code gives rise to bound everyone (erga omnes), this is still not regarded as constituting (numerus clausus) under the law, and the mortgage enforcement following the lapse of the time period for this undertaking is not possible even though the real right is still legally upheld. In France and Germany the real rights are incorporated in legal provisions or endorsed under property law, and the conditions for the revocation of the mortgage are clearly and consistently identified. This Thesis presents supporting for real right over mortgaged property on the provision and propose guidelines to improve the provision to be appropriate for mortgage enforcement after the lapse of time.th
dc.format.extent140 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb207950th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4985th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectทรัพยสิทธิth
dc.subjectบังคับจำนองth
dc.subjectอายุความth
dc.subjectสิทธิจำนองth
dc.subject.otherการบังคับคดีth
dc.titleปัญหาการบังคับจำนองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีth
dc.title.alternativeProblems of mortgage enforcement after the lapse of timeth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b207950.pdf
Size:
2.11 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections