การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต

dc.contributor.advisorกนกกานต์ แก้วนุชth
dc.contributor.authorสิรินภา จงเกษกรณ์th
dc.date.accessioned2022-08-15T09:10:32Z
dc.date.available2022-08-15T09:10:32Z
dc.date.issued2021th
dc.date.issuedBE2564th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและแรงผลักดันเข้าร่วมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน กลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 2. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ในการจัดการการท่องเที่ยว ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 3. เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนในชุมชนกลุ่ม Gen Y (อายุระหว่าง 23-40ปี) พื้นที่บริเวณภายในและบริเวณโดยรอบของชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต และเมืองเก่าชาร์เตอร์แบงค์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งประกอบไปด้วย ถนนกระบี่ ถนนภูเก็ต ถนนเยาวราช ถนนพังงา และถนนถลาง จำนวน 300 คน โดยการใช้สูตรการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ W.G. Cochran (1953) กลุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ ต้องเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ควบคู่กับวิธีการสุ่มแบบสะดวก (Convenience Sampling) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ผลการวิจัยพบว่า แรงผลักดันเข้าร่วมของคนในชุมชน กลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านผลประโยชน์จากการเข้าร่วม อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านความผูกพันกับชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง ( มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.76) ปัจจัยด้านความเข้มแข็งของเครือข่ายชุมชน อยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.09) และต่ำที่สุด คือ ปัจจัยด้านอิทธิพลของผู้นำ อยู่ในระดับน้อยที่สุด (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.49) และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับและแบ่งผลประโยชน์ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.23) รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.94) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูล มีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.07) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.06) และต่ำที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล มีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อยที่สุด (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ1.73)  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากคำถามจำนวน 12 ข้อ พบว่าคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y มีความรู้ ความเข้าใจในระดับสูงเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำนวน 6 ข้อ มีความรู้ ความเข้าใจในระดับปานกลาง จำนวน 1 ข้อ และมีความรู้ ความเข้าใจต่ำเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำนวน 5 ข้อth
dc.description.abstractThe purposes of this research were 1. To study personal factors and participation forces that affect the participation of people in the Gen Y community at Phuket Old Town, 2. To study the level of participation of people in the Gen Y community in tourism management at Phuket Old Town, 3. To evaluate the knowledge and understanding of the concept of sustainable tourism of people in the Gen Y community at Phuket Old Town, 4. To suggest guidelines for developing the participation of people in the Gen Y community in sustainable tourism management at Phuket Old Town. The study employed the quantitative research methods. The samples of the study were of people in the Gen Y community in the area within and around the community in Phuket Old Town and Chartered Bank Old Town. Located in Phuket Municipality, Talat Yai Subdistrict, Mueang District, Phuket Province These include Krabi Road, Phuket Road, Yaowarat Road, Phang Nga Road and Thalang Road total 300 samples (aged between 23-40 years old) by using the formula of W.G. Cochran (1953) and using purposive sampling, The criteria for selection is to be a person whose name is in census at Phuket Old Town and go together with convenience sampling were conducted to get the study samples. This research used a questionnaire to collect primary data. The study revealed that the factors affecting the participation of people in the Gen Y community at Phuket Old Town. The aspect with the highest average was the benefit factor (average 4.01) followed by the factor of community engagement. At the moderate level (average 2.76). Factors on the strength of community networks at a low level (average 2.09) and the lowest was the influence factor of the leader (average 1.49) and participation of people in the community in tourism management at Phuket Old Town Overall, it was at a low level. (average 2.40) When considering each aspect, it was found that the aspect with the highest mean was participation in receiving and sharing benefits. Participation was at a moderate level. (average 3.23), followed by participation in operations Participation was at a moderate level. (average 2.94) The aspect of participation in the perception of information Participation was at a low level. (average 2.07) on participation in decision-making Participation was at a low level. (average 2.06) and the lowest was participation in monitoring and evaluation. (average 1.73) The results about knowledge Understanding Sustainable Tourism Management concept Out of 12 questions, It was found that people in the Gen Y group had a high level of knowledge and understanding of 6 question of sustainable tourism management, moderate  level of knowledge and understanding of 1 question and low level of knowledge and understanding of 5 question.  th
dc.format.extent143 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2021.19
dc.identifier.otherb213843th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5990th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectเจนเนอเรชั่นวายth
dc.subject.otherการพัฒนาแบบยั่งยืนth
dc.subject.otherการท่องเที่ยวโดยชุมชนth
dc.subject.otherการท่องเที่ยว -- การมีส่วนร่วมของประชาชนth
dc.titleการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ตth
dc.title.alternativeDeveloping the participation of people in the generation Y community in sustainable tourism management case study of Phuket Oldtownth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะการจัดการการท่องเที่ยวth
thesis.degree.disciplineการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameการจัดการมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b213843.pdf
Size:
4.81 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections