สถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานไทยหลังกลับจากการทำงานต่างประเทศ : ศึกษาเปรียบเทียบตามประสบการณ์ประเทศที่ไป

dc.contributor.advisorประเสริฐ รักไทยดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorกนกพร มโนรัตนาth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:06Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:06Z
dc.date.issued1997th
dc.date.issuedBE2540th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.th
dc.description.abstractสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานไทยหลังกลับจากการทำงานต่างประเทศศึกษาเปรียบเทียบตามประสบการณ์ประเทศที่ไป มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ / 1. ศึกษาถึงสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานไทย หลังกลับจากการทำงานต่างประเทศ / 2.เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างแรงงานที่ไปทำงานประเทศไต้หวันกับประเทศอื่น ๆ / ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแรงงานไทยที่กลับจากการทำงานต่างประเทศที่ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา จำนวนตัวอย่าง ทั้งสิ้น 120 ชุด โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงโดยกระจายตามพื้นที่ที่ทำการศึกษา / ผลการศึกษา / 1. สาเหตุของการตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่แรงงานที่เคยไปทำงานต่างประเทศไต้หวันและประเทศอื่น ๆ เนื่องจากรายได้ในการประกอบอาชีพไม่พอเพียง / 2. สถานภาพทางด้านเศรษฐกิจก่อนไป และหลังกลับจากทำงานต่างประเทศของแรงงานไทย ศึกษาเปรียบเทียบตามประสบการณ์ประเทศที่ไป พบว่า แรงงานก่อนไปทำงานต่างประเทศ ทั้งที่ในไต้หวันและประเทศอื่น ๆ สถานภาพทางด้านเศรษฐกิจไม่แตกต่างกัน คือ มีภาวะหนี้สินมากมีภาวะการออมน้อย แต่เมื่อกลับจากการทำงานต่างประเทศ พบว่ามีความแตกต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ ภาวะหนี้สินมีน้อยลง การออกมมีมากขึ้น แต่เมื่อพิจารณาด้านรายได้และรายจ่าย พบว่า แรงงานทั้งสองกลุ่มประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน แต่มีข้อน่าสังเกตุคือ แรงงานที่เคยไปทำไต้หวัน มีความต้องการอยากไปทำอีก ส่วนแรงงานประเทศอื่น ๆ ไม่มีความต้องการ.th
dc.description.abstract3. สถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวแรงงานก่อนไปทำงานต่างประเทศ และหลังจากการทำงานต่างประเทศ ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างแรงงานที่เคยไปทำงานประเทศไต้หวันและประเทศอื่น ๆ พบว่า ครอบครัวของแรงงานก่อนไปทำงานต่างประเทศ มีภาวะหนี้สินถึง ร้อยละ 75.8 แต่เมื่อกลับการทำงานต่างประเทศต่างประเทศ ภาวะหนี้สินลดลงเหลือเพียง 47.8 ในขณะเดียวกันภาวะการออมเงินจากเดิม ก่อนไปทำงานต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไม่มีออม แต่เมื่อกลับจากการทำงานต่างประเทศมีการออมเงินมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครอบครัวแรงงานทั้งสองกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างชัดเจนของครอบครัวของแรงงานที่เคยไปทำงานประเทศไต้หวันและประเทศอื่น ๆ / 4. การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างที่เคยไปทำงานประเทศไต้หวัน และประเทศอื่น ๆ พบว่า แรงงานทั้งสองกลุ่มมีการนำความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานต่างประเทศมาใช้ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว ค่อนข้างน้อยมาก และการนำความรู้มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน พบว่า ยังมีการนำมาใช้น้อยมาก แต่ในเรื่องอาชีพ พบว่า แรงงานที่เคยไปทำงานประเทศอื่น ๆ มีการนำความรู้มาใช้กับอาชีพปัจจุบันมากกว่า แรงงานที่เคยไปทำประเทศไต้หวัน / ข้อเสนอแนะ / เนื่องจากแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศจำนวนมาก และผลของการที่แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศช่วยให้รัฐมีรายได้ และลดปัญหาสังคม รัฐจึงควรส่งเสริมให้แรงงานได้ไปทำอย่างถูกต้อง และมีมาตรการคุ้มครองแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อช่วยเสริมให้แรงงานไทยได้ทำงานตามความสามารถ และสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาตนเองและครอบครัวต่อไปในอนาคตth
dc.description.abstractThe survey was one for the following three purpose: / 1. To fine out in economic status of Thai labourers and their families after returing from abroad. / 2. To compare the Thai labour group in Taiwan and those in other countries. / 3. To make some recommendation for the practical national policy. / A questionnaire was employed to collect the data from 120 labourers who returned to Thiland and lived in Tambon Khamthalaysor, Amphoe Khamthalaysor, Changwad Nakornratchasima. The subjects were purposively selected from different areas. / The following were found: / 1. Reasons for deciding to work overseas. Most Thai oabourers went to work in Taiwan and in other countries because they could not earn enough money for their living, and because the oversea wage was higher than that in Thailand.th
dc.description.abstract2. Comparison of their economic status before and after retunring form abroad, it was found that there was no significant differencein economic status between both groups before they went abroad. They had a lot of debts and had litle saving. That is, they had fewer debts and could have more savings. When the income and the expenditure of bouth groups were considered, no significant difference was found. / 3. Household economic status before and after returning from abroad. Before the Thai laboureres went abroad, about 75.8 percent was in debt, but when they returned home, only 47.8 percent still remained in debt. At the same time, before this they had no saving but now they did. No significant was found between the group that went to Taiwan and other group that went to other countries.th
dc.description.abstract4. Application of acquired skils in daily life. It was found that both groups applied only a little knowledge and skils acquired oveseas to developthemselves and their families. This was also the case for 1the development of their communities. Nevertheless, the Thai labourers who worked in other countries could apply their knowledge and skills to their work more than those who worked in Thaiwan. / Recommendations : / Many Thai labourers go to work overseas, which ehlped increase the country's revenue and reduce the social problems. The government, therefore, should promote them to work legally there. Labour protection measures should be set to help overseas Thai laabourers so that they can get the right jobs and can apply the knowledge and skills acquired from abroad to develop themselves, their families and the country in the future.th
dc.format.extent[10], 81 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซมth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1705th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHD 5856 .T5 ก15th
dc.subject.otherการย้ายถิ่นของแรงงาน -- ไทยth
dc.subject.otherแรงงาน -- ไทยth
dc.titleสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานไทยหลังกลับจากการทำงานต่างประเทศ : ศึกษาเปรียบเทียบตามประสบการณ์ประเทศที่ไปth
dc.title.alternativeEconomic status of the returned Thai emigrants labours : a comparative study on experiences of destination countriesth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการจัดการการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b77594.pdf
Size:
1.87 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections