พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorปรีชา วิจิตรธรรมรส, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorเอมิกา เหมมินทร์th
dc.date.accessioned2014-05-05T08:55:21Z
dc.date.available2014-05-05T08:55:21Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ ( )--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,th
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จาก การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบสํารวจ เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม โดยมีประชากรเป็าหมายคือ ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15- 44 ปี ในกรุงเทพมหานคร ที่มีบัญชีผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และใช้เป็นประจําอย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน ข้อมูลสําหรับการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลจากตัวอย่าง 400 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบ 3 ขั้น (Three–stage Sampling) ใช้ค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ ข้อมูลเบื้องต้น และใช้สถิติ Chi-Square t-Test และ One–Way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีประสบการณ์ในการใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์ 3 ปีขึ้นไปมากที่สุด ประชาชนใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook บ่อยที่สุด ช่องทางที่ประชาชนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์บ่อยที่สุดคือ Smartphone ประชาชนส่วนใหญ่ เปิดบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ไว้ตลอดทั้งวัน ช่วงเวลาที่ประชาชนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มากที่สุดคือ 18.00-06.00 น. ประชาชนมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์1-3 ชั่วโมงต่อวันมากที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพูดคุยกับเพื่อนมากที่สุด และคุณสมบัติของ เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ประชาชนชอบมากที่สุดคือ ทําให้ทราบข่าวสารรวดเร็วโดยเว็บไซต์เป็น แหล่งหรือสื่อที่ทําให้ประชาชนสนใจใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ อายุระดับการศึกษาอาชีพสถานภาพสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการ ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้ง 6 ด้านคือ ด้านการสื่อสาร ด้านการแสดงออกถึงตัวตน ด้านเวลา ด้านผลกระทบต่อสังคม ด้านบันเทิงและด้านธุรกิจ พบว่าโดยรวมทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ย 3.92 เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 4.52 รองลงมาคือ ด้านบันเทิง มีค่าเฉลี่ย 4.29 และด้านเวลา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 3.44 นอกจากนี้ยังพบว่าอายุระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จาก การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตก่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเพศที่แตกต่าง กัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05th
dc.format.extent120 แผ่น : ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/519th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.titleพฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeSocial media consumption behaviors and opinion towards results of experiencing social media in Bangkok Metropolitanth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะสถิติประยุกต์th
thesis.degree.disciplineสถิติประยุกต์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b180712.pdf
Size:
2.26 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections