การศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานท่องเที่ยวของชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง

dc.contributor.advisorเกศรา สุกเพชรth
dc.contributor.authorฐิติวราภรณ์ พูลทรัพย์th
dc.date.accessioned2022-11-15T04:53:52Z
dc.date.available2022-11-15T04:53:52Z
dc.date.issued2021th
dc.date.issuedBE2564th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานท่องเที่ยวของชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของประสิทธิผลการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลางต่อประสิทธิผลการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง ได้แก่ 1. ชุมชนบางเจ้าฉ่า จ. อ่างทอง 2. ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สิงห์บุรี 3. ชุมชนบ้านหนองโขลง  จ.สิงห์บุรี 4. ชุมชนเสาไห้ จ. สระบุรี 5. ชุมชนหนองแซง จ. สระบุรี 6. ชุมชนบ้านบางแม่หม้าย จ. สุพรรณบุรี 7. ชุมชนชุมชนคลองจิก จ. พระนครศรีอยุธยา 8. ชุมชนคลองโยง จ. นครปฐม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) ของโมเดลสมการโครงสร้างการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง ผลการศึกษาพบว่าผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลการวัดของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง พบว่าผ่านทุกเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนดไว้ จึงสรุปได้ว่า โมเดลการวัดของตัวแปรแฝงในโมเดลสมการโครงสร้างที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เนื่องจากมีค่าดัชนีผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกดัชนี จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง ประกอบด้วย การจัดการด้านคน (CBT_HUM) การจัดการด้านพื้นที่ (CBT_AREA) การจัดการด้านบริหารจัดการ (CBT_MAN) และการจัดการด้านการมีส่วนร่วม (CBT_PAR) โดยการจัดการด้านพื้นที่ (CBT_AREA) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุดเท่ากับ 0.96 รวมถึงผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลการวัดของประสิทธิผลของการดำเนินงานของการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลางกลางพบว่าผ่านทุกเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนดไว้ จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการดำเนินงานของการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลางกลาง ประกอบด้วย ประสิทธิผลทางด้านรายได้ (BSC_REV) ประสิทธิผลทางด้านนักท่องเที่ยว (BSC_TOUR) ประสิทธิผลทางด้านกระบวนการดำเนินงานภายใน (BSC_PRO) และประสิทธิผลทางด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (BSC_LRN) โดยประสิทธิผลทางด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (BSC_LRN) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุดเท่ากับ 0.89 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) ของโมเดลสมการโครงสร้างการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง พบว่าการจัดการด้านพื้นที่ (CBT_AREA) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกสูงสุดต่อประสิทธิผลทางด้านรายได้ (BSC_REV) โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.40 การจัดการด้านบริหารจัดการ (CBT_MAN) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกสูงสุดต่อประสิทธิผลทางด้านนักท่องเที่ยว (BSC_TOUR) โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.45 การจัดการด้านพื้นที่ (CBT_AREA) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกสูงสุดต่อประสิทธิผลทางด้านกระบวนการดำเนินงานภายในกลุ่มชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง (BSC_PRO) โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.52 การจัดการด้านพื้นที่ (CBT_AREA) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกสูงสุดต่อประสิทธิผลทางด้านการเรียนรู้และการพัฒนาของคนในชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง (BSC_LRN) โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.39 จากผลการศึกษา ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางสำหรับสร้างประสิทธิผลการดำเนินงานท่องเที่ยวของชุมชนวิถีชาวนาภาคกลาง ได้ทั้งหมด 4 แนวทาง ได้แก่ แนวทางสำหรับสร้างประสิทธิผลทางด้านรายได้โดยการพัฒนาการจัดการด้านพื้นที่ แนวทางสำหรับสร้างประสิทธิผลทางด้านนักท่องเที่ยวโดยการพัฒนาการจัดการด้านบริหารจัดการ แนวทางสำหรับสร้างประสิทธิผลทางด้านกระบวนการดำเนินงานภายในโดยการพัฒนาการจัดการด้านพื้นที่ และแนวทางสำหรับสร้างประสิทธิผลทางด้านการเรียนรู้และการพัฒนาของคนในชุมชนวิถีชาวนาภาคกลางโดยการพัฒนาการจัดการด้านพื้นที่th
dc.description.abstractResearch on the study of confirmatory factor of participation management of the central regional rice cultivation community-based tourism on the operational performance of rice cultivation community-based tourism in the central region aimed at 1) to analyze the confirmatory factor of the central regional rice cultivation community-based tourism management 2) to analyze the confirmatory factor of the operational performance of rice cultivation community-based tourism in the central region and 3) to examine the congruence of the Structural Equation Model of participation management of the central regional rice cultivation community-based tourism on the operational performance of rice cultivation community-based tourism in the central region. This study was quantitative research with a sample population of people involved in community-based tourism in the central region, namely 1. Bang Chao Cha Community, Ang Thong Province 2. Royal Project Learning Center, Singburi Province 3. Ban Nong Klong Community, Singburi Province 4. Sao Hai Community, Saraburi Province 5. Nong Saeng Community, Saraburi Province 6. Ban Bang Mae Mai Community, Suphan Buri Province 7. Khlong Chik Community, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province 8. Khlong Yong Community, Nakhon Pathom Province. The statistics used in the data analysis were descriptive statistics, Confirmatory Factor Analysis: CFA and path analysis of the structural equation model. The results of the study revealed that the confirmatory factor analysis of the central regional rice cultivation community-based tourism management found that all criteria were met, therefore it can be concluded that the measurement model of latent variables in the structural equation model developed by the researcher is consistent with the empirical data which the index values ​​pass all the specified criteria. As a result, it can be concluded that factors related to community-based tourism management in the central region include people management (CBT_HUM), area management (CBT_AREA), management (CBT_MAN), and participation management (CBT_PAR). The area management (CBT_AREA) had the highest factor loading of 0.96. Including the results of a confirmatory factor analysis of the measurement model of the operational performance of rice cultivation community-based tourism in the central region, it was found that all criteria were met, therefore it can be concluded that the factors related to the operational performance of rice cultivation community-based tourism in the central region include revenue performance (BSC_REV), tourist performance (BSC_TOUR), internal operating process performance (BSC_PRO), and learning and development performance (BSC_LRN) which had the highest factor loading of 0.89. In addition, the results of the path analysis of the structural equation model found that the area management (CBT_AREA) had the most positive direct influence on revenue performance (BSC_REV) with a direct influence of 0.40. Management (CBT_MAN) had the highest positive direct influence on tourist performance (BSC_TOUR) with a direct influence of 0.45. Area management (CBT_AREA) had the highest positive direct influence on internal operating process performance (BSC_PRO) with a direct influence of 0.52. Area management (CBT_AREA) had the highest positive direct influence on the learning and development performance (BSC_LRN) with a direct influence of 0.39. From the results of the study, the researcher therefore presents four guidelines for building the performance of tourism operations of the central regional rice cultivation community-based tourism, which are: guidelines for generating revenue performance by improving area management; Guidelines for enhancing tourist performance by improving management. Approaches for creating internal operating process performance by improving area management and guidelines for creating learning and development performance of people in the central regional rice cultivation community-based tourism by developing area management.th
dc.format.extent259 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb214276th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6076th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนth
dc.subjectท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาวนาภาคกลางth
dc.subjectประสิทธิผลการดำเนินงานth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherการท่องเที่ยวโดยชุมชนth
dc.subject.otherการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ -- ไทย (ภาคกลาง) -- การจัดการth
dc.titleการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานท่องเที่ยวของชุมชนวิถีชาวนาภาคกลางth
dc.title.alternativeThe study of community based-tourism confirmed elements affecting the tourism performance of the central farmer communitiesth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะการจัดการการท่องเที่ยวth
thesis.degree.disciplineการจัดการการท่องเทียวและบริการแบบบูรณาการth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameการจัดการมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b214276.pdf
Size:
6.25 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections