สภาวะการติดเชื้อเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้วในจังหวัดพะเยา

dc.contributor.advisorพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorทัศนาภรณ์ ภู่จีนาพันธุ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:12Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:12Z
dc.date.issued1992th
dc.date.issuedBE2535th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2535.th
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือ (1) ศึกษาถึงความรู้เรื่องโรคเอดส์, พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอดส์และอัตราการติดเชื้อเอดส์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลทำให้มีความแตกต่างในเรื่องความรู้เรื่องโรคเอดส์ และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ และการสัมภาษณ์เจาะลึก (Indepth Interview) ในรายที่พบว่ามีการติดเชื้อเอดส์โดยไม่มีอาการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้ว จากทุกอำเภอในจังหวัดพะเยา อำเภอละ 2 ตำบล รวมทั้งหมด จำนวน 14 ตำบล ๆ ละ 2 หมู่บ้าน รวมทั้งหมดจำนวน 28 หมู่บ้าน และเลือกกลุ่มตัวอย่างหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้วหมู่บ้านละ 36 ราย รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด จำนวน 1,008 ราย ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลและตรวจเลือดกลุ่มตัวอย่างทุกรายด้วยวิธี Elisa test และตรวจยืนยันผลในรายที่พบว่ามีผล HIV Positive ด้วยวิธี Western blot ทุกราย ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้th
dc.description.abstractลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม พบว่าหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีการกระจายของอายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 26 - 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.1 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นส่วนมาก คิดเป็นร้อยละ 63.8 มีอาชีพหลักคือการทำนาทำไร่ของตนเอง ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวค่อนข้างยากจนมีรายได้โดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1001 - 3000 บาท บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 53.7 ซึ่งพบว่ามีประวัติเคยไปประกอบอาชีพในต่างจังหวัดถึงร้อยละ 24.5 อาชีพที่ไปประกอบได้แก่ หญิงอาชีพพิเศษ หญิงบริการตามสถานอาบอบนวด ห้องอาหาร รับจ้างในโรงงาน/บริษัท และงานบ้าน ในเรื่องของการติดโรคเพศสัมพันธ์นั้นร้อยละ 60.7 ติดโรคเพศสัมพันธ์มาจากสามีและร้อยละ 39.3 ติดโรคเพศสัมพันธ์มาจากบุคคลอื่นที่มิใช่สามี โรคเพศสัมพันธ์ที่เคยเป็นหรือเป็นบ่อยมากที่สุดคือ โรคหนองใน (Gonorrhea) มีจำนวนสูงถึงร้อยละ 66.7 นอกจากนี้ยังพบว่า กำลังวางแผนครอบครัวโดยใช้วิธีคุมกำเนิดคิดเป็นร้อยละ 78.5 และไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดร้อยละ 21.5 เนื่องจากต้องการมีบุตร, กำลังตั้งครรภ์, เป็นหมัน และหมดประจำเดือนแล้ว.th
dc.description.abstractความรู้เรื่องโรคเอดส์ พบว่าหญิงวัยเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคเอดส์สูง โดยมีคะแนนรวมเฉลี่ยคือ 7 คะแนน ซึ่งมีผู้ตอบได้คะแนนรวม 7 คะแนน มีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 28.8 นอกจากนี้ยังพบว่า อายุและอาชีพของหญิงวัยเจริญพันธุ์, ระดับการศึกษาของหญิงวัยเจริญพันธุ์, รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว และประวัติการติดยาเสพติดของสามีของหญิงวัยเจริญพันธุ์มีความแตกต่างกันในเรื่องของความรู้เรื่องโรคเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ส่วนในเรื่องของสถานภาพสมรส, ระดับการศึกษาของสามี, ประวัติการไปประกอบอาชีพในต่างจังหวัด, ประวัติการติดโรคเพศสัมพันธ์และประวัติการวางแผนครอบครัวของหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องความรู้เรื่องโรคเอดส์th
dc.description.abstractพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ พบว่าหญิงวัยเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอดส์สูง ซึ่งหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันในเรื่องอายุของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุของสามี และสถานภาพสมรสจะมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ที่แตกต่างกันด้วย ส่วนในเรื่องของระดับการศึกษา, อาชีพของหญิงวัยเจริญพันธุ์และสามี, รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว, ประวัติการติดยาเสพติดของสามี, ประวัติการไปประกอบอาชีพในต่างจังหวัดและประวัติการวางแผนครอบครัวของหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์th
dc.description.abstractนอกจากนี้ยังพบว่า หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความรู้เรื่องโรคเอดส์ต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ต่างกันด้วย กล่าวคือ หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความรู้เรื่องโรคเอดส์สูง มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอดส์สูงกว่าหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความรู้เรื่องโรคเอดส์ต่ำ และแสดงให้เห็นว่าความรู้เรื่องโรคเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ด้วย.th
dc.description.abstractอัตราการติดเชื้อเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ พบว่า จากการตรวจเลือดหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,008 ราย พบว่า มีผล HIV positive จำนวน 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.6 หรือ 16 : หญิงวัยเจริญพันธุ์ 1,000 ราย.th
dc.format.extentก-ฐ, 143 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1992.7
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1742th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectสตรีที่สมรสth
dc.subject.lccRA 644 .A25 ท118th
dc.subject.otherโรคเอดส์ -- ไทย -- พะเยาth
dc.titleสภาวะการติดเชื้อเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้วในจังหวัดพะเยาth
dc.title.alternativeA survey of HIV positive rates among married women in Phayao Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์ทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b2230.pdf
Size:
2.61 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections