การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี

dc.contributor.advisorวรางคณา ศรนิลth
dc.contributor.authorสุภาพร ศรีหริ่งth
dc.date.accessioned2019-06-12T08:41:41Z
dc.date.available2019-06-12T08:41:41Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractการศึกษาการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค ของการกำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดอุดรธานี (2) ศึกษาความคิดเห็นและการยอมรับของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี (3) ศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินของผู้ลงทุนโครงการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี และ (4) เสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าของจังหวัดอุดรธานี โดยตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ ประชากรที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 417 ตัวอย่าง ด้วยการคัดเลือกแบบโควต้า (Quota sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญในระดับจังหวัดและผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ และระดับตำบล จำนวน 20 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการยอมรับ และด้านการมีส่วนร่วมด้วยการประยุกต์ใช้เลียวโอโพลด์แมทริกซ์ (Leopold Matrix) และวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของผู้ลงทุนด้วยอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) และมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV)th
dc.description.abstractผลการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนโดยรวม พบว่า ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการกำจัดขยะมูลฝอยในปัจจุบัน และด้านสถานการณ์และปัญหาในการกำจัดขยะมูลฝอยในปัจจุบันทั้งผลกระทบในด้านบวกและด้านลบ มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยขนาดผลกระทบอยู่ในระดับปานกลางและไม่ต่อเนื่อง สำหรับด้านการยอมรับของสังคมต่อการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า และการยอมรับการฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล พบว่า ผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ของทั้ง 2 ด้านมีความสำคัญอย่างยิ่ง ขนาดของผลกระทบสูงและต่อเนื่อง ด้านการยอมรับการฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล ทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ มีความสำคัญอย่างยิ่ง และขนาดผลกระทบอยู่ในระดับสูงและต่อเนื่องส่วนด้านความพร้อมในการร่วมมือด้านต่างๆ หากมีการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยขนาดผลกระทบอยู่ในระดับปานกลางและไม่ต่อเนื่องจากความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ พบว่า ปัจจุบันเทศบาลนครอุดรธานี เก็บขนขยะมูลฝอยได้ประมาณ 255-270 ตัน/วัน คาดว่าขยะมูลฝอยจะเพิ่มขึ้นเป็น 338.92 ตัน/วัน สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ปัจจุบันคาดว่าจะรองรับขยะมูลฝอยได้อีกไม่เกิน 2 ปี ซึ่งขณะนี้มีปัญหาขยะที่ตกค้างในพื้นที่ฝังกลบประมาณ 5 แสนตัน ด้านความพร้อมในการพัฒนาเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ผู้บริหารมองเห็นโอกาสในการพัฒนาดังกล่าว แต่ยังไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรระดับปฏิบัติการ เทคโนโลยี ตลอดจนงบประมาณ ปัจจุบันได้ลงนามทำความร่วมมือกับบริษัทเอกชน เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและมีแนวโน้มที่จะให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนภายใต้เงื่อนไขที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นชอบth
dc.description.abstractผลการวิเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการยอมรับ และด้านการมีส่วนร่วมด้วยเลียวโอโพลด์แมทริกซ์ พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการกำจัดขยะมูลฝอยในปัจจุบัน และสถานการณ์และปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอยในปัจจุบันมีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสังคม และการยอมรับการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า มีการยอมรับอยู่ในระดับน้อย ในขณะที่การยอมรับการฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาลอยู่ในระดับมาก และด้านการมีส่วนร่วม และความพร้อมในการร่วมมือในด้านต่างๆ หากมีการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาความคุ้มค่าทางการเงิน พบว่า กรณีที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนและมีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ กรณีที่ (1) เงินลงทุนจำนวน 2,070 ล้านบาท โดยจัดการให้มูลค่าการลงทุนก่อสร้างโครงการ อาทิ ค่าที่ดินและอุปกรณ์ก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 10 เท่ากับเงินลงทุนจำนวน 1,863 ล้านบาท (2) ได้รับเงินสนับสนุนการลงทุนจาก ESCO Fund จำนวน 100 ล้านบาท (3) ขยายพื้นที่ให้บริการให้รองรับขยะมูลฝอยได้ 250 ตัน/วัน และ(4) คิดอัตราค่าบริการกำจัดขยะมูลฝอย 485 บาท/ตัน ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้จะให้อัตราผลตอบแทนจากโครงการ (IRR) เท่ากับร้อยละ 15 มูลค่าปัจจุบันกระแสเงินสดสุทธิ (NPV) เท่ากับ 1,111.60 ล้านบาท ซึ่งมีความเป็นไปได้และมีความคุ้มค่าในการลงทุน สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มหรือลดของ IRR และ NPV คือ เงินลงทุน ต้นทุนในการก่อสร้างและเดินระบบ ค่าตอบแทนบุคลากร ปริมาณขยะมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบ ประสิทธิภาพของระบบ อัตราค่าบริการกำจัดขยะมูลฝอย อัตราจำหน่ายกระแสไฟฟ้า และค่าธรรมเนียมการฝังกลบเถ้าที่เหลือจากการเผาขยะมูลฝอยth
dc.format.extent220 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb190462th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4440th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherสุขาภิบาล -- ไทย -- อุดรธานีth
dc.titleการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานีth
dc.title.alternativeModel for appropriate development of incinerator to produce electricity from solid waste in Udonthani Proviceth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b190462.pdf
Size:
2.67 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections